หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ณัฐปภัสร์ นิโรธรังสี
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๒ ครั้ง
วิธีประยุกต์ใช้พรหมวิหารธรรมในการปฏิบัติงานของบริษัทพิษณุโลก ทรัคออโต้ เซลส์ จำกัด
ชื่อผู้วิจัย : ณัฐปภัสร์ นิโรธรังสี ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสิริรัตนานุวัตร
  พระครูพิพิธจารุธรรม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : กุมภาพันธ์ 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

      งานศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์  ๑.เพื่อศึกษาเนื้อหาของพรหมวิหารธรรมในคัมภีร์พระไตรปิฎก ๒.  เพื่อศึกษาการใช้พรหมวิหารธรรมในสังคมไทย   ๓. เพื่อเสนอวิธีประยุกต์ใช้พรหมวิหารธรรมในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทพิษณุโลกทรัคออโต้เซลส์ จำกัด เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ  ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือวิจัย  มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๒๐ คน ใช้พื้นที่วิจัยที่ บริษัทพิษณุโลกทรัคออโต้เซลส์จำกัด ที่สาขาพิษณุโลก

      ผลการวิจัยในบทที่ ๒ พบว่า พรหมวิหาร เป็นหมวดธรรมซึ่งพระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญและเผยแผ่อบรมสั่งสอนสรรพสัตว์ ในระหว่างการบำเพ็ญบารมีหลายยุคหลายสมัย การเจริญพรหมวิหาร  จึงเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ดังข้อมูลที่ปรากฏในพระสุตันตปิฎก ผู้วิจัยยกตัวอย่างมา ๔ สูตรคือ มฆเทวสูตร มหาสุทัสสนสูตร มหาโควินทสูตร และโทณสูตร

      คำว่า พรหมวิหารแปลว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างพรหม แยกศัพท์เป็น พรหม+วิหาร ความหมายพรหมนั้น มี ๓ ความหมายคือเป็นผู้สร้าง ในศาสนาฮินดู หมายถึงบิดามารดา คำว่า วิหารนั้นจำแนกคำว่า วิหาร  ๔ อย่างคือ อิริยาบถวิหาร ทิพพวิหาร  อริยวิหาร และ พรหมวิหาร ที่ได้ชื่อว่าพรหมวิหารนั้น เพราะคุณธรรมอันปะเสริฐ และโดยภาวะที่เป็นคุณธรรมจากโทษ

      ผลจากการวิจัยในบทที่ ๓  พบว่า การใช้พรหมวิหารธรรมในสังคมไทยก็สอดคล้องกับอุปนิสัยของคนไทยเป็นเพราะเป็สสังคมแห่งความเมตตา-กรุณา จนเป็นที่ประจักษ์และชื่นชมของชาวต่างชาติ เพราะว่าสังคมไทยเน้นหนักไปทางเมตตา กรุณา และกำกับด้วยมุทิตากับอุเบกขา อันแสดงให้เห็นว่าสังคมไทย ใช้หลักพรหมวิหารแบบอย่างสมดุล  ในระดับผู้นำ การใช้พรหมวิหาร ทำให้บ้านเมืองเจริญ ในเชิงธุรกิจ ให้นักธุรกิจเรียนรู้ความสุขที่ไม่ได้มาจากการบริโภค แต่เป็นความสุขที่มาจากฉันทะ และพรหมวิหารธรรม นับเป็นความสำเร็จที่แท้จริงของนักธุรกิจ

          ผลการวิจัยในบทที่ ๔ พบว่า พนักงานบริษัทมีวิธีประยุกต์พรหมวิหารอยู่ ๓ แนวทางคือ -เป็นธรรรมของผู้ประเสริฐ เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนและส่วนรวมดำเนินชีวิตได้อย่างประเสริฐ มีความรัก ความสามัคคี และหวังความก้าวหน้าของตนและบริษัท -เป็นธรรมะที่ใช้ในการการดำรงชีวิต ได้อย่างมีความสุข  -ธรรมประจำใจของผู้ใหญ่ และผู้นำทุกระดับชั้นเข้าสู่ความสำเร็จ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕