หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระนราศักดิ์ วรธมฺโม (ธรรมศรีใจ)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๕ ครั้ง
วิเคราะห์แนวคิดเรื่องสันติภาพของ ติซนัทฮันห์
ชื่อผู้วิจัย : พระนราศักดิ์ วรธมฺโม (ธรรมศรีใจ) ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระบุญทรง ปุญฺญธโร
  วิโรจน์ วิชัย
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ เรื่อง “วิเคราะห์แนวคิดเรื่องสันติภาพของ ติซ นัท ฮันห์” มีวัตถุประสงค์            ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องสันติภาพ ๒) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องสันติภาพของท่าน         ติซ นัท ฮันห์ ๓) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดและวิธีการสร้างสันติภาพของท่าน ติซ นัท ฮันห์  

ผลการวิจัยพบว่า สันติภาพ คือ ความสงบ ราบคาบ ได้แก่ภาวะแห่งสันติสุขคือการที่มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบ ปรองดอง สามัคคี มีความรัก ความเมตตา ช่วยเหลือกันอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขระหว่าง คน สัตว์ ระบบนิเวศและทุกสรรพสิ่งโดยปราศจากทุกความขัดแย้ง ความรุนแรงซึ่งอันจะนำมาถึงความสูญเสียทางทรัพย์สินและชีวิต สันติภาพในเชิงทวิภาวะประกอบด้วย สันติภาพภายใน หมายถึงสภาวะที่จิตหลุดพ้นจากการครอบงำของสิ่งต่างๆ อันเป็นสภาพจิตที่ไร้ความขัดแย้งความรุนแรงทุกชนิด ซึ่งพุทธศาสนาเรียกภาวะนี้ว่า “นิพพาน” สันติภาพภายนอก หมายถึงสภาวะที่ บุคคล สังคม และโลก ไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันมีความรักความสามัคคี มีเสรีภาพ และเคารพในสิทธิมนุษยชน แนวคิดเรื่องสันติภาพของ ติช นัท ฮันห์ พบว่า การกระทำกับปัญญาต้องก้าวไปพร้อมกัน วิธีการการทำงานเพื่อสันติภาพคือการเน้นปฏิบัติการในเชิงรุกปลุกจิตสำนึกของคนในสังคมโลกให้เห็นภัยความรุนแรงของสงคราม ท่านได้เข้าพบผู้นำทางศาสนาและการเมืองในที่ต่างๆ หลายท่านเพื่อขอแรงสนับสนุนการทำงานเพื่อสันติภาพ และเห็นถึงความสำคัญของสันติภาพ ท่านตระหนักว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการในการทำงานเพื่อสันติภาพ คือ การสร้างสันติภาพขึ้นภายในตนเองก่อนแล้วแปลเปลี่ยนเป็นสันติภาพภายนอกให้เกิดขึ้นกับผู้คน แนวคิดวิธีการสร้างสันติภาพ ติช นัท ฮันห์ ได้สร้างชุมชนสังฆะหมู่บ้านพลัมเพื่อให้เป็นชุมชนแห่งสันติภาพในหลายประเทศ ที่เน้นการเจริญสติในชีวิตประจำวันโดยไม่มีเส้นแบ่งทางศาสนาเป็นสถานปฏิบัติธรรมนานาชาติ ฝึกเจริญสติ สมาธิและปัญญา เพื่อตระหนักถึงการดำรงอยู่อย่างแท้จริงของตัวเราว่าต้องมีความเมตตาและความช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างผู้คนกับสรรพสิ่งรอบข้าง โดยการนำ “สติ” สู่ “สันติ”ให้เกิดขึ้นภายในจิตใจ และอุทิศตัวซึ่งมีแรงขับเคลื่อนจากภายใน คือ เมตตา กรุณาและหว่านความรักลงไปในจิตใจของผู้คน เพื่อสร้างความสุขศานติและความสมานฉันท์ให้กลับคืนมาสู่ สังคมโลกอย่างยั่งยืน

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕