หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ศิรินทร มุขสาร
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๓ ครั้ง
เบญจศีลกับการสร้างสันติสุขในสังคมไทย
ชื่อผู้วิจัย : ศิรินทร มุขสาร ข้อมูลวันที่ : ๐๕/๐๔/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ประยูร แสงใส
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2557
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

           สารนิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ประการคือ ๑)เพื่อศึกษาเบญจศีลในพระพุทธศาสนา  และหลักการสร้างสันติสุข  ๒)เพื่อวิเคราะห์การใช้หลักเบญจศีลกับการสร้างสันติสุขในสังคมไทย การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา และวิจัยภาคสนามโดยสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายนำมาวิเคราะห์ประกอบเนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า 

             หลักของพุทธศาสนาทุกสิ่งในสังคมล้วนอาศัยดำรงอยู่ในลักษณะพึ่งพาอาศัยเกื้อกูลกัน ขึ้นต่อกันและกัน มีความสัมพันธ์กันในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเสมอภาวะที่สิ่งนี้มีเพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย ดังนั้นไม่ว่าปัจเจกบุคคลจะกระทำสิ่งใดทุกการกระทำจะส่งผลลัพธ์ถึงสังคมครอบครัว และสังคมประเทศ ซึ่งโดยธรรมชาติปัจเจกบุคคลมีความต้องการเหมือนกัน คือ ความสงบ  ความสุข และมีสันติสุขอย่างทัดเทียมกัน พระพุทธเจ้าจึงทรงมีหลักพื้นฐานง่ายๆ ให้มีข้อปฏิบัติในการเว้นจากความเดือดร้อน ความทุกข์  ทางกายและวาจา ให้มีการควบคุมตนให้ตั้งอยู่ในความไม่เบียดเบียน ทั้งนี้เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ความทุกข์ที่เกิดขึ้นในสังคม นั่นคือหลักเบญจศีล 

          หลักเบญจศีลเป็นหลักสัจจะที่เป็นสากล ซึ่งปัจเจกบุคคลได้พิสูจน์แล้วว่าแก้ไขปัญหาได้ และเกื้อหนุนชีวิตให้มีการเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งผลลัพธ์ของการประพฤติปฏิบัติดีของปัจเจกบุคคลส่งผลดีถึงสังคมครอบครัว สังคมประเทศ อาทิ ๑. การเว้นจากการฆ่าสัตว์ก็เท่ากับชีวิตมีหลักประกันความมั่นคง มีความปลอดภัย  ๒.การเว้นจากการลักทรัพย์ หรือถือเอาทรัพย์สินที่เจ้าของเขาไม่ยินยอมให้ ก็เท่ากับชีวิตมีหลักประกันในทรัพย์สิน  ๓.การเว้นจากประพฤติผิดในกาม เท่ากับเป็นการรักษาและคุ้มครองครอบครัวให้มีความสุขสงบดียิ่งขึ้น  ๔. การเว้นจากการพูดเท็จโกหก หลอกลวง  งดเว้นจากคำพูดที่บิดเบียนจากความจริง ซึ่งความสัตย์จริงย่อมไม่มีการทะเลาะเบาะแว้งกันเป็นหลักประกันความสุขความสงบ และ๕.การเว้นจากการดื่มสุราเมรัยและสิ่งเสพติดให้โทษ เท่ากับเป็นการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง มีสติสัมปชัญญะและไม่ประพฤติตนกระทำชั่วต่างๆ  กอปรปัจเจกบุคคลผู้ใดมีเบญจศีลย่อมคิดถึงและกระทำคุณประโยชน์เพื่อสาธารณะนับอเนกอนันต์ ซึ่งปัจเจกบุคคลเสมือนเป็นกระจกเงาที่ทำหน้าที่สะท้อนถึงสังคมครอบครัวและสังคมประเทศ เมื่อ ธรรมย่อมรักษาคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม  ปัจเจกบุคคลเป็นผู้ประพฤติธรรมและหลักเบญจศีลเป็นธรรมจึงรักษาคุ้มครองปัจเจกบุคคลให้มีความมั่นคงปลอดภัย สะท้อนถึงสังคมครอบครัว ให้มีความสงบ ผาสุก มั่นคง และสะท้อนถึงสังคมประเทศให้สาธารณะชนมีสันติสุขอย่างทัดเทียม ซึ่งหลักเบญจศีลสร้างสันติสุขต่อปัจเจกบุคคล สังคมครอบครัวและสังคมประเทศได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนตลอดกาล

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕