หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสมสุก ติสฺสวํโส (มโนธรรม)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๒ ครั้ง
การบริหารบุคลากรทางการศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 โรงเรียนมัธยมศึกษา เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระสมสุก ติสฺสวํโส (มโนธรรม) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๙/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สิน งามประโคน
  สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย
  ชวาล ศิริวัฒน์
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

                   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑)เพื่อศึกษาการบริหารบุคลากรทางการศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ ๔ โรงเรียนมัธยมศึกษา ๒) เพื่อศึกษาปัญหา และแนวทาง การบริหารบุคลากรทางการศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ ๔โรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คณะผู้บริหาร ครู จำนวน ๒๕๔ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการหาค่าความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (t-test) และ(One-way ANOVA) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

                  ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

                  ๑.  การบริหารบุคลากรทางการศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ ๔ โรงเรียนมัธยมศึกษา โดยภาพรวม  อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก ทั้ง ๔ ด้าน เรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ๑.ด้านการใช้หลักทาน, ๒.ด้านการใช้หลักปิยวาจา, ๓.ด้านการใช้หลักอัตถจริยา, ๔.ด้านการใช้หลักสมานัตตตา

                  ๒. ปัญหา และแนวทาง การบริหารบุคลากรทางการศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ ๔โรงเรียนมัธยมศึกษา  พบว่า ปัญหาด้านทาน ผู้บริหารสนับสนุนการจัดกิจกรรม เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำงานน้อย, ด้านปิยวาจา ผู้บริหารขาดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการวางแผนนโยบาย และขาดการให้คำแนะนำที่ดี, ด้านอัตถจริยา ผู้บริหารมีอคติต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และวางตนไม่เหมาะสมในหน้าที่การงาน และด้านสมานัตตตา ผู้บริหารขาดระเบียบวินัย ขาดความเป็นภาวะผู้นำ และขาดความยุติธรรมในการบริหารบุคลากร, ด้านทาน ควรให้มีการติดตามการทำงาน และสนับสนุนกิจกรรม จัดสรรงบประมาณ สวัสดิการให้เพียงพอ, ด้านปิยวาจา ควรให้ผู้บริหาร แสดงนโยบายให้ชัดเจน เปิดโอกาสให้บุคลากร แสดงความสามารถ ในการประชุมและทำงาน, ด้านอัตถจริยา ควรผู้บริหารควรให้ขวัญและกำลังใจต่อบุคลากร วางตนเป็นแบบอย่างที่ดี สงเคราะห์ผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยมิตรไมตรีที่ดี และด้านสมานัตตตา ควรผู้บริหารควรมีการประสานงานกับบุคลากร ด้วยมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี และสร้างความเป็นภาวะผู้นำต่อผู้ใต้บังคับบัญชา อย่างเสมอต้น เสมอปลาย.

ดาวน์โหลด 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕