หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอธิการปรีชา ติกฺขญาโณ (มาทา)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๘ ครั้ง
ประสิทธิผลการบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาล ตำบลนาแก้ว อำเภอเกาะคา จังวัดลำปาง (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระอธิการปรีชา ติกฺขญาโณ (มาทา) ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระปลัดชัยภัทร ขนฺติธโร
  สามารถ บุญรัตน์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๙ ธันวาคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ มีวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลนาแก้ว อำเภอเกาะคา               จังหวัดลำปาง เพื่อเปรียบเทียบระดับประสิทธิผลการบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลนาแก้ว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักอปริหานิยธรรมกับประสิทธิผลการบริหารงานของเทศบาลตำบลนาแก้ว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เพื่อศึกษาแนวทางในการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมเพื่อการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารของเทศบาลตำบลนาแก้ว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

ผลการวิจัย พบว่า :

๑. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิผลการบริหารงานตามหลัก                              อปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลนาแก้ว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ได้แก่ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานทั่วไป ด้านการบริหารงานวัสดุอุปกรณ์                โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง

๒. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบเกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิผลการบริหารงานของเทศบาลตำบลนาแก้ว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล             อันได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลนาแก้ว ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงยอมรับสมมติฐาน

๓. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอปริหานิยธรรมกับประสิทธิผลการบริหารงาน                     ของเทศบาลตำบลนาแก้ว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง พบว่า การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรม                      มีความสัมพันธ์เชิงบวก กับการบริหารของเทศบาลตำบลนาแก้ว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง                   ในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่า การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง

๔. แนวทางการนำหลักอปริหานิยธรรมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานของเทศบาลตำบลนาแก้ว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ด้านการหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ คือการประสานงานร่วมมือการให้เกิดการประชุมกันเป็นประจำ ด้านการประชุม หรือเลิกประชุม และทำภารกิจอื่น ๆ            ให้พร้อมเพรียงกัน คือ เน้นความสามัคคีในหมู่คณะ ให้มีการร่วมมือร่วมใจกัน ในการทำกิจกรรม             ทุกกิจกรรม ด้านการไม่บัญญัติสิ่งใหม่ ๆ ตามอำเภอใจ คือ การยึดหลักความถูกต้องชอบธรรม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมชุมชน ด้านการเคารพนับถือผู้ที่มีอาวุโส และรับฟังคำแนะนำ   คือ การให้เกียรติต่อผู้ที่ผ่านประสบการณ์มาแล้วมากมายในชีวิต เป็นการเปิดใจยอมรับฟังคำแนะนำเพื่อจะได้นำไปปรับใช้กับงานในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ ด้านการไม่ข่มเหง หรือล่วงเกินสตรี คือการคำนึงถึงความเสมอภาคกันการให้เกียรติซึ่งกันและกันเป็นไปด้วยความเท่าเทียมกัน ด้านการเคารพ สักการะปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ และรูปเคารพต่าง ๆ คือการส่งเสริม การอนุรักษ์รักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม การเคารพสถานที่ต่าง ๆ การทำนุบำรุงสถานที่ต่าง ๆ ที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ให้ดำรงอยู่สืบต่อไป ด้านการให้ความคุ้มครองคนดีมีคุณธรรมให้อยู่ในชุมชนอย่างปลอดภัยโดยวัดจากความคิดเห็นของประชาชนผู้มาใช้บริการเป็นสำคัญ คือ การส่งเสริมด้านการทำความดีต่อสังคม ชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่ มีการเชิดชูเกียรติยกย่อง โดยเน้นถึงการทำความดี ความสามัคคีให้เกิดขึ้นภายในชุมชน

ข้อเสนอแนะจากการวิจัยการบริหารงานของเทศบาลตำบลนาแก้วควรนำหลัก                  อปริหานิยธรรมไปบูรณาการร่วมกับการบริหารงานเพื่อประโยชน์อันสูงสุดขององค์กร ในการบริหารจัดการในด้านต่าง ๆ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนในทุก ๆ หมู่บ้านในเขตการปกครอง ตลอดจนถึงขยายผลไปยังเทศบาลและอบต. อื่น ๆ เพื่อให้นำหลักธรรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับการบริหารงานในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕