หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางนิรมล วิชิต
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๗ ครั้ง
ศึกษาทัศนคติในการคบมิตร : กรณีศึกษานักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตการศึกษาที่ ๒ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (๒๕๕๔)
ชื่อผู้วิจัย : นางนิรมล วิชิต ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๐๗/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสุทิตย์ อาภากโร, ดร.
  ดร.ศศิวรรณ กำลังสินเสริม
  ว่าง
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์ เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาทัศนคติในการคบมิตรของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในสังคมไทย ๒) ศึกษาหลักคำสอนว่าด้วยการคบกัลยาณมิตรที่ปรากฏในพระพุทธศาสนาเถรวาทและหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น ๓) ศึกษาระดับปัญหาและอุปสรรคในการคบมิตรของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น  การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบผมผสานทั้งในเชิงเอกสารและเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา แล้วนำมาหาค่าทางสถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนโรงเรียนสตรีวิทยา ๒ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.-.๓) จำนวน ๑๕๐ คน

ผลการศึกษาหลักคำสอนว่าด้วยการคบกัลยาณมิตรที่ปรากฏในพระพุทธศาสนา
เถรวาทและหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นพบว่า มีความคล้ายคลึงกันกล่าวคือ เนื้อหาการคบมิตรในหลักสูตรมัธยมศึกษามีความสอดคล้องกับหลักการคบมิตรในพระพุทธศาสนาโดยมุ่งเน้นให้รู้จักเลือกที่จะคบคนดีผู้ที่คอยแนะนำประโยชน์ให้ ไม่ชักชวนกันในทางเสียหาย รู้จักช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่กันและกันได้ โดยมีหลักธรรมในมงคลสูตรเป็นหลักการในเรียนรู้และแนะนำในการคบมิตรของวัยรุ่นในสังคมไทย

ผลการศึกษาระดับทัศนคติในการคบมิตรของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตการศึกษาที่ ๒ พบว่า  ระดับทัศนคติในการคบมิตรของนักเรียนโรงเรียนสตรีวิทยา๒ อยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ย ๔. โดยกลุ่มตัวอย่างมองว่า การคบเพื่อนทำให้เกิดความสบายใจ และสามารถปรึกษาหารือกันได้มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ๔.๕ ส่วนการไม่คบมิตรนั้นพบว่า เพื่อนที่ชอบนำความเดือดร้อนให้ผู้อื่นเป็นผู้ที่ไม่น่าคบหามากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ๔.๖ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น รู้จักที่จะคบเพื่อนและชักชวนกันไปในทางที่เหมาะสม โดยมีเพียงบางส่วนที่ยังไม่สามารถแยกแยะในการคบเพื่อนที่ดีและไม่ดีได้  

สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการคบมิตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้นนั้น พบว่า ทำให้มีปัญหาและอุปสรรค ในการเรียน เช่น การพากันมาโรงเรียนสาย การไม่มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ปัญหาการทะเลาะวิวาท เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การคบเพื่อนนั้นมีทั้งที่พาไปในทางที่ดีและไม่เหมาะสม

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕