หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พิรญาณ์ โคตรชมภู
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๐ ครั้ง
การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังเชิงพุทธบูรณาการ
ชื่อผู้วิจัย : พิรญาณ์ โคตรชมภู ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๐๔/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน
  พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๐ กันยายน ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ


ดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง "การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังเชิงพุทธบูรณาการ" มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาสภาพปัญหาและคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังของกรมราชทัณฑ์ ๒) ศึกษากระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังตามแนวพุทธ ๓) เสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องขัง                     เชิงพุทธบูรณาการ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีการวิจัยคุณภาพและเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูล                  ด้วยการพรรณนาความ


              ผลการวิจัยพบว่า

 
              สภาพปัญหาและคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังของกรมราชทัณฑ์ จากความเป็นอยู่ที่ต้องถูกคุมขัง ไม่มีความเป็นส่วนตัว ส่งผลต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ มีความท้อแท้ หดหู่ สิ้นหวัง มีภาวะเครียดสูงไม่เห็นคุณค่าในชีวิต มีมิจฉาทิฏฐิไม่เชื่อเรื่องกรรมและกฎแห่งกรรม มีปัญหาเรื่องการปรับตัว การมีวินัย เคารพกฎระเบียบ ถึงแม้ว่าทางกรมราชทัณฑ์จะจัดให้มีชีวิตความเป็นอยู่ตามข้อกำหนดมาตรฐานสากลต่อผู้ต้องขังเป็นอย่างดี แต่ไม่ได้มีผลต่อการจิตใจของผู้ต้องขังเท่าที่ควร     

              กระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังตามแนวพุทธ ผู้วิจัยศึกษาวิเคราะห์ในโครงการเรือนจำเรือนธรรมของเรือนจำกลางระยอง จังหวัดระยอง ที่ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยการปฏิบัติธรรมด้วยการเจริญสติ ในหลักมหาสติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม และหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา จักร ๔ ปฏิรูปเทสวาสะ สัปปุริสูปัสสยะ อัตตสัมมาปณิธิ ปุพเพกตปุญญตาและข้อปฏิบัติ เพื่อความดีงามเบื้องต้น ได้แก่ หิริ โอตตัปปะ

              แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังเชิงพุทธบูรณาการภาคทฤษฎีได้บูรณาการหลักธรรมที่ได้กล่าวถึงมาแล้วนั้น กับแนวคิดทางศาสตร์ตะวันตก อาชญาวิทยา และหลักการบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนาสมรรถภาพตามหลักสากล ภาคปฏิบัติได้บูรณาการหลักสากล กับแนวคิดเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกกับหลักพุทธธรรมและการปฏิบัติธรรม ในโครงการเรือนจำเรือนธรรม ได้องค์ความรู้ใหม่ที่เป็นแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งในมิติของปัจเจกบุคคล และมิติของสังคม

Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕