หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูมงคลศีลวัตร (ทองอินทร์ มงฺคลิโก/ก่อผล)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๕ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกับพระเจ้าจักรพรรดิถังไท่จงฮ่องเต้
ชื่อผู้วิจัย : พระครูมงคลศีลวัตร (ทองอินทร์ มงฺคลิโก/ก่อผล) ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๕/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ศาสนาเปรียบเทียบ)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชสิทธิมุนี
  แสวง นิลนามะ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบเรื่อง: บทบาทการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาของพระเจ้าบรมโกศกับพระเจ้าถังไท่จงฮ่องเต้” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ๒) เพื่อศึกษาบทบาทในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาของพระเจ้าถังไท่จงฮ่องเต้ ๓) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบบทบาทในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกับพระเจ้าถังไท่จงฮ่องเต้ ผลการศึกษาพบว่า

บทบาทในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพุทธศาสนาของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศพบว่า พระพุทธศาสนาในยุคของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก ทรงส่งพระสงฆ์ไปสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาที่ มีการสร้างวัดพระพุทธรูปพระเจดีย์และวิหารเป็นจำนวนมาก รัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศส่งเสริมให้การบวชเรียนกลายเป็นประเพณีสำคัญและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดผู้ที่จะเป็นขุนนางมียศบรรดาศักดิ์ต้องเป็นผู้ได้รับการอุปสมบทมาเรียบร้อยเสียก่อน และได้ส่งคณะสงฆ์ไปช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา ประกอบด้วยพระราชาคณะสองรูปคือ พระอุบาลี และพระอริยมุนี พร้อมคณะสงฆ์อีก ๑๒ รูป เสด็จสวรรคต เมื่อปี พุทธศักราช ๒๓๐๑ พระชนมายุได้ ๗๗ พรรษา ครองราชย์ได้ ๒๖ ปี บทบาทในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาของพระจักรพรรดิถังไท่จงฮ่องเต้พบว่า พระจักรพรรดิถังไท่จงฮ่องเต้ ในฐานะองค์พระประมุขของประเทศ เป็นพระมหาจักรพรรดิที่ทรงมีพระราชภารกิจต้องทรงปฏิบัติมาก เพราะพระองค์ทรงเป็นตัวแทนหรือสัญลักษณ์ของประเทศ เป็นแบบอย่างของทวยราษฎร์ และทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปกครองที่เก่งที่สุดในประวัติศาสตร์จีน ทรงเป็นพุทธมามกะอุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงในแผ่นดินจีนจนถึงปัจจุบัน กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติในทุกๆ ด้านและทุกๆ มิติ เสด็จสวรรคต เมื่อปี พุทธศักราช ๑๑๙๒ พระชนมายุได้ ๕๐ ระยะเวลาครองราชย์ ๒๒ ปี

ผลการเปรียบเทียบ สรุปได้ ๙ ประเด็น คือ การเข้าสู่อาณาจักรของพระพุทธศาสนาพบว่า ราชอาณาจักรไทย มี ๓ ยุค ส่วนราชอาณาจักรจีนก่อนจะเป็นสาธารณรัฐไม่สามารถกำหนดได้ ผู้นำเข้ามาเผยแผ่พบว่าเป็นพระสงฆ์เหมือนกัน ระยะเวลาพบว่า ราชอาณาจักไทย ๗๐๐ กว่าปี จีน ๒๐๐๐ กว่าปี นิกายราชอาณาจักรไทย ๒ นิกาย จีน นิกายเดียว ผู้อุปถัมภ์และคุ้มครอง พบว่า พระมหากษัตริย์ สำหรับจีนโบราณก็เป็นพระมหากษัตริย์ การทำลายล้างพระพุทธศาสนา ราชอาณาจักรไทยไม่เคยเกิดขึ้นจีนโบราณเกิดขึ้นมากกว่า ๓ ครั้ง โดยการต่อต้านจากลัทธิศาสนาเดิม สำหรับการเผยแผ่นั้นพบว่าได้รับการสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์ทั้งสองราชอาณาจักร   

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕