หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสถิตย์ โพธิญาโณ (โพธิ์หล้า)
 
เข้าชม : ๒๐๐๔๑ ครั้ง
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระสถิตย์ โพธิญาโณ (โพธิ์หล้า) ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตติปญฺโญ,ดร.
  ผศ.ดร.ธัชชนันท์ อิศรเดช
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ตามตัวชี้วัดและเกณฑ์สำหรับการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ๒) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคข้อเสนอแนะ        แนวทางแก้ไขการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Research Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือบุคลากรที่มีอายุ ๒๐ ปีขึ้นไปเป็นบุคลากรในการศึกษา โดยเลือกบุคลากรจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ๒๕๓ คน จากจำนวนประชากร ๖๘๖ คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยการใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยเพื่อบรรยายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าที (t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
๑) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่บุคลากรมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = ๓.๖๐) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านการจัดหาทรัพยากรมนุษย์ (  = ๓.๘๐) ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (  = ๓.๕๗) และด้านการให้รางวัลทรัพยากรมนุษย์กับด้านการธำรงรักษาและป้องกันทรัพยากรมนุษย์ (  = ๓.๕๑) 
๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์    การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา          รายได้ต่อเดือน ตำแหน่ง ประสบการณ์ทำงาน และสถานภาพ พบว่า ตำแหน่ง ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ส่วนบุคลากรที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ประสบการณ์ทำงาน และสถานภาพ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ไม่แตกต่างกัน
๓) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่พบว่า ด้านการจัดหาทรัพยากรมนุษย์ การสอบคัดเลือก       บุคลากร ไม่ตรงกับตำแหน่งไม่ค่อยได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ส่วนราชการในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ไม่มีส่วนร่วมในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ ด้านการให้รางวัลทรัพยากรมนุษย์ ไม่มีความเป็นธรรมเสมอภาคตั้งแต่ พนักงาน ลูกจ้าง รวมถึงข้าราชการทุกระดับ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เวลาในการอบรมน้อยเพราะภาระงานขององค์การที่มีจำนวนมากจึงไม่มีเวลาในการจัดอบรมเป็นระยะเวลายาวนาน ไม่มีการสำรวจความต้องการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากร ด้านการธำรงรักษาและป้องกันทรัพยากรมนุษย์ สถานที่ทำงานไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงานสถานที่คับแคบ ไม่มีความปลอดภัยในการทำงาน ส่วนด้านข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไของค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ การสรรหาหรือคัดเลือกบุคลากรควรสรรหาให้ตรงตามตำแหน่งและคุณวุฒิที่เหมาะสมกับภารงานนั้น การให้ทรัพยากรมนุษย์ควรใช้ระบบคุณธรรมและความเสมอภาคในการให้รางวัลทรัพยากรมนุษย์ ฝ่ายบริหารควรมีคุณธรรมหรือธรรมาภิบาลในการให้รางวัลเพื่อจะเป็นขวัญกำลังใจในการทำงานของบุคลากร ควรจัดสรรแบ่งเวลาให้เหมาะสมในการจัดอบรมหรือในช่วงที่บุคลากรว่างจากภาระงานนั้นๆ ควรให้บุคลากร ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้เสนอความต้องการในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านต่างๆ ควรสร้างอาคารสำนักงานใหม่ให้เหมาะสมและเพียงพอต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร ผู้บริหารระดับผู้บังคับบัญชาควรเอาใจใส่ดูแลรักษาและจูงใจ มีคุณธรรม จริยธรรมอย่างตรงไปตรงมา เพื่อพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ต่อไป

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕