หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » รัตนพร ราชสะอาด
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๙ ครั้ง
ปรัชญาการศึกษาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชื่อผู้วิจัย : รัตนพร ราชสะอาด ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระบุญทรง ปุญฺญธโร
  วิโรจน์ วิชัย
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๒ เมษายน ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปรัชญาการศึกษาขององค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕  โดยมีจุดประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาประวัติและพัฒนาการ ปรัชญาการศึกษาไทย (๒) เพื่อศึกษาปรัชญาการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ (๓) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดปรัชญาการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พบว่า

การจัดการศึกษาของประเทศไทยมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยโบราณเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยความเชื่อที่ว่าการศึกษาจะช่วยกำหนดทิศทางของชาติ เพื่อจะพัฒนาคนไทยให้มีความพร้อมที่จะเป็นกำลังสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ความเป็นมาของการศึกษาไทยมีประวัติที่น่าสนใจ โดยแบ่งออกเป็นยุคๆ ดังต่อไปนี้

 

การศึกษาของไทยสมัยโบราณ (พ.ศ. ๑๗๘๑ - ๒๔๑๑) (๑) การศึกษาสมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. ๑๗๘๑ - ๑๙๒๑) พ่อขุนรามคำแหง (พ.ศ. ๑๘๐๐ - ๑๙๘๑) (๒) การศึกษาสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๒๓๑๐) เป็นยุคทองของวรรณคดีไทย ซึ่งก็อยู่ในช่วงรัชสมัยของพระบรมไตรโลกนาถและพระนารายณ์ (พ.ศ. ๑๘๙๓- ๒๓๑๐) (๓) การศึกษาสมัยกรุงธนบุรี (พระเจ้าตากสิน พ.ศ. ๒๓๑๐) และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นอยู่ในช่วงรัชกาลที่ ๑ - ๔ ซึ่งก็เป็นยุคเริ่มฟื้นฟูสภาวะของประเทศ เช่น การฟื้นฟูทางด้านการศาสนา วรรณคดี ศิลปวัฒนธรรม และด้านการศึกษา (พ.ศ. ๒๓๑๑ - ๒๔๑๑) ในยุคนี้จะไม่มีการแบ่งชั้นเรียนที่แน่นอนเลือกเรียนได้ตามความสมัครใจของผู้เรียน

 

การศึกษาของไทยสมัยปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. ๒๔๑๒ - ๒๔๗๔) อยู่ในช่วงสมัยกรุงรัตน-  โกสินทร์ตอนปลายหรือสมัยรัชกาลที่ ๕ - ๗ เป็นการศึกษาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ซึ่งสภาวะของประเทศอยู่ในยุคการคุกคามของจักรวรรดินิยมจากทางประ เทศตะวันตกที่แผ่ขยายเข้ามาในประเทศไทยอย่างกว้างขวาง

การศึกษาคือรากฐานของการพัฒนาชีวิตและการพัฒนาประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มวางรากฐานการศึกษาแบบแผนใหม่ที่เป็นระบบขึ้นมาในบ้านเมือง ทรงจัดตั้งโรงเรียนขึ้นมาในพระบรมมหาราชวังแล้วขยายผลการจัดออกไปสู่ราษฎรทุกระดับชั้น ด้วยแนวคิดและวิธีการที่เป็นระบบแบบแผนตามแนวพระราชดำริ.พระบรมราชโองการและพระราชดำรัสของพระองค์ที่ปรากฏอยู่ในด้านการศึกษาแสดงให้เห็นถึงแนวคิดพื้นฐานในด้านการจัดการศึกษาของพระองค์ในหลายๆ ประการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการ- ศึกษา ทรงชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ประชาชนจะต้องได้รับการศึกษา เพราะการศึกษาทำให้คนฉลาด รู้จักคิด.รู้ปฏิบัติอันจะส่งผลถึงความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การศึกษาเริ่มเป็นแบบแผน มีระเบียบแบบแผน มีการจัดตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎรทั่วไป มีการรับเอาแนวคิดและวิทยาการต่างๆ ของชาติตะวันตกเข้ามาใช้ในประเทศ ต้องการบุคคลที่มีความรู้ให้เข้ามารับราชการ สามารถจัดตั้งโรงเรียนขึ้น เน้นการพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศ แปลวรรณคดีต่างประเทศเป็นภาษาไทย วาง แผนโครงการศึกษาใหม่ โดยส่งเสริมให้หาเลี้ยงชีพที่นอกเหนือจากการเข้ารับราชการ 

ดังนั้น การปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นการปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้สอดคล้อง กับระบบการศึกษาของประเทศตะวันตกที่มีความเจริญก้าวหน้าไปมากแล้ว ซึ่งเป็นการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแบบสมัยใหม่ที่มีความสำคัญอย่างมากในยุคสมัยนั้น

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕