หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางชนิกา ภูวดิษยคุณ
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๖ ครั้ง
การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารความเครียดในองค์กร
ชื่อผู้วิจัย : นางชนิกา ภูวดิษยคุณ ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูปลัดปริยัติวรวัฒน์, ดร. ป.ธ.๓, พธ.บ. M.A., Ph.D
  ผศ.ดร. ประยูร สุยะใจ น.ธ.เอก, ปธ.๓., พธ.บ.(จิตวิทยา), B.J., กศ.ม., M.A. (Pol.), M.A. (Eco.), M.A. (Clinical Psy.), Ph.D. (Psy.)
  พระเอกภัทร อภิฉนฺโท, ผศ.ดร., พธ.ม(การสอนสังคม),พธ.ม, (ภาษาอังกฤษ), M.A.(Psy), Ph.D.(Psy).
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและเพื่อศึกษาการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารความเครียดในองค์กร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามและแบบประเมินความเครียด เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารระดับกลาง ตั้งแต่ตำแหน่งสารวัตรถึงตำแหน่งรองผู้บังคับการ ในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จำนวน ๑๓๒ คน และวัดระดับความเครียดของกลุ่มตัวอย่างจากแบบสอบถาม เพื่อวิเคราะห์หากลุ่มตัวอย่างเป้าหมายผู้ที่มีความเครียดในองค์กรได้ จำนวน ๑๑ คน จากนั้นใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ใช้สถิติจำแนกร้อยละและการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อการบริหารความเครียดในองค์กรใช้ จำนวน ๔ หลักธรรมด้วยกัน คือ ๑.หลักไตรลักษณ์ หรือลักษณะ ๓ ประการ กล่าวคือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ๒.หลักอริยสัจ ๔ คือความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ๓.หลักโยนิโสมนสิการ กระบวนการคิดอย่างถูกวิธี คิดอย่างถูกทาง คิดอย่างมีเหตุผล และใช้ความคิดให้เกิดผลที่พึงประสงค์ ๔.หลักการเจริญสติ การมีสติระลึกรู้ทั่วพร้อม กำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้เห็นตามความเป็นจริง

จากการวิเคราะห์การสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้พบว่า ผู้ที่มีความเครียดสามารถรู้เท่าทันความคิดและอารมณ์ของตนเอง ยอมรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น มีระดับของความเครียดลดลง ระดับความเครียดไม่มี และพบวิธีการบริหารความเครียดครบทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านอารมณ์ ด้านครอบครัวและด้านองค์กร

สรุปผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ สามารถเข้าใจและนำหลักพุทธธรรมดังกล่าวข้างต้นมาประยุกต์ใช้ในการบริหารความเครียดในองค์กรได้อย่างเหมาะสม ทำให้รู้เท่าทันความคิด อารมณ์ ความรู้สึก สามารถที่จะยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ทั้ง ๔ ด้านที่เกิดขึ้นนั้นได้ตามความเป็นจริง  เมื่อมีความเครียดเกิดขึ้น ทำให้เกิดการตระหนักรู้มีสติระลึกรู้เท่าทันกับความรู้สึกนั้นและใช้กระบวนการคิดอย่างถูกวิธี คิดอย่างถูกทาง มีเหตุผล เห็นเหตุของปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาอย่างถูกวิธี และสอดคล้องกับหลักที่ว่าสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนของตน เป็นกฎธรรมดาของทุกสรรพสิ่ง

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕