หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » มนตรี ธีรธรรมพิพัฒน์
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๓ ครั้ง
แนวคิดเรื่องธรรมราชาในพุทธปรัชญาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : มนตรี ธีรธรรมพิพัฒน์ ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระศรีคัมภีรญาณ
  สมภาร พรมทา
  วีรชาติ นิ่มอนงค์
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

           วิทยานิพนธ์นี้ชื่อ “แนวคิดเรื่องธรรมราชาในพุทธปรัชญาเถรวาท” มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อคือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องผู้ปกครองแบบธรรมราชาในปรัชญาฮินดู ๒) เพื่อศึกษาแนวคิดผู้ปกครองแบบธรรมราชาในพุทธปรัชญาเถรวาทและ ๓) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดผู้ปกครองแบบธรรมราชาในพุทธ-

ปรัชญาเถรวาท และการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ

           จากการศึกษาวัตถุประสงค์ข้อที่ ๑ พบว่า ผู้ปกครองในปรัชญาฮินดูเป็นวรรณะกษัตริย์ มีสถานะเป็นธรรมราชาและเทวราชา ปกครองบ้านเมืองภายใต้หลักเทวาธิปไตย และมีเป้าหมายเพื่อให้คนทุกวรรณะอยู่เป็นสุขในเทวรัฐ   ในวัตถุประสงค์ข้อที่ ๒  พบว่า  ในพุทธปรัชญาเถรวาท ผู้ปกครองแบบธรรมราชาต้องเป็นผู้มีคุณธรรมประจำตัวและมีพันธะหน้าที่ทางศีลธรรมต่อสังคม   ปกครองบ้าน

เมืองโดยหลักธรรมาธิปไตย และมีเป้าหมายเพื่อให้ทุกคนเป็นคนดีมีความสุขในธรรมรัฐ และในวัตถุประสงค์ข้อที่ ๓ พบว่า ในพุทธปรัชญากับปรัชญาฮินดู มีแนวคิดบางประเด็นที่เห็นตรงกันและเห็นแย้งกัน ประเด็นสำคัญในพุทธปรัชญาที่เห็นแย้งปรัชญาฮินดู คือ แนวคิดธรรมาธิปไตยโต้แย้งแนวคิดเทวาธิปไตย และแนวคิดธรรมวิชัยโต้แย้งแนวคิดสงครามวิชัย  

           จากการวิเคราะห์ปัญหาเรื่องดังกล่าว ผู้วิจัยเห็นแย้งแนวคิดเทวาธิปไตยในปรัชญาฮินดูที่ใช้ความเชื่อในอำนาจเทพเจ้าเป็นวิธีการไปสู่เป้าหมายทางการเมือง ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่ทุกคนไม่สามารถพิสูจน์และเข้าถึงอำนาจเทพเจ้าได้ และเห็นด้วยหรือสนับสนุนแนวคิดแบบธรรมาธิปไตยในพุทธ-ปรัชญาที่ใช้วิธีการปฏิบัติดีทางกาย วาจา และใจ ไปสู่เป้าหมายทางการเมือง ซึ่งทุกคนสามารถปฏิบัติหรือพิสูจน์ได้ในโลกแห่งความเป็นจริงด้วยปัญญาของตนเอง  

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕