หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ศุภณัฐ เจริญสุข
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๖ ครั้ง
กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
ชื่อผู้วิจัย : ศุภณัฐ เจริญสุข ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๑/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พิเชฐ ทั่งโต
  สุรพล สุยะพรหม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

                                             บทคัดย่อ

                   การวิจัยมีวัตถุประสงค์ไว้ ๓ ประการได้แก่ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ๒) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฏี และหลักธรรมที่เกี่ยวกับกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ ๓) เพื่อเสนอกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารเทศบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
ระเบียบวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน ๒๓ รูป/คน เลือกแบบเจาะจงจากผู้นำคณะสงฆ์ ผู้นำชุมชนปลัดเทศบาล นายกเทศมนตรี และนักวิชาการ/ครู ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำนวน ๔๐๐ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
                ๑. สภาพการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง พบว่า กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำได้แยกออกเป็น ๓ กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ ๑) กลยุทธ์ในการพัฒนาการครองตนยังขาดความเข้าใจตนเองในการนำทางวิสัยทัศน์ ๒) กลยุทธ์การพัฒนาการครองคน
จะข้อจำกัดของภาวะผู้นำของเทศบาลยังคงมีจุดอ่อนอยู่มาก และ ๓) กลยุทธ์การพัฒนาการครองงาน จะมีประสบการณ์ในการบริหารงานแต่จุดแข็งต่อการพัฒนาภาวะผู้นำทางการบริหารเทศบาลจะมีความตั้งใจในการทำงานอย่างมากเพื่อการตอบสนองต่อประชาชนในพื้นที่นั้น ๆ
                ๒. แนวคิด ทฤษฏี และหลักธรรม ที่เกี่ยวกับกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า ประกอบด้วยคุณลักษณะเฉพาะของบุคคลเป็นผู้ทำหน้าที่ในการชี้นำสังคมหรือองค์กรนั้นที่สร้างความมั่นใจให้กับลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดนโยบายแนวทางการปฏิบัติงานในการพัฒนาท้องถิ่น เป็นผู้รับผิดชอบควบคุมจัดทำให้เป็นไปตามแผนสำหรับหลักพุทธธรรมสำหรับการพัฒนาภาวะผู้นำ ได้แก่ หลักสัปปุริสธรรมที่เป็นธรรมของสัปปุริสชน ประกอบด้วย ๗ คุณลักษณะ ๑) ธัมมัญญุตา คือ ผู้นำจะต้องรู้หลักการ ๒) อัตถัญญุตา  คือ ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักเป้าหมาย ๓) อัตตัญญุตา คือ รู้จักตนเองอย่างดี ๔) มัตตัญญุตา คือ ผู้นำต้องรู้จักขอบเขตความพอเหมาะ ๕) กาลัญญุตา คือ รู้จักเวลาจัดการบริหารเวลา ๖) ปริสัญญุตา คือ ผู้นำจะต้องรู้จัดชุมชน และ ๗) ปุคคลปโรปรัญญุตา คือ ผู้นำจะต้องรู้จักบุคคล
                ๓. กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารเทศบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างพบว่า กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักการครองตนจะต้องมีการพัฒนาภาวะผู้นำให้รู้หลักการบริหาร มีแผนการพัฒนาวิสัยทัศน์ มีโครงการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม มีโครงการเข้าวัดปฏิบัติธรรมสำหรับผู้บริหารเทศบาลการจัดปฏิทินประจำวันสำหรับการปฏิบัติงาน การส่งเสริมการศึกษา ประวัติศาสตร์ชุมชนด้วยตนเองและมีโครงการพัฒนาทักษะ และศักยภาพด้านมนุษย์สัมพันธ์ของผู้บริหารเทศบาลกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการครองคนจะต้องมีโครงการพัฒนาทักษะทางความคิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติ มีแผนการสื่อสารเป้าหมาย ให้ผู้รู้จักหลักของความพอดี ปรับเปลี่ยนเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรมีแผนการพัฒนาเครือข่ายและและการพัฒนาทักษะทางการสื่อสารและกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการครองงาน พบว่า การพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับการปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความสำเร็จต้องจัดโครงการปฏิบัติธรรมตามแนวหลักสติปัฏฐาน มีแผนการจัดการองค์กรที่ทันสมัยการพัฒนาระบบความคิดทางการวิเคราะห์ตนเอง แผนการจัดการความเสี่ยงที่สามารถจะปฏิบัติงานตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดเพื่อกำหนดการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรและควรมีแผนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน และภาคีเครือข่าย

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕