หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางอำมลา กมลมาลย์
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๐ ครั้ง
การศึกษาหลักพุทธจริยธรรมที่ปรากฏในเพลงพื้นบ้านจังหวัดอุทัยธานี (๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : นางอำมลา กมลมาลย์ ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๑๑/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชวชิรเมธี, ดร.
  ผศ.อานนท์ เมธีวรฉัตร
  อาจารย์รุ่งอรุณ อบเชย
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาพุทธจริยธรรมที่ปรากฏในเพลงพื้นบ้านจังหวัดอุทัยธานี  โดยมีวัตถุประสงค์    ประการ  คือ  (๑) เพื่อศึกษาหลักพุทธจริยธรรมที่ปรากฏในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท  (๒) เพื่อศึกษาความเป็นมา ของเพลงพื้นบ้านจังหวัดอุทัยธานี  (๓) เพื่อศึกษาหลักพุทธจริยธรรมที่ปรากฏในเพลงพื้นบ้านจังหวัดอุทัยธานี

 

ผลการวิจัยพบว่า  จริยธรรมเป็นเรื่องของการประพฤติที่เกิดขึ้นมาจากภายในจิตใจ  และแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมที่ดีงาม  จริยธรรมแบ่งเป็น    ประเภทได้แก่  (๑) จริยธรรมขั้นมูลฐานได้แก่ ศีล ๕  (๒) จริยธรรมขั้นกลางได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐  (๓) จริยธรรมขั้นสูงได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ (๔) จริยธรรมในชีวิตประจำวันได้แก่ ธรรมคุ้มครองโลก ๒  พรหมวิหาร๔  อิทธิบาท ๔  ทิศ ๖  และมงคล ๓๘ ประการ

 

หลักพุทธจริยธรรมที่ปรากฏในเพลงพื้นบ้านจังหวัดอุทัยธานี  ส่วนใหญ่เป็นหลักการประพฤติ ปฏิบัติที่บุคคลทั่วไปควรปฏิบัติเพราะเป็นเรื่องที่สอนให้รู้  บาป  บุญ  คุณ  โทษ  และพุทธจริยธรรมนี้ได้ซึมซับเข้าไปในวิถีชีวิตของชาวบ้านท่าโพโดยผ่านเพลงพื้นบ้าน จังหวัดอุทัยธานี  พุทธจริยธรรมสามารถแบ่งได้เป็น ๒ ระดับคือ  จริยธรรมระดับโลกิยะเป็นจริยธรรมอันเป็นวิสัยของโลก และจริยธรรมระดับโลกุตตระเป็นจริยธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก

 

กล่าวโดยสรุป  เพลงพื้นบ้านเป็นบทเพลงที่สอดแทรกจริยธรรมทางพระพุทธศาสนา ที่อยู่คู่กับคนไทยและสังคมไทยโดยสอดแทรกอยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมหล่อหลอมวิถีชีวิตคนไทยและสังคมไทยให้ประสบความสุขสวัสดีจนกลายเป็นเอกลักษณ์ไทยตราบเท่าทุกวันนี้

download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕