เข้าชม : ๒๐๐๕๗ ครั้ง |
การศึกษาทัศนะของข้าราชการทีมีต่อการฝึกอบรมตามโครงการฝึกอบรมเพื่อปลุกจิตสำนึกข้าราชการตามรอยพระยุคลบาท (โครงการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทหลักสูตร 2)(๒๕๔๘) |
|
ชื่อผู้วิจัย : |
นางสาวสุพัตรา ภาคย์วิวัฒน์ |
ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๐๘/๒๐๑๐ |
ปริญญา : |
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา) |
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : |
|
พระศรีวรญาณ วิ. (บุญชิต ญาณสํวโร) |
|
พระมหาเจิม สุวโจ |
|
ดร.พิสิฐ เจริญสุข |
วันสำเร็จการศึกษา : |
30 มีนาคม 2548 |
|
บทคัดย่อ |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในหลักสูตรการฝึกอบรมด้านการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท 2) เพื่อศึกษาทัศนะของข้าราชการที่มีต่อการฝึกอบรมตามโครงการฝึกอบรมเพื่อปลุกจิตสำนึกข้าราชการตามรอยพระยุคลบาท (โครงการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท หลักสูตร 2) ในด้านจิตตภาวนาและด้านการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท
การศึกษาทัศนะของข้าราชการที่เข้ารับการฝึกอบรม ใช้วิธีการสร้างเครื่องมือ ทดสอบหาค่าความเชื่อมั่น และนำไปสอบถามกลุ่มตัวอย่างหลักสูตรจิตตภาวนา จำนวน 130 คน หลักสูตรการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท จำนวน 83 คน และนำไปหาค่าร้อยละ ส่วนการศึกษาหลักพุทธธรรมที่ปรากฎในพระบรมราโชวาท และหลักสูตรการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท ได้ใช้วิธีการประมวลจากพระไตรปิฏก และเอกสารเกี่ยวกับพระบรมราโชวาท แล้วนำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนาผลการศึกษา พบว่า
1. ข้าราชการที่เข้ารับการอบรมด้านจิตตภาวนา มีความคิดเห็นว่า มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเดินจงกรมมากที่สุด(96.2 %) น้อยที่สุดคือเรื่องสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา(12.3 %) ส่วนความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมมากที่สุดคือ การสอนบรรยายธรรม(83.8 %) และการเห็นความสำคัญที่จะนำไปปฏิบัติมากที่สุด(84.6 %)
2. ข้าราชการที่เข้ารับการอบรมด้านการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท มีความคิดเห็นว่า จะน้อมนำพระบรมราโชวาทไปประพฤติปฏิบัติ ในเรื่องความสุจริต (78.3 %) เรื่องการพัฒนา (73.5 %) เรื่องกุศโลบาย(54.2 %) ส่วนความพึงพอใจต่อการจัดการฝึกอบรมเห็นว่า การใช้สื่ออุปกรณ์มีความเหมาะสมมาก(62.7 %) ส่วนความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ การติดต่อประสานงานของเจ้าหน้าที่(27.7 %)
3. หลักพุทธธรรมที่ปรากฎในหลักสูตรการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท พบว่า เรื่องการพัฒนา คือ ใช้หลักไตรสิกขา หลักภาวนา 4 หลักวุฒิธรรม 4 และหลักอธิษฐาน 4 เรื่องการเป็นข้าราชการที่รักประชาชน คือ ใช้หลักสัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4 หลักเว้นอคติ 4 หลักอิทธิบาท 4 หลักสัมมากัมมันตะ หลักเวสารัชชกรณธรรม 5 เรื่องการสร้างความดีแก่สังคม คือ ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 หลักกุศลวิตก 3 หลักพรหมวิหาร 4 หลักศีล 5 หลักอัปปมาทธรรม เรื่องการร่วมสร้างพลังของแผ่นดิน คือ ใช้หลักสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ หลักปริญญา 3 หลักโกศล 3 หลักปัญญา หลักสังคหวัตถุ 4 และหลักอปริหานิยธรรม 7
4. องค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท พบว่า แนวทางที่ข้าราชการควรมุ่งมั่นนำไปประพฤติปฏิบัติตามรอยพระยุคลบาท มี 9 ประการ ได้แก่ 4.1. สุจริต เที่ยงตรง 4.2. เสียสละ อดทน 4.3. ฝึกตนมีระเบียบ 4.4. เพียบพร้อมความรู้ คู่กุศโลบาย 4.5. ขยายสัมพันธ์ประสาน 4.6. มีความรับผิดชอบ 4.7. ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ 4.8. ทำงานให้สำเร็จทันการ และ 4.9. ยึดมั่นในผลประโยชน์ของประเทศชาติและความถูกต้องเป็นธรรม
จากข้อสรุปข้างต้น แสดงให้เห็นว่า เมื่อใดที่ข้าราชการได้เรียนรู้พระบรมราโชวาทตามหลักสูตรการฝึกอบรมนี้แล้ว ก็ได้เรียนรู้หลักพุทธธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาพร้อมกันไปในคราวเดียวกัน
Download : 254837.pdf
|
|
|