หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ธนภรณ์ เบ้าเงิน
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๔ ครั้ง
การประสานความร่วมมือด้านการยุติธรรมของหน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรมในจังหวัดนครสวรรค์ (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ธนภรณ์ เบ้าเงิน ข้อมูลวันที่ : ๐๒/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  สุรพล สุยะพรหม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการประสานความร่วมมือด้านการยุติธรรมของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมในจังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคในด้านการยุติธรรมของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม จังหวัดนครสวรรค์ และ ๓) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาความร่วมมือด้านการยุติธรรมของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม จังหวัดนครสวรรค์

 

                 ดำเนินการวิจัยโดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) กับกลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมในจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีจำนวน ๓๓๔ คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประเมินค่า ๕ ระดับ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๘๑๓ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยใช้สถิติค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๘ ท่าน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า

 

๑) ระดับการประสานความร่วมมือด้านการยุติธรรมของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมในจังหวัดนครสวรรค์  โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= ๓.๐๔) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านกระบวนการทางกฎหมาย (= ๓.๐๕)   ด้านผู้บังคับบัญชา (= ๓.๐๕) ด้านขั้นตอน (= ๓.๑๓) ด้านบุคลากร (= ๒.๙๔)  

 

  ๒) ปัญหา อุปสรรคในด้านการยุติธรรมของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมในจังหวัดนครสวรรค์ พบว่า บางครั้งกระบวนทางการกฎหมาย ยังมีช่องโว่ไม่สามารถบังคับได้อย่างจริงจังและถูกต้องกรณีศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษา ในคดีครอบครัวที่ไม่ได้สั่งกำกับการปกครอง ศาลไม่ได้แจ้งผลคำพิพากษา/คำสั่ง เมื่อศาลรับคำร้องหรือคำฟ้องแล้วไม่ได้แจ้งให้ผู้ร้องหรือคู่ความมาพบเจ้าหน้าที่    จึงไม่สามารถดำเนินการสืบเสาะได้ กฎหมายและข้อบังคับขององค์กรไม่มีความเหมาะสมและต่อการปฏิบัติงาน กระบวนการศาลยุติธรรมมีความยุ่งยากต่อการประสานความร่วมมือของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมในจังหวัดนครสวรรค์ การประสานความร่วมมือในบางครั้งต้องขึ้นอยู่การอนุญาตของผู้มีอำนาจสั่งการจะทำการใดโดยพละการมิได้ จึงทำให้ในบางครั้งการติดต่อผสานงานเพียงเล็กน้อยก็ยังคงยุ่งยาก ไม่มีการเสริมสร้างศูนย์กลางการผสานงานการเรียนรู้ด้านกฎหมายระหว่างองค์กรกระบวนการยุติธรรม กระบวนการศาลยุติธรรมควรมีการลดขั้นตอนกระบวนการที่ยุ่งยากและซับซ้อนลงบ้าง จึงจะทำให้เกิดการประสานความร่วมมือที่ดี  ผู้อำนวยการของศาลแต่ละศาลตลอดจนหัวหน้างานของส่วนราชการทุกหน่วยงานควรมีการอนุโลมในการติดต่อ ไม่ติดต่อเฉพาะที่ผู้อำนวยการเพียงอย่างเดียวแต่ควร กระจายอำนาจไปยังบุคคลผู้ที่มีอำนาจสั่งการแทนได้ในบางครั้งที่มีภารกิจหรือเอกสารทีเร่งด่วน ไม่มีการอบรมทางด้านการดำเนินงานหรือการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ผู้อำนวยการยังคงให้ความสำคัญด้านมนุษย์สัมพันธ์ของผู้ร่วมงานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมยังไม่มากพอ

          ๓) ข้อเสนอแนะในด้านการพัฒนาความร่วมมือด้านการยุติธรรมของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ควรมีการตรวจสอบกระบวนการทางด้านกฎหมาย ให้มีช่องโว่ให้น้อยที่สุดและบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ควรให้ศาลแจ้งผลคำสั่งหรือคำพิพากษาให้หน่วยงานรับทราบด้วย เพื่อจะได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป เห็นควรให้ศาลแจ้งผู้ร้อง คู่ความ หรือทนายความมาพบเจ้าหน้าที่ เพื่อจะได้ดำเนินการสืบเสาะให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ควรศึกษาทางด้านกฎหมายให้มีความแม่นยำ และเหมาะสมต่อการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงาน กระบวนการศาลยุติธรรมควรมีการลดกระบวนการที่ยุ่งยากและซับซ้อนลงบ้าง จึงจะทำให้เกิดการประสานความร่วมมือผู้อำนวยการของศาลแต่ละศาลควรมีการอนุโลมในบางครั้งในการติดต่อ ไม่ติดต่อเฉพาะที่ผู้อำนวยการเพียงอย่างเดียว  แต่ควรกระจายอำนาจไปยังบุคคลที่มีอำนาจสั่งการแทนได้  ในบางครั้งที่มีภารกิจหรือเอกสารทีเร่งด่วน หากระบวนการใหม่หรือข้อปฏิบัติที่องค์กรของศาลสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างรวดเร็ว โปร่งใส ตรวจสอบได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นควรจะกระทำอยู่ในขอบเขตอำนาจของตนเอง

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕