หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระวันเดิม ปญฺาทีโป
 
เข้าชม : ๒๐๐๓๐ ครั้ง
การศึกษาคุณสมบัติของพระธรรมกถึกในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ชื่อผู้วิจัย : พระวันเดิม ปญฺาทีโป ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ ได้แก่ (๑) เพื่อศึกษาคุณสมบัติของพระธรรมกถึกในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของพระธรรมกถึกในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (๓) เพื่อประยุกต์ใช้หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของพระธรรมกถึกในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสังคมไทย

 

ผลการวิจัยพบว่า  พระธรรมกถึก คือ  ผู้สอนธรรม, ผู้แสดงธรรมและนักเทศน์         พระธรรมกถึกในสมัยพุทธกาล คือ พระปุณณมันตานีบุตร และพระธรรมทินนาเถรี ส่วนธรรมกถึกฝ่ายฆราวาสในสมัยพุทธกาล คือ จิตตคฤหบดี และนางขุชชุตตรา คุณสมบัติของพระธรรมกถึก ต้องประกอบด้วยองค์ ๕ ประการคือ  (๑) แสดงธรรมไปโดยลำดับ  (๒) อ้างเหตุผลแนะนำให้ผู้ฟังเข้าใจ (๓) ตั้งจิตเมตตาปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง  (๔) ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ  (๕) ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น

หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของพระธรรมกถึก  พระพุทธเจ้าทรงใช้รูปแบบการสอน ๔ ประการ เช่น สันทัสสนา  การอธิบายให้เห็นชัดเจน แจ่มแจ้ง เป็นต้น องค์แห่งพหูสูต ๕ เช่น พหุสสุตา ฟังมาก และ ธาตา จำได้มาก และหลักกัลยาณมิตร ๗ เช่น ปิโย น่ารัก และครุ น่าเคารพ เป็นต้น  และหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นการฝึกให้รู้คิดเข้าใจ มองเห็นตามความเป็นจริง

             พระธรรมกถึกผู้แสดงธรรม ควรมุ่งให้ผู้ฟังได้รับอานิสงส์ ๕ อย่างคือ  (๑) ผู้ฟังย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง  (๒) สิ่งที่เคยฟังแล้วแต่ไม่เข้าใจชัดย่อมเข้าใจสิ่งนั้นชัด  (๓) บรรเทาความสงสัยเสียได้   (๔) ทำความเห็นให้ถูกต้องได้  (๕) จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส  พระธรรมกถึก ควรกำหนดเนื้อหาหรือเนื้อเรื่อง ที่จะสอนให้เหมาะสม ในการเทศน์ทุกครั้งเช่น สอนจากสิ่งที่รู้ ที่เห็น เข้าใจได้ง่าย  เทคนิคและวิธีการสอนของพระธรรมกถึก   ประกอบด้วย  ลีลาสวย  รวยสาระ จังหวะดี  ชี้หลักธรรม ใจความกระชับ เหมาะกับเวลา   พระธรรมกถึก คือ  หมู่ชนที่ศึกษาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า  และในฐานะเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า     ควรวางจุดหมายของการเทศน์ไว้  ๒  ชั้น  คือ  (๑) จุดหมายชั้นสูงสุด คือนิพพาน  (๒) จุดหมายชั้นต่ำลงมา เช่น ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง  การประยุกต์ใช้หลักพระธรรมกถึกของพระสงฆ์ผู้เผยแผ่ในสังคมไทย  เช่น  พระพรหมมังคลาจารย์  (ปัญญานันทภิกขุ)   และพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)  เป็นต้น  ท่านทั้ง ๒ รูปนี้ เป็นพระสงฆ์ผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาในสังคมไทยโดยใช้หลักพระธรรมกถึก คือ ท่านแสดงธรรมไปโดยลำดับ ไม่ตัดลัดให้ขาดความ ท่านอ้างเหตุผลแนะนำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่าย  ท่านตั้งจิตเมตตาปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง ท่านไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ และท่านไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่นคือว่าไม่ยกตนเสียดสีผู้อื่น

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕