หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » จินตนา บุตรกระวี
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๐ ครั้ง
การศึกษาหลักธรรมและการเสริมสร้างกิจกรรมการอยู่ร่วมกันของนักเรียนที่นับถือพระพุทธศาสนาและคริสตศาสนา
ชื่อผู้วิจัย : จินตนา บุตรกระวี ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๐๗/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร
  พระมหาบุญเลิศ ธมฺมทสฺสี
  ประพันธ์ ศุภษร
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

    การศึกษาหลักธรรมและการเสริมสร้างกิจกรรมการอยู่ร่วมกันของนักเรียนที่นับถือพระพุทธศาสนาและคริสต์ศาสนามีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ (๑) เพื่อศึกษาหลักธรรมการอยู่ร่วมกันในทางพระพุทธศาสนา (๒) เพื่อศึกษาหลักธรรมการอยู่ร่วมกันในคริสต์ศาสนา และ (๓) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างกิจกรรมการอยู่ร่วมกันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ วิทยานิพนธ์เรื่องนี้เป็นการศึกษาเชิงเอกสาร และเชิงสำรวจ กลุ่มประชากรคือนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์จำนวน ๓๙๔ คน การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามความคิดเห็น  และแบบสัมภาษณ์ผู้บริหารจำนวน ๕ คน ครูผู้สอนจำนวน ๑๓ คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือการแจกแจงความถี่หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย (x) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการวิจัยพบว่า

๑) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามรวมจำนวนทั้งสิ้น ๓๙๔ คน  เป็นหญิงจำนวน ๒๒๓ คน  คิดเป็นร้อยละ ๕๖.๖๐  เป็นชายจำนวน ๑๗๑ คน  คิดเป็นร้อยละ ๔๓.๔๐

๒) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันของนักเรียนที่นับถือพระพุทธศาสนาและคริสตศาสนาโดยมีหลักธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวโดยการหาค่าเฉลี่ย (x) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  พบว่าโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุดได้แก่  ด้านความกตัญญูกตเวที (x= ๔.๓๑) และด้านความรักความสามัคคี (x= ๔.๓๓)  ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  ได้แก่  ด้านความมีระเบียบวินัย (x = ๔.๐๕)  ด้านความสนใจใฝ่รู้  (x = ๓.๗๒)  ด้านความซื่อสัตย์ (x = ๔.๐๕)   ด้านความประหยัด (x = ๓.๘๘)   ด้านความเสียสละ (x = ๔.๒๑)  ด้านความรับผิดชอบ (x = ๓.๗๗)   ตามลำดับ

๓) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการปลูกฝังศีลธรรมและคุณธรรมนักเรียนโรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์  จำแนกตามอาชีพผู้ปกครอง  บุคคลที่เป็นแบบอย่างด้านศีลธรรม  คุณธรรม  โดยภาพรวมสรุปผลได้ดังนี้

๓.๑)  อาชีพผู้ปกครอง  ได้แก่  เป็นเจ้าของกิจการ จำนวน ๑๓๒ คน  คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๕๐  อาชีพอื่นๆ (พนักงานบริษัท, พนักงานรัฐวิสาหกิจ, ครูเอกชน)  จำนวน ๑๑๕ คน  คิดเป็นร้อยละ ๒๙.๑๙  รับจ้างทั่วไป  จำนวน ๙๐ คน  คิดเป็นร้อยละ ๒๒.๘๔  รับราชการ  จำนวน ๕๔ คน  คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๗๑  เกษตรกร  จำนวน ๓ คน  คิดเป็นร้อยละ ๐.๗๘

๓.๒)  จำแนกตามบุคคลที่เป็นแบบอย่างด้านศีลธรรมและคุณธรรม  ได้แก่  บิดามารดาจำนวน ๒๓๑ คน  คิดเป็นร้อยละ ๕๘.๖๓  ครู  จำนวน ๑๐๒ คน  คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๘๙  ปู่ย่า ตายาย  จำนวน ๔๙ คน  คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๔๔  บุคคลอื่นๆ  จำนวน ๔ คน  คิดเป็นร้อยละ ๑.๐๑  ดารานักร้อง  จำนวน ๗ คน  คิดเป็นร้อยละ ๑.๗๘  เพื่อน  จำนวน ๑ คน  คิดเป็นร้อยละ ๐.๒๕

การปลูกฝังศีลธรรมคุณธรรมให้กับนักเรียนที่นับถือพระพุทธศาสนาและนักเรียนที่นับถือคริสตศาสนา  มีทั้งหมด ๑๐ ด้าน  ด้านที่ได้คะแนนสูงที่สุด  ได้แก่  ด้านความกตัญญูกตเวที ด้านที่ได้คะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด  คือ  ด้านความสนใจใฝ่รู้  ครูจะต้องดูแลเอาใจใส่ให้นักเรียนเป็นผู้สนใจติดตามข่าวสารบ้านเมือง  เหตุการณ์ความเป็นไปต่างๆ ภายในประเทศ  และสังคมรอบข้างมากขึ้น  ซึ่งครูจะต้องเป็นผู้ช่วยดูแลนักเรียนได้มาก  เพราะผู้ปกครองมีอาชีพต่างๆ อาจจะมีเวลาให้ความรู้แก่บุตรได้ไม่เพียงพอ  อาชีพที่ผู้ปกครองมีมากที่สุด  คือ  เป็นเจ้าของกิจการต่างๆ ส่วนมากมีธุรกิจเป็นของตนเอง  อาชีพที่มีน้อยที่สุด  คือ  อาชีพเกษตรกร  ดังนั้นครูจึงต้องทำหน้าที่อบรมสั่งสอนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น  และผู้ที่จะเป็นแบบอย่างให้นักเรียนในด้านศีลธรรมคุณธรรมก็ได้แก่  บิดา มารดา  ซึ่งมีคะแนนสูงสุด  เพื่อนมีอิทธิพลและบทบาทน้อยที่สุด  การจัดกิจกรรมต่างๆ ให้นักเรียนที่นับถือพระพุทธศาสนาและนับถือคริสตศาสนาได้ทำร่วมกัน  ทำให้ทุกคนเกิดความรักความสามัคคี  มีความเสียสละ รู้จักช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  และสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕