หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสุรพล ปิยธมฺโม (ขุนไชย)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๗ ครั้ง
ศึกษาสุขภาวะของพระสงฆ์ ตำบลงิ้วลาย อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร
ชื่อผู้วิจัย : พระสุรพล ปิยธมฺโม (ขุนไชย) ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสิริรัตนานุวัตร
  พระครูพิพิธจารุธรรม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์. เพื่อศึกษาสุขภาวะของพระสงฆ์ตามแนวพระพุทธ ศาสนา . เพื่อศึกษาสุขภาวะของพระสงฆ์ในตำบลงิ้วลาย อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ๓. เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้แนวทางรักษาสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ ตำบลงิ้วลาย อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร มีวิธีดำเนินการวิจัยผสมผสาน คือ การศึกษาจากเอกสารทางพระพุทธศาสนา และการศึกษาเชิงคุณภาพโดยเน้นการสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview) กับพระสงฆ์ที่เคยเจ็บป่วยแล้วกลับมามีสุขภาพใหม่ จำนวน ๑๐ รูป ใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนาเป็นสุขภาวะที่เกิดการบริหารกายด้วยการทำกิจวัตรประจำวัน โดยหลัก คือ บิณฑบาต ความทำสะอาดอาราม ทำวัตรสวดมนต์ รักษาสิ่งแวดล้อม การบริหารทางใจ โดยการปฏิบัติตามสัปปายะ ๗ และลดหรือกำจัดปัดเป่าความโลภ โกรธ หลง คิดอยู่เสมอว่ารู้จักพอ มีเมตตา  เจริญสติ มีขันติ มีตปะ  จิตไม่ฟุ้งซ่านและมีสัจจกิริยา โดยการอธิฐานจิตว่า จะทำสิ่งใดก็ดำเนินที่ถูกต้อง การรักษาสุขภาพด้วยเภสัชที่ได้รับพุทธานุญาต คือเภสัช ๕ ประการ ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย ใช้พืชสมุนไพร มีรากไม้ น้ำฝาด ใบไม้ ผลไม้และยางไม้ ฉันอาหารและเภสัชที่ถูกต้อง

สุขภาวะของพระสงฆ์ ตำบลงิ้วลาย อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร นั้นพบว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคปวดข้อ ข้ออักเสบ สามในสี่ยังสูบบุหรี่ ฉันยาชุด ดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง รวมทั้งดื่มกาแฟเป็นประจำ  พระสงฆ์ยังไม่มีกิจกรรมการป้องกันโรคที่ชัดเจน กิจกรรมบางอย่างติดขัดในพระธรรมวินัย การดูแลส่วนบุคคล พระสงฆ์ยังไม่ได้รับคำแนะนำจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง การปฏิบัติที่มีอยู่ในปัจจุบันคือทำตามที่สื่อต่างๆ นำเสนอ พระสงฆ์จำนวนมากที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและมีปัญหาทางด้านการเคลื่อนไหวของร่างกายยังไม่ได้รับการฟื้นฟูสภาพอย่างถูกต้องจึงดำเนินชีวิตไปตามลำพัง ในส่วนของการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ด้วยกันเองพบว่ามีน้อยมาก ส่วนใหญ่มีเพียงถามทุกข์สุขเท่านั้น สภาพปัญหาสุขภาพจิตของพระสงฆ์ ส่วนใหญ่แล้วไม่พบการมีปัญหาสุขภาพจิต ปัญหาที่พบเป็นเรื่องการเจ็บป่วยและมีค่าใช้จ่ายในการไปพบแพทย์ ทำให้พระสงฆ์ต้องออกรับกิจนิมนต์ ออกบิณฑบาต เพื่อจะได้รับปัจจัยเพื่อนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันการส่งเสริมสุขภาพจิต ใช้การสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ เดินจงกรม สำหรับอาหารส่วนใหญ่ยังฉันอาหารประเภทแป้ง กะทิ น้ำตาล ไขมัน และอาหารมีรสจัดในปริมาณที่มากต่อวัน ส่วนน้ำดื่ม น้ำใช้ พระสงฆ์ดื่มน้ำขวดบรรจุเสร็จ ส่วนน้ำใช้เป็นประปาและน้ำบาดาล

การประยุกต์ใช้ตามแนวทางรักษาสุขภาวะของพระสงฆ์ ได้ประยุกต์ใช้ตามองค์รวมแห่งสุขภาวะ ๔ องค์ คือ สุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางปัญญาและสุขภาวะทางสังคม โดยสุขภาวะทางกายได้นำการรักษาศีล ฟังเทศน์ฟังธรรม การป้องกันยาเสพติด  งดหรือลดเครื่องชูกำลัง รวมถึงสูบบุรี  สุขภาวะทางจิตได้นำการปฏิบัติสมาธิ คิดบวก มีเมตตา มีสัจจะกิริยางดเว้นสิ่งเสพติดให้โทษ สุขภาวะทางปัญญา โดยใช้วิธีฟังธรรม อ่านหนังสือธรรมนิยาย จัดอบรมส่งเสริมศีลธรรมแก่เด็ก ๆ และเยาวชน สุขภาวะทางสังคม โดยใช้ปริจจาคะ เสียสละบำเพ็ญประโยชน์แจกของแก่ผู้ประสบภัย เยี่ยมเยือนผู้ป่วยตามบ้านพักคนชรา ตามโรงพยาบาล  ช่วยเหลือชาวบ้านให้รู้คิดผิดถูก ชั่วดี ช่วยชาวบ้านรักษาความสมดุลในสิ่งแวดล้อมให้มีมัชฌิมาปฏิปทาในการดำเนินชีวิต โดยไม่หลง ยึดมั่นถือมั่นในร่างกาย นอกจากการยึดมั่นในศีลธรรม การดาเนินชีวิตด้วยความมีสติ การดำเนินชีวิตตามต้นแบบตามหลักกัลยาณมิตร เป็นธรรมิกสังคม

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕