หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระจีรพัฒน์ สมาจาโร (ดีใจ)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๐ ครั้ง
คนพาลและบัณฑิตในพระพุทธศาสนาที่มีผลต่อสังคม : ศึกษากรณี ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น(๒๕๔๘)
ชื่อผู้วิจัย : พระจีรพัฒน์ สมาจาโร (ดีใจ) ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูศรีปริยัติสุนทร
  รศ.ดร.เอกฉัท จารุเมธีชน
  พระมหามนตรี ขนฺติสา
วันสำเร็จการศึกษา : 2548
 
บทคัดย่อ

     วิทยานิพนธ์นี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของคนพาลและบัณฑิตในพระพุทธศาสนาเถรวาท และพฤติกรรมของคนพาลและบัณฑิตที่มีผลต่อสังคมจากการศึกษา พบว่า พฤติกรรมของคนพาลและบัณฑิตที่มีผลต่อสังคมตำบลท่าพระ คือ (๑) คนพาลเป็นแบบอย่างที่ไม่เหมาะสมแก่เยาวชน พฤติกรรมทางกาย และวาจาที่ไม่ควรเอาเป็นตัวอย่างต่อคนอื่น (๒) ส่วนผลทางพฤติกรรมของบัณฑิตมีลักษณะตรงกันข้าม คือ พฤติกรรมทางกาย วาจา ล้วนเป็นไปในทางส่งเสริม เกื้อกูลแก่สังคมตำบลท่าพระ และทางจิตใจก็ประกอบด้วยจิตเมตตาต่อคนอื่น มีความประนีประนอมกันได้โดยสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรงตัดสินปัญหา (๓) ผลระดับสังคม ผลเสียหายจากคนพาลต่อศาสนวัตถุ และศาสนสถานในวัด ส่วนบัณฑิตส่งผลดีต่อสังคมตำบลท่าพระในด้านเกื้อกูลแก่ วัด โรงเรียน และชุมชนท่าพระ
วิธีการแก้ปัญหาคนพาลของตำบลท่าพระ มีอยู่ ๕ องค์ประกอบ ได้แก่ (๑) โดยสถาบันครอบครัว (๒) โดยสถาบันการศึกษา (๓) โดยสถาบันศาสนา (๔) โดยหมู่บ้านและชุมชนร่วมมือกัน และ (๕) โดยการให้ความร่วมมือกับทางราชการส่วนวิธีการยกย่องบัณฑิต มีอยู่ ๔ วิธี ได้แก่ (๑) ยกย่องในระดับครอบครัว (๒) ยกย่องในระดับสถานศึกษา (๓) ยกย่องเป็นบุคคลที่สำคัญและประพฤติตนเป็นประโยชน์ต่อวัดในระดับศาสนา (๔) ยกย่องให้ปรากฏในระดับหมู่บ้านและชุมชน

Download : 254828.pdf

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕