หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ทพญ. กษิรา เทียนส่องใจ
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๐ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์อภัยทาน เพื่อการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทยปัจจุบัน(๒๕๕๐)
ชื่อผู้วิจัย : ทพญ. กษิรา เทียนส่องใจ ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส
  ศ. นพ. วันชัย วัฒนศัพท์
  นาย รังษี สุทนต์
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐
 
บทคัดย่อ

    การศึกษาวิเคราะห์อภัยทานเพื่อการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทยปัจจุบัน มี
วัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาปัญหาและสาเหตุของความขัดแย้งในสังคมไทยปัจจุบัน
๒) เพื่อศึกษาอภัยทานตามหลักพระพุทธศาสนา และ ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์อภัยทานเพื่อการจัดการ
ความขัดแย้งในสังคมไทยปัจจุบัน การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นวิจัยทาง
เอกสาร ผลของการศึกษา มีดังต่อไปนี้
๑. ความขัดแย้งเป็นธรรมชาติของมนุษย์ สังคมไทยในปัจจุบันก็กำลังเกิดปัญหาความ
ขัดแย้งในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ ปัญหาทางการเมือง ปัญหานโยบายสาธารณะ ปัญหาการแย่งชิง
ทรัพยากรธรรมชาติ และปัญหาการหย่าร้าง สาเหตุของปัญหาความขัดแย้งสามารถแบ่งตามปัจจัย
ภายนอกออกได้เป็น ๕ ประเภทด้วยกัน คือ ๑) ความขัดแย้งด้านข้อมูล(Data Conflict) ๒) ความ
ขัดแย้งด้านผลประโยชน์(Interest Conflict) ๓) ความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์(Relationship
Conflict) ๔) ความขัดแย้งด้านโครงสร้าง(Structural Conflict) และ๕) ความขัดแย้งด้านคุณค่าหรือ
ค่านิยม(Value Conflict) ในทัศนะของพระพุทธศาสนานั้น สาเหตุของความขัดแย้งเกิดมาจากการ
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน สำหรับปัจจัยภายในได้แก่ ปปัญจธรรมคือ

ตัณหา มานะ ทิฏฐิ และ อกุศลมูล คือโลภะ โทสะ โมหะ โดย ทิฏฐิ ทำหน้าที่เป็นแกนกลางของ
ปัจจัยภายในที่ทำงานร่วมกันกับอกุศลมูลในการเกิดความขัดแย้ง
๒. อภัยทาน มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกว่าเป็นมหาทาน มีความหมายว่า การให้ความ
ไม่มีภัย การพัฒนาอภัยทานเริ่มที่ สัมมาทิฏฐิ และ สัมมาสังกัปปะ ซึ่งเป็นหลักพื้นฐาน เพื่อให้เกิด
อภัยทานที่ประกอบไปด้วย เมตตาธรรม ขันติธรรม และ ศีล ๕ สำหรับกรอบแนวทางของการ
ปฏิบัติของอภัยทาน คือ พรหมวิหารธรรม สาราณียธรรม และสังคหวัตถุ ๔ โดยวิธีการปฏิบัตินั้น
แบ่งออกได้เป็น อภัยทานทางใจ อภัยทานทางวาจา และอภัยทานทางกาย
๓. อภัยทานเป็นพุทธสันติวิธี ที่ใช้นำมาเป็นรูปแบบสำหรับจัดการปัญหาความขัดแย้ง
ในสังคมไทยได้ ซึ่งไม่เพียงแต่สามารถใช้ได้ในรูปแบบการแก้ไขหลังจากความขัดแย้งเกิดขึ้นแล้ว
ยังสามารถใช้เป็นรูปแบบของการป้องกันเพื่อไม่ให้ความขัดแย้งก่อตัวอีกด้วย อภัยทานทางใจ
นับว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาให้มีความอดทน มีความเมตตา ไม่อาฆาตพยาบาทโกรธ
แค้น อภัยทานทางวาจา คือ การพูดที่ยึดหลักสัมมาวาจา และการกล่าวคำว่า “ขอโทษ” สำหรับ
อภัยทานทางกาย คือ การแสดงพฤติกรรมเคารพ และให้เกียรติในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดย
วิธีการของอภัยทานดังกล่าวมาทั้งหมดทำให้การยึดมั่นในความเป็นอัตตลักษณ์สลายลง สามารถ
แก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ในที่สุด
Download :  255105.pdf
 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕