หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหานพดล สุวณฺณเมธี (มีคำเหลือง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๔ ครั้ง
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการฝึกอบรมเยาวชนของค่ายคุณธรรมวัดบรรพตสถิต จังหวัดลำปาง(๒๕๕๑)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหานพดล สุวณฺณเมธี (มีคำเหลือง) ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระใบฎีกาเสน่ห์ ญาณเมธี
  พระครูพิพิธสุตาทร
  ดร.เทพประวิณ จันทร์แรง
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๑
 
บทคัดย่อ

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการฝึกอบรมเยาวชนของค่ายคุณธรรม วัดบรรพตสถิตจังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงานการฝึกอบรมเยาวชนในค่ายคุณธรรม และผลสัมฤทธิ์ของการฝึกอบรมเยาวชนของค่ายคุณธรรมวัดบรรพตสถิต วิธีการศึกษาใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการวิจัยภาคสนาม ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ เป็นเครื่องมือในการทำ

วิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนโรงเรียนทุ่งกว๋าววิทยาคม ชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๒และ ๔ จำนวน ๑๕๐ คนอบรมระหว่างวันที่ ๑๔-๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และ นักเรียนโรงเรียนเสด็จวนชยางค์กูลวิทยา ชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๓ จำนวน ๑๕๐ คน อบรมระหว่างวันที่ ๑๒ –๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ รวม ๒ รุ่น จำนวน ๓๐๐ คน การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ผู้ทำวิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และภาคสนามจากค่ายคุณธรรมวัด
บรรพตสถิต ที่ได้จากการสอบถามผู้เข้าอบรม การบันทึกสังเกตการณ์ฝึกอบรม การสัมภาษณ์ครู และผู้ปกครองของผู้นักเรียนที่เข้ามาฝึกอบรมหลักจากออกจากค่ายไปแล้วผลการศึกษาและวิจัย ได้ข้อค้นพบดังนี้
๑. ด้านกระบวนการฝึกอบรม การจัดการฝึกอบรมของค่ายคุณธรรมวัดบรรพตสถิตนั้นมีองค์ประกอบหลัก ๒ ประการ คือ ๑) ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย แนวคิดและปรัชญาการอบรม บุคลากร สภาพแวดล้อม การบริหารการจัดการ งบประมาณ และหลักสูตรการ อบรม ๒) กระบวนการฝึกอบรม ประกอบด้วย ขั้นเตรียมการ และขั้นดำเนินการฝึกอบรมสำหรับการฝึกอบรมนั้นได้ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือ ไตรสิกขาเป็นแกนกลางและประยุกต์กับทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาใช้ประกอบการอบรม ด้วยการวางเป็นข้อกำหนด เป็นกฎกติกา ว่าด้วยข้อห้าม และข้อประพฤติต่าง ๆ ในระหว่างการอบรม เช่น ข้อกำหนดเกี่ยวกับการอยู่กันเป็นคณะ การแต่งกาย การเก็บรักษาสิ่งของเครื่องใช้ การเข้าศาลาอบรม การเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ การลุก การนั่ง การลงโทษ และใช้กิจกรรมต่าง ๆ ที่หลากหลาย เหมาะสมกับวัยของผู้เข้ารับการอบรมเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ฝึกปฏิบัติจริงตามแนวไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญาให้เกิดเป็นวิถีชีวิต๒. ผลสัมฤทธิ์เชิงปริมาณ การจัดกิจกรรมเข้าค่ายคุณธรรมวัดบรรพตสถิต มีสถิติการจัดกิจกรรม เริ่มการดำเนินงานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๓ จำนวน ๑ รุ่น และมีจำนวนครั้งและยอดผู้เข้าอบรมมากขึ้นตามลำดับจนมีสถิติและยอดผู้มาเข้าอบรมมากที่สุด ในปี พ.ศ.๒๕๔๙ มีการจัดกิจกรรมจำนวน ๓๙ ครั้ง มีผู้เข้าอบรมทั้งสิ้น จำนวน ๕,๖๔๙ คน นอกจากผู้เข้าอบรมของแต่ละปีมากขึ้นตามลำดับแล้ว กลุ่มเป้าหมายที่มาเข้าอบรมก็มีหลากหลายและกว้างขวางมากขึ้นตามลำดับ
๓. ผลสัมฤทธิ์เชิงคุณภาพ ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อกระบวนการดำเนินการดำเนินการฝึกอบรมเยาวชนในค่ายคุณธรรมของวัดบรรพตสถิต ด้านการบริหารจัดการการดำเนินการฝึกอบรม หลักสูตรการฝึกอบรม ความประทับใจและสำนึกที่ได้รับจากกิจกรรมต่าง ๆ และประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าฝึกอบรมพบว่า สิ่งที่ผู้เข้ารับการอบรมเห็นด้วยและพึงพอใจในระดับมากที่สุด อันดับที่ ๑ ได้แก่ ความประทับและสำนึกที่ได้รับจาก

Download :  255158.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕