หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สวัสดิ์ ปัญญาทิยกุล
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๐ ครั้ง
ศึกษาการปฏิบัติต่อวิปัสสนูปกิเลสเพื่อก้าวข้ามสู่ญาณ ๑๖
ชื่อผู้วิจัย : สวัสดิ์ ปัญญาทิยกุล ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชสิทธิมุนี
  บุญเลิศ โอฐสู
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑ เพื่อศึกษาวิปัสสนูปกิเลสในพุทธศาสนาเถรวาท ๒ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ญาณ ๑๖ ที่เกี่ยวข้องกับวิปัสสนูปกิเลส และ ๓ เพื่อวิเคราะห์การปฏิบัติต่อวิปัสสนูปกิเลสเพื่อก้าวข้ามสู่ญาณ ๑๖

เพื่อมุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างเป็นองค์รวม ผู้วิจัยจึงใช้วิธีวิจัยแบบคุณภาพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการค้นคว้าวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก

จากการวิจัยพบว่า วิปัสสนูปกิเลส ทั้งจากคัมภีร์และจากการสัมภาษณ์พระวิปัสสนาจารย์ มีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันในหลายประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่ ๑ “วิปัสสนูปกิเลส” คือ กิเลสในวิปัสสนาญาณระดับอุทยพยญาณอย่างอ่อน เมื่อผู้ปฏิบัติสามารถก้าวข้ามนิวรณ์ ๕ ในขณะนั้นจิตของผู้ปฏิบัติจะผ่องใส มีสมาธิ และสามารถกำหนดรูปนามได้ต่อเนื่อง ผู้ปฏิบัติก็จะสามารถก้าวข้ามญาณเบื้องต้น สู่อุทยพยาญาณอย่างอ่อน ผู้ปฏิบัติจะเริ่มเห็นการเกิดดับของรูปนาม ในขณะนั้นอุปกิเลส ๑๐ ก็จะเกิดขึ้น ดังนั้นผู้ปฏิบัติได้พบเจออุปกิเลส ๑๐ เป็นครั้งแรก ทำให้ผู้ปฏิบัติรู้ไม่เท่าทันอุปกิเลส ๑๐ เป็นเหตุทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดตัณหาและหลงเพลินในอุปกิเลส ๑๐ ประเด็นที่ ๒ ลักษณะการเกิดของวิปัสสนูกิเลส อาจจะเกิดขึ้นทีละอย่างๆ หรืออาจเกิดหลายๆ อย่างพร้อมๆ กันก็ได้
และประเด็นที่ ๓ เมื่อผู้ปฏิบัติรู้ว่าวิปัสสนูปกิเลสไม่ใช่ทางแห่งวิปัสสนา ผู้ปฏิบัติจะต้องตั้งสติ
และพยายามกำหนดรูปนาม ให้ทันปัจจุบัน จนเห็นพระไตรลักษณ์ ผู้ปฏิบัติก็จะสามารถก้าวข้ามวิปัสสนูปกิเลสไปได้

จากการวิจัยพบว่า “ความสัมพันธ์ญาณ ๑๖ ที่เกี่ยวข้องกับวิปัสสนูปกิเลส” ทั้งจากคัมภีร์และจากการสัมภาษณ์พระวิปัสสนาจารย์ มีความสอดคล้อง ไปในทิศทางเดียวกัน ในหลายประเด็น คือ ๑. ในญาณที่ ๑ ถึง ๓ ผู้ปฏิบัติกำหนดอารมณ์บัญญัติมากกว่าอารมณ์ปรมัตถ์ จึงไม่ใช่การปฏิบัติวิปัสสนา วิปัสสนูปกิเลสไม่เกิดในญาณทั้ง ๓ นี้ ประเด็นที่ ๒ ในญาณที่ ๔ คือ อุทยพยญาณอย่างอ่อน ผู้ปฏิบัติจะเกิดวิปัสสนูปกิเลสเด่นชัดที่สุด วิปัสสนูปกิเลสจะขัดขวางการเจริญสติของผู้ปฏิบัติ
เรียกได้ว่าเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อ ประเด็นที่ ๓
.ในอุทยัพพยญาณอย่างแก่ ผู้ปฏิบัติมีอินทรีย์แก่กล้ามากขึ้น ผู้ปฏิบัติจะมีญาณที่เรียกว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ผู้ปฏิบัติจะสามารถรู้ว่า หนทางไหนเป็นหนทางแห่งวิปัสสนาและประเด็นที่ ๔ ในญาณที่ ๕-๑๖ ผู้ปฏิบัติจะมีอุปกิเลส ๑๐ และผู้ปฏิบัติสามารถกำหนดรูปนามได้ต่อเนื่อง เพราะผู้ปฏิบัติรู้จักหนทางปฏิบัติที่ถูกต้องแล้ว และสามารถก้าวข้ามวิปัสสนูปกิเลสมาได้

จากการวิจัยพบว่า การปฏิบัติต่อวิปัสสนูปกิเลสเพื่อก้าวข้ามสู่ญาณ ๑๖ พบว่า
ประเด็นที่ ๑ อุปกิเลส ๑๐ จัดเป็นธรรมารมณ์ สามารถใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้ ประเด็นที่ ๒ การเจริญสติปัฏฐาน ๔ ให้สมบูรณ์มีขั้นตอน แสดงได้ดังนี้
ผู้ปฏิบัติต้องมีความเพียร สัมปชัญญะ และสติ ในการกำหนดอารมณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะ อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย ถือว่าเป็นกุญแจไขสู่ความสำเร็จยิ่งกว่านั้นผู้ปฏิบัติต้องเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐาน ตามหลักฐานอ้างอิงจากพระไตรปิฎก พระพุทธองค์ตรัสว่า “อานาปานสติที่ภิกษุเจริญทำให้มาก ย่อมมีผลอานิสงส์มาก เมื่อเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ที่เจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมทำให้โพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่เจริญทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุติ
ให้บริบูรณ์” ประเด็นที่ ๓ อินทรีย์ ๕ เป็นตัวบ่งชี้ ว่าผู้ปฏิบัติจะบรรลุธรรมหรือไม่ดังนั้นคือผู้ปฏิบัติจะต้องมีอินทรีย์ ๕ กล้าแข็ง ขึ้นไปเป็นลำดับๆ และมีอินทรีย์ ๕ ที่สมดุลกัน และประเด็นที่ ๔ การเจริญโพชฌงค์ ๗ ถือว่าเป็นการปฏิบัติเพื่อเจริญอินทรีย์ ๕ ให้กล้าแข็งขึ้นเป็นลำดับๆ และเป็นทั้งการปรับอินทรีย์ให้สมดุล

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕