หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูไพโรจน์สารคุณ (สุเทพ งามละมัย)
 
เข้าชม : ๒๐๐๓๕ ครั้ง
ทักษะการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในอำเภอลาดหลุมแก้วจังหวัดปทุมธานี (๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูไพโรจน์สารคุณ (สุเทพ งามละมัย) ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๑๑/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ดร.พิเชฐ ทั่งโต
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  ผศ.ดร.ภัทรพล ใจเย็น
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ๑)เพื่อศึกษาทักษะการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี  ๒) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการบริหารจัดจัดการวัดของเจ้าอาวาสในอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ ๓) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ศึกษาวิจัยโดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ พระสงฆ์ในอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี จำนวน ๑๔๒รูป ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประเมินค่า ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิด ซึ่งผู้ศึกษาสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๗๐ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

เจ้าอาวาสในอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี มีทักษะการบริหารจัดการวัดโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ .๙๗ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า เจ้าอาวาสในอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี มีทักษะการบริหารจัดการวัด อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงจากมากไปหาน้อยตามค่าเฉลี่ย คือ ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์  ทักษะด้านความคิดรวบยอด ทักษะด้านการสอน ทักษะด้านเทคนิคและทักษะด้านความคิด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๑๔, ๔.๑๒, ๓.๙๑, ๓.๘๕ และ ๓.๘๔ ตามลำดับ

 การเปรียบเทียบทักษะการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พระสงฆ์มีทัศนะแตกต่างกันตามพรรษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนพระสงฆ์ที่มีอายุ และระดับการศึกษานักธรรมต่างกัน มีทัศนะไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

แนวทางในการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ในด้านเทคนิค ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านความคิดรวบยอด ด้านความคิดและด้านการสอน พบว่า การพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ของเจ้าอาวาสจำเป็นที่จะต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ในการส่งเสริมหรือจัดให้มีการสัมมนาทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนทางความคิด ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนในด้านงบประมาณ บุคลากร เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อเปิดโอกาสให้เจ้าอาวาสสามารถเข้าถึงวิทยาการสมัยใหม่ ข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การพัฒนาวัดมีความเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลให้เกิดความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาสืบต่อไปในอนาคต

download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕