หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระเกียรติศักดิ์ ธีรวํโส (คำเจียม)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๓ ครั้ง
ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบล ศิลาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์(สาขารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระเกียรติศักดิ์ ธีรวํโส (คำเจียม) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อภิชญาณัฐโศภา อบสิน
  พระปลัดสมบัติ ฐิติญาโณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลศิลาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลศิลาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลศิลาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์

ดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ตำบลศิลา อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน ๓๘๕ คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๗๑ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) หาค่าเฉลี่ย (Mean)  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (T - test) การทดสอบค่าเอฟ (F - test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Anova) การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (Key Informants) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน ๘ คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis Techniques) ประกอบบริบท (Context)

ผลการวิจัยพบว่า

 

. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลศิลาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้านมีค่าเฉลี่ย ๔.๐๓ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านเงื่อนไขคุณธรรมมีค่าเฉลี่ย ๔.๑๓ ด้านความมีเหตุผลมีค่าเฉลี่ย ๔.๐๘ ด้านเงื่อนไขความรู้มีค่าเฉลี่ย   ๔.๐๔ ด้านความพอประมาณมีค่าเฉลี่ย ๓.๙๘ ด้านการมีภูมิคุ้มกันมีค่าเฉลี่ย ๓.๙๓  ซึ่งทุกด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน

 

 

. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลศิลาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลแก่ประชาชนที่มี เพศ, อายุ, ระดับการศึกษา, อาชีพ, และรายได้ต่อปี พบว่าประชาชนที่มี เพศ, อาชีพ รายได้ต่อปี ต่างกัน มีความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลศิลาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีอายุ, ระดับการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลศิลาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมติฐานการวิจัย

 

. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลศิลาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่าปัญหา อุปสรรค คือ การทำการเกษตรกรยังใช้สารเคมีเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพ เพิ่มสูง พืชผลทางการเกษตรราคาต่ำไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจึงทำให้เกษตรกรเป็นหนี้สินไม่สามารถฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรได้ และปัจจุบันเกษตรกรยังยึดติดกับเครื่องมือสมัยใหม่ในการทำการเกษตรทำให้มีต้นทุนในการประกอบอาชีพสูง ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องช่วยรณรงค์ปลูกฝังให้เกษตรกรรู้จักการพึ่งพาตนเองให้ได้ในระดับหนึ่ง รู้จักประหยัดอดออมและรู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชุมชน และเกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกพืชทางเกษตรชนิดเดียวกันทำให้พืชผลทางการเกษตรล้นตลาด ราคาตกต่ำ หน่วยงานต้องจัดหาทุนให้เกษตรกรกรณีที่สำนักงานเห็นว่าเป็นพืชผลทางเศรษฐกิจจนกว่าจะได้ขายผลผลิตและจัดหาตลาดรองรับผลผลิตทางการเกษตร

ข้อเสนอแนะ พบว่า ควรให้องค์การบริหารส่วนตำบลศิลามีการบริหารจัดการส่งเสริมให้ชุมชนสร้างค่านิยมในการพึ่งพาตนเอง รู้จักประหยัดอดออมช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และควรแนะนำให้เกษตรกรปลูกพืชแบบสมผสานกันเพื่อให้ได้ผลมากขึ้น เช่น การมีข้าว ผัก ปลา ผลไม้ ในท้องถิ่น เพื่อการบริโภค ควรใช้จ่ายอย่างประหยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย รวมถึงแนะนำให้รู้จักการประหยัดน้ำ ประหยัดไฟฟ้า และน้ำมันเชื้อเพลิง ใช้สอยในครัวเรือนหรือชุมชน เพื่อลดการใช้จ่าย และควรให้ประชาชนยึดหลักทางสายกลางคือหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นวิธีดำเนินชีวิต

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕