หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาอุทัย ปญฺญาปภาโส (ภูบังดาว)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๒ ครั้ง
กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมือง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาอุทัย ปญฺญาปภาโส (ภูบังดาว) ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๕/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย
  อำนาจ บัวศิริ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  ๒) เพื่อศึกษาหลักการสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมือง ๓) เพื่อเสนอกระบวนการสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมือง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๓๙๔ คน สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๐ คน สนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๐ รูป/คน

ผลการวิจัย พบว่า :

สภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทั้ง ๙ ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านปฏิบัติอย่างชื่นชมในความเป็นพลเมือง ด้านวางแผนการปฏิบัติ ด้านประเมินผลทางเลือก ด้านประเมินผลรวมเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ด้านประเมินระหว่างปฏิบัติ ด้านสร้างทางเลือกหลากหลาย ด้านคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ ด้านปรับปรุงแก้ไข และด้านตระหนักในปัญหาและความจำเป็น ตามลำดับ

จิตสำนึกความเป็นพลเมืองที่ควรสร้างให้แก่นักเรียนมี ๖ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านมีอิสรภาพ และพึ่งตนเองได้ ๒) ด้านเคารพสิทธิผู้อื่น ๓) ด้านเคารพความแตกต่าง ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างจากตนเอง ๔) ด้านเคารพหลักความเสมอภาค เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น และเห็นคนเท่าเทียมกัน ๕) ด้านเคารพกติกา เคารพกฎหมาย ๖) ด้านรับผิดชอบต่อสังคม

กระบวนการสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองทั้ง ๖ ด้าน คือ ๑) ด้านมีอิสรภาพ และพึ่งตนเองได้ ประเมินการปฏิบัติงานหรือผลงานเพื่อพัฒนาสิ่งที่บกพร่องพร้อมกับให้ข้อเสนอแนะ ให้รางวัลหรือกล่าวชมเชยเมื่อปฏิบัติตามหน้าที่ได้อย่างดีเพื่อเสริมสร้างกำลังใจโดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริม ได้แก่ กิจกรรมสนุกกับเกมหรรษา (แล่นเรือไททานิค) ๒) ด้านเคารพสิทธิผู้อื่น เรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสิทธิเสรีภาพตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยมีกิจกรรมสร้างสัมพันธ์ผ่านนิทาน        ๓) ด้านเคารพความแตกต่าง ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างจากตนเอง ปฏิบัติกับผู้อื่นอย่างเท่าเทียม ให้เกียรติ และความเคารพ โดยมีกิจกรรมปุจฉาวิสัจฉนาประชาธิปไตย ๔) ด้านเคารพหลักความเสมอภาค เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น ฝึกฝนด้วยการทำกิจกรรมร่วมกันเป็นการเคารพกติกาแบบง่ายๆ ที่ปฏิบัติอยู่แล้วในห้องเรียนโดยมีกิจกรรมดีดไข่เป็นกิจกรมส่งเสริม ๕) ด้านเคารพกติกา เคารพกฎหมาย ยอมรับผลของการละเมิดกฎหมายปฏิบัติตน ตามบทบาทหน้าที่ โดยยึดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยกิจกรรมปริศนาประชาธิปไตยเป็นกิจกรรมส่งเสริม ๖) ด้านรับผิดชอบต่อสังคม กระตือรือร้นที่จะรับผิดชอบและร่วมแก้ไขปัญหาสังคมยอมรับความผิดพลาดของตนเอง โดยมีกิจกรรมศิลปะประชาธิปไตย รวมใจสมานฉันท์เป็นกิจกรรมส่งเสริม

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕