หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » เจ้าอธิการอธิคม สุภกิจฺโจ (แก้วอุดม)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๗ ครั้ง
ภาวะผู้นำเชิงพุทธในการบริหารจัดการองค์กรของคณะสงฆ์ จังหวัดเพชรบูรณ์(สาขารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : เจ้าอธิการอธิคม สุภกิจฺโจ (แก้วอุดม) ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูวชิรคุณพิพัฒน์
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงพุทธในการบริหารจัดการองค์กรของคณะสงฆ์ในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ต่อภาวะผู้นำเชิงพุทธในการบริหารจัดการองค์กรของคณะสงฆ์ในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ๓) เพื่อศึกษา ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ภาวะผู้นำเชิงพุทธในการบริหารจัดการองค์กรของคณะสงฆ์ในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

ดำเนินการตามระเบียบการวิจัย แบบผสานวิธี (Mixed-Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ พระสงฆ์ในอำเภอหล่มสัก เฉเพาะสังกัดมหานิกาย จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งมีจำนวน ๖๙๓ รูป จำนวน ๒๕๔ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ ๐.๙๖๙ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่  (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) หาค่าเฉลี่ย (mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD.) คำถามปลายเปิด เป็นความเรียงประกอบตาราง โดยการแจกแจงความถี่ของผู้ตอบ และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative .Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth.Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๗ ท่าน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า

 

๑) พระสงฆ์มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำเชิงพุทธในการบริหารจัดการองค์กรของคณะสงฆ์ในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง ( =.๒๑,S.D.=.๙๐๓) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า พระสงฆ์มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำเชิงพุทธในการบริหารจัดการองค์กรของคณะสงฆ์ในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านจักขุมา (มีวิสัยทัศน์ที่ดี) ด้านวิธูโร (มีความเชี่ยวชาญการบริหารการจัดการที่ดี) และด้านนิสสยสัมปันโน (มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี)

 

๒) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ ต่อภาวะผู้นำเชิงพุทธในการบริหารจัดการองค์กรของคณะสงฆ์ในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า พระสงฆ์ที่มีอายุพรรษา อายุ วุฒิการศึกษาสายสามัญ วุฒิการศึกษาทางธรรม และวุฒิการศึกษาบาลี ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำเชิงพุทธในการบริหารจัดการองค์กรของคณะสงฆ์ในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงพุทธในการบริหารจัดการองค์กรของคณะสงฆ์ในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า ปัญหาและอุปสรรค คือนโยบายการพัฒนานำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้ในการทำงานของคณะสงฆ์ไม่ค่อยทันสมัยเท่าที่ควร ทั้งยังเปิดโอกาสไห้คณะสงฆ์ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการกำหนดแผนพัฒนายังน้อยในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นยังได้ไม่ทันต่อเหตุการณ์ที่เหมาะสม ให้โอกาสและสนับสนุนคนที่มีความรู้ความสามารถให้ดำรงตำแหน่งหน้าที่เหมาะสมต่อคณะสงฆ์ ทั้งยังขาดความสามารถสื่อสานและประสานงานกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้ไม่ค่อยดีในการบริหารงบประมาณให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด การปรับตัวและเข้ากันได้กับผู้ใต้บังคับบัญชาได้ดีเป็นผู้มีความจริงใจต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และเมื่อผู้ใต้บังคับบัญชามีความขัดแย้งกันคณะสงฆ์อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ได้ตัดสินด้วยความเป็นธรรมสืบไป

ข้อเสนอแนะ มีดังนี้ ด้านจักขุมา พบว่า ผู้นำควรศึกษาปัญหาและความต้องการของคณะสงฆ์ให้เข้าใจเพื่อจะได้แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง ทั้งผู้นำควรเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการบริหารงานเพิ่มมากขึ้น และผู้นำควรสร้างนโยบายและมีการอบรมสัมมนาคณะสงฆ์เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานของคณะสงฆ์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้านวิธูโร พบว่า
ผู้นำควรเปิดโอกาสให้คณะสงฆ์มีส่วนร่วมในการทำงานเพิ่มมากขึ้น ทั้งผู้นำควรเสริมสร้างจิตสำนึกที่ดีในการทำงานเพื่อให้เกิดความทุ่มเทและเสียสละในคณะสงฆ์ และผู้นำควรเปิดโอกาสให้คณะสงฆ์มีส่วนร่วมในการตรวจสอบความโปร่งใส ด้านนิสสยสัมปันโน พบว่า ผู้นำควรสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดีให้กับคณะสงฆ์มีการพบปะและสนทนาปราศรัยกันให้มากขึ้น ทั้งผู้นำควรมีจิตสาธารณะช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันและยึดหลักคุณธรรมและจริยธรรมให้มากยิ่งขึ้น และผู้นำควรปลูกจิตสำนึกในการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕