หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ชนิกา แสงทองดี
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๒ ครั้ง
รูปแบบการสร้างความสุขในการทำงานในองค์กรตามหลักพุทธจิตวิทยา (พุทธจิตวิทยา)
ชื่อผู้วิจัย : ชนิกา แสงทองดี ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  ประยูร สุยะใจ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : กุมภาพันธ์ 2561
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะความสุขในการทำงานในองค์กร 2) เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบของความสุขในการทำงานในองค์กรตามหลักพุทธจิตวิทยา และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการสร้างความสุขในการทำงานในองค์กรตามหลักพุทธจิตวิทยา วิธีการวิจัยเป็นแบบผสมวิธีระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 640 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายชั้น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาโดยการจำแนกชนิดข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย และวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมด้วยโปรแกรม LISREL

ผลการวิจัยมีดังนี้

1. วิเคราะห์คุณลักษณะความสุขในการทำงานในองค์กร พบว่า คุณลักษณะความสุขในการทำงานในองค์กร มีตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานในองค์กรตามหลักพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วย 1) การสร้างสุขตามหลักพุทธจิตวิทยา 2) ปัจจัยสู่ความสำเร็จ 3) ปัจจัยการสงเคราะห์เกื้อกูล 4) ความสุขในการทำงานในองค์กร

2. ผลสังเคราะห์องค์ประกอบของความสุขในการทำงานในองค์กรตามหลักพุทธจิตวิทยา พบว่า องค์ประกอบของความสุขในการทำงานในองค์กรตามหลักพุทธจิตวิทยามี 16 องค์ประกอบ คือ 1) ครอบครัวดี 2) ความมีน้ำใจ 3) การพัฒนาตนเอง 4) ความรอบคอบ 5) การให้ 6) ความเสมอต้นเสมอปลาย 7) การปล่อยวาง 8) ความรับผิดชอบ 9) การสื่อสารที่ดี 10) การเป็นแบบอย่างที่ดี 11) วินัยทางการเงิน 12) สัมพันธภาพ 13) ความภาคภูมิใจ 14) ความขยัน 15) คุณธรรม และ 16) สุขภาพดี

3. รูปแบบการสร้างความสุขในการทำงานในองค์กรตามหลักพุทธจิตวิทยา พบว่า ความสุขในการทำงานในองค์กรได้รับอิทธิพลทางตรงจากการสร้างสุขตามหลักพุทธจิตวิทยาและปัจจัยสู่ความสำเร็จ ส่วนอิทธิพลทางอ้อมจากการสร้างสุขตามหลักพุทธจิตวิทยาส่งอิทธิพลทางอ้อมต่อความสุขในการทำงานในองค์กรผ่านปัจจัยการสงเคราะห์เกื้อกูล ซึ่งสูงกว่าอิทธิพลทางตรง นี้แสดงให้เห็นว่า ปัจจัยการสงเคราะห์เกื้อกูลเป็นตัวแปรส่งผ่านเพียงตัวเดียวที่ทำให้บุคคลมีความสุขในการทำงานในองค์กรมากขึ้น และตัวแปรการสร้างสุขตามหลักพุทธจิตวิทยาจำเป็นต้องมีปัจจัยการสงเคราะห์เกื้อกูลเป็นตัวแปรส่งผ่านจึงจะทำให้บุคคลมีความสุขในการทำงานในองค์กรสูงขึ้น ในขณะที่ตัวแปรปัจจัยสู่ความสำเร็จสามารถส่งอิทธิพลให้บุคคลมีความสุขในการทำงานในองค์กรได้โดยไม่ต้องส่งผ่านตัวแปรใดๆ

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕