หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอธิการแจ่ม ภทฺทโก
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๖ ครั้ง
ปริศนาธรรมเกี่ยวกับประเพณีการตายของจังหวัดสุโขทัย
ชื่อผู้วิจัย : พระอธิการแจ่ม ภทฺทโก ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูพิพิธจารุธรรม
  ประพัฒน์ ศรีกูลกิจ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๙ กันยายน ๒๖๗๑
 
บทคัดย่อ

                   การศึกษาวิจัยเรื่อง “ปริศนาธรรมเกี่ยวกับประเพณีการตายของจังหวัดสุโขทัย
มีวัตถุประสงค์
ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาความตายที่ปรากฏในพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาปริศนาธรรมที่เกี่ยวกับการประเพณีการตายของจังหวัดสุโขทัย ๓) เพื่อวิเคราะห์ปริศนาธรรมที่ปรากฏในประเพณีการตายของจังหวัดสุโขทัย เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ  (Qualitative Research)  มุ่งศึกษาเอกสารทั้งที่เป็นวรรณกรรมทางศาสนา คำสอน ที่มีผู้เขียนไว้ และสัมภาษณ์ อ้างอิงเป็นหลัก ในการวิเคราะห์ข้อมูล

                  ผลการวิจัยพบว่า

                  ๑) ความตายที่ปรากฏในพระพุทธศาสนา ความตายตามความหมายของพุทธศาสนา
ก็คือความดับหรืออาการดับของขันธ์ ๕ หรือกายกับจิต ความตายนั้นก็คือ การขาดแห่งชีวิตินทรีย์ ขณะที่เรากำลังยังเป็นๆ อยู่ที่มีชีวิตินทรีย์คอยหล่อเลี้ยงรูปกายเรา ให้สดใสไปมาเคลื่อนไหวได้ เมื่อใดขาดชีวิตินทรีย์ เราก็เคลื่อนไหวไปมาไม่ได้ หมดความรู้สึก มีรูปกายแข็งทื่อเหมือนท่อนไม้ ถ้าเปรียบก็เหมือนไฟตะเกียงอาศัยน้ำมันชุบที่ไส้ จึงได้มีแสงสว่างรุ่งเรือง ถ้าน้ำมันหมดก็ดับมืดฉันใด รูปกายก็เหมือนตะเกียง ชีวิตินทรีย์เหมือนน้ำมัน ถ้าชีวิตินทรีย์ขาดหมดไป รูปกายก็ใช้อะไรไม่ได้ เหมือนกับตะเกียงดับมืดลง ความตายเป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้องประสบ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง ในช่วงสุดท้ายแล้วมักจะยินดีที่จะตายหรือพร้อมที่จะเผชิญกับความตายที่กำลังจะมาถึง สำหรับทางด้านสังคมนั้น จะมีความแตกต่างในความเชื่อ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ต่างกัน ก็จะเป็นสิ่งที่กำหนดถึงการที่บุคคลในสังคมนั้นจะมองถึงความตาย และการปฏิบัติต่อความตายของแต่ละบุคคลในแต่ละสังคม
ที่ใกล้สภาวะสิ้นชีวิตที่แตกต่างกันไปด้วย

๒) ปริศนาธรรมที่เกี่ยวกับการประเพณีการตายของจังหวัดสุโขทัย จากการที่ผู้วิจัยได้ศึกษาพบว่า ความตายเป็นสิ่งที่หลีกหนีไม่พ้น มนุษย์ทุกคนที่มีชีวิตตั้งขึ้นเพื่อรอความตายเป็นส่งสุดท้ายของชีวิต และมีการจัดพิธีกรรมการจัดงานศพ ในแต่ละขั้นตอนในการจัดงานศพนั้น เป็นการให้เกียรติและการไว้อาลัยให้กับผู้ตายเป็นวาระสุดท้าย โดยผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้รู้เกี่ยวกับพิธีกรรมในการจัดศพ จะทำด้วยความประณีตเปรียบเสมือนกับผู้ตายยังมีชีวิจอยู่ แม้แต่จากไปนานยังมีการระลึกถึงด้วยการทำบุญครบรอบ และเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที ที่ญาติของผู้ตายทำบุญระลึกถึงคุณงามความดีของผู้ที่จากไปนานแล้วก็ตาม  ในงานศพนั้นแฝงไปด้วยปริศนาธรรม ที่นักปราชญ์ได้สร้างขึ้นโดยเอาธรรมของพระพุทธเจ้าไว้ เพื่อต้องการให้บุคคลรุ่นหลังได้สังเกต และนำข้อคิดนั้นไปถ่ายทอด และนำไปปฏิบัติได้โดยไม่มีความน่าเบื่อหน่าย หรือเป็นอีกนัยหนึ่งคือเป็นสื่อในการสอนของคนในครั้งอดีต ที่สอนโดยผ่านปริศนาธรรม

              ๓) ปริศนาธรรมที่ปรากฏในประเพณีการตายของจังหวัดสุโขทัย จากการที่ผู้วิจัยได้ศึกษาพบว่า ปริศนาธรรมที่แฝงอยู่ในขั้นตอนของพิธีกรรมงานศพนั้น จะสอนบุคคลผู้มีชีวิตอยู่ให้เตรียมตัวตาย ให้หมั่นเร่งขวนขวายในความดี ละในความชั่ว ซึ่งจะมีอยู่ในทุกขั้นตอนของพิธีกรรมในงานศพ และอีกนัยหนึ่งคือการที่เราไปร่วมงานศพในทุกที่ ใช่ว่าไปเพื่อไปแค่รู้จักมักคุ้น ไปแค่เพื่อให้เกียรติผู้ตาย แต่เราไปเพื่อพิจารณาอสุภกรรมฐาน สิ่งที่ว่าดี สิ่งที่ว่าสวย สิ่งที่ว่างาม ที่เรารับรู้ได้จากอายตนะภายใน-ภายนอกได้นั้น ล้วนเป็นสิ่งที่เน่าเหม็น ไม่สวยงาม  ดังนั้นผู้ที่จะถ่ายทอดหลักธรรม ที่ได้แฝงอยู่ในปริศนางานศพให้กับญาติผู้ตาย และผู้ที่ไปร่วมงานศพ ต้องเป็นหน้าที่ชาวพุทธทุกท่าน ที่ทำหน้าที่เผยแผ่หลักธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้กับผู้ที่ยังไม่รู้ให้ได้เข้าใจ ในหลักธรรมที่ถูกต้องใช่ทำไปเพื่อคนที่ตายเท่านั้น และสอนคนที่ยังมีชีวิตอยู่ในตั้งอยู่ในความไม่ประมาท และมั่นสั่งสมบุญกุศล

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕