หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาวิษณุ วิสารโท (พานนนท์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๘ ครั้ง
การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู(สาขารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาวิษณุ วิสารโท (พานนนท์) ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ธงชัย สิงอุดม
  บุษกร วัฒนบุตร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ๒) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภูในการจำแนกปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) ศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือประชาชนที่มีอายุ ๑๘ ปีขึ้นไป เป็นประชากรในการศึกษา โดยเลือกประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ของเทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภูจำนวน ๓๖๐ คน จากจำนวนประชากร ๓,๔๙๐ คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรการคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ในการหาขนาดกลุ่มตัวอย่าง และใช้สูตรคำนวลของ Nagtalon ในการคำนวณหาขนาดของสัดส่วนตัวอย่างที่เหมาะสมต่อขนาดของประชาชนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)และทดสอบสมมติฐานโดยเพื่อบรรยายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าที(t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One Way ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

 

๑) ประชาชนมีความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.90 )  เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู มีความคิดเห็น ด้านการดูแลเอาใจใส่และต้อนรับผู้มาเยือนมีระดับสูงสุด    ( = 4.09 ) รองลงมาคือ ด้านให้ความเคารพและให้การส่งเสริมศิลปะ และวัฒนธรรมท้องถิ่น      ( = 3.91 ) และที่อยู่ในระดับสุดท้ายคือ ด้านการหมั่นประชุมเนืองนิตย์ ( = 3.90) ซึ่งอยู่ในระดับมาก

๒) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู พบว่าประชาชนภายในแต่ละชุมชนไม่ค่อยมีเวลาหรือเอาใจใส่ในการให้ความร่วมมือประชาชนในชุมชนต้องมีภาระหน้าที่ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมหรือรับจ้างเป็นส่วนใหญ่จึงไม่มีเวลาในการประชุมทำให้ประชนชนเมื่อจะต้องทำงานเลี้ยงชีพแล้วการมีส่วนร่วมจึงลดน้อยลงและประชาชนบางกลุ่มไม่เห็นถึงความสำคัญขาดความรับผิดชอบในการมีส่วนร่วม เมื่อมีการประชุมจึงเกิดความไม่พร้อมเพียงกันในบางครั้ง ส่วนประชาชนที่ให้ความร่วมมือในส่วนจะเป็นประชาชนที่มีหน้าที่การงานมั่นคงและเป็นหลักแหล่ง เช่น ข้าราชการเป็นต้น ด้านข้อเสนอแนะ พบว่า เทศบาลควรจัดการประชุมให้การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมเพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจและมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมหรือได้รับข่าวสารของเทศบาล และเพื่อเป็นการให้ประชาชนได้รู้และเข้าใจในการมีส่วนร่วมนั้น ควรเชิญตัวแทนของแต่ละชุมชน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น มาประชุม และเทศบาลควรออกลงพื้นที่สำรวจความเป็นอยู่ของประชาชนเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขในการบริหารงานต่อไป

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕