หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระปลัดแดนสกล ปภาโส
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๑ ครั้ง
การศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในวรรณกรรมเรื่อง หลวงพ่อทองวัดโบสถ์
ชื่อผู้วิจัย : พระปลัดแดนสกล ปภาโส ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชรัตนาลงกรณ์
  เจษฎา มูลยาพอ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ๑) ความรู้ที่เกี่ยวกับวรรณกรรมทั่วไปและวรรณกรรมอิงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ๒) วรรณกรรมอิงพระพุทธศาสนาเรื่องหลวงพ่อทองวัดโบสถ์  และ ๓) วิเคราะห์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในวรรณกรรมเรื่องหลวงพ่อทองวัดโบสถ์  เป็นการวิจัยเอกสาร (Document Research) สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

ผลการวิจัยพบว่า วรรณกรรมหมายถึงสิ่งที่เขียนขึ้นทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดความมุ่งหมายใด นิยายหมายถึง เรื่องเล่า หรือเรื่องอ่านเล่น นวนิยายอิงชีวประวัติหมายถึง นวนิยายที่กล่าวถึงเรื่องราวของตัวละครเอก ส่วนวรรณกรรมศาสนาของไทยนั้นมีปรากฏเป็นรายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกยุคสุโขทัย สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช วรรณกรรมอิงพระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็น ๒ ระยะคือก่อนรับอิทธิพลวรรณกรรมตะวันตกตั้งแต่ยุคสุโขทัยจนถึงต้นรัชกาลที่ ๔ กรุงรัตนโกสินทร์ และหลังได้รับอิทธิพลวรรณกรรมตะวันตก ตั้งแต่ต้นรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

วรรณกรรมอิงพระพุทธศาสนาเรื่องหลวงพ่อทองวัดโบสถ์ เนื้อเรื่องเป็นเรื่องราวชีวิต ที่อยู่บนฐานตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มีการสร้างศาสนสถาน บำรุงศาสนบุคคล และสืบทอด ศาสนธรรม การดำเนินเรื่องชีวิตของตัวละครที่ต้องผจญกับสุขทุกข์ มีลาภเสื่อมลาภ ได้ยศเสื่อมยศ พบกับการถูกสรรเสริญการถูกนินทา ความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง อันเป็นกิเลสที่เกิดขึ้นกับชีวิตใคร ๆ ก็ได้ ลึกซึ้งด้วยคติธรรมที่แนบเนียนกับเนื้อเรื่อง ล้วนเป็นกลวิธีทางวรรณศิลป์อันเป็นผลให้อ่านได้เพลิดเพลินมีความบันเทิงใจ

             วรรณกรรมอิงพระพุทธศาสนาเรื่องหลวงพ่อทองวัดโบสถ์ ที่มีคุณค่าต่อบุคคล คือวรรณกรรมให้สารประโยชน์ต่อบุคคลอันเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม ชี้ให้เห็นสภาพของชีวิตมนุษย์ในสังคมให้ประสบการณ์จำลองชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ มีส่วนให้ความสำนึกของสังคม เป็นการปลูกฝังทัศนคติต่อสังคมแก่ผู้อ่าน ส่งเสริมให้ผู้อ่านอันเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมยอมรับแนวคิดเหล่านั้น และมีมโนทัศน์ร่วมต่อสังคม คือ ศีลธรรม กรอบจารีตประเพณี และธรรมนิยมต่าง ๆ มีผลให้เกิดสติปัญญา นำมาใช้ประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมนุษย์

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕