หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายสาคร สังฆะณา
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๔ ครั้ง
ศึกษาการพยากรณ์กับกับการให้คำปรึกษาเชิงพุทธเพื่อบำบัด ความเครียดของผู้มารับบริการจากสมาคมโหรภาคเหนือ (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พระพุทธศาสนา))
ชื่อผู้วิจัย : นายสาคร สังฆะณา ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๖/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูพิพิธสุตาทร, ดร. ป.ธ.๓, พธ.บ., M.A., M.Phil., Ph.D (Buddhist Studies)
  ดร.ไพฑูรย์ รื่นสัตย์ ป.ธ.๗, ศน.ม., M.Phil., Ph.D. (Buddhist Studies)
  ดร.ไพฑูรย์ รื่นสัตย์ ป.ธ.๗, ศน.ม., M.Phil., Ph.D. (Buddhist Studies)
วันสำเร็จการศึกษา : 2557
 
บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง  ศึกษาการพยากรณ์กับการให้คำปรึกษาเชิงพุทธเพื่อบำบัดความเครียดของผู้มารับบริการจากสมาคมโหรภาคเหนือ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฏีการพยากรณ์ (๒) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฏีการให้คำปรึกษาเชิงพุทธเพื่อบำบัดความเครียด (๓) เพื่อบูรณาการผลการพยากรณ์กับการให้คำปรึกษาเชิงพุทธเพื่อบำบัดความเครียดของผู้มารับบริการจากสมาคมโหรภาคเหนือ

จากการวิจัยพบว่า การพยากรณ์เป็นการนำเอาหลักการและทฤษฏี มาประยุกต์ใช้ในการพยากรณ์โดยผู้ที่ทำหน้าที่ในการพยากรณ์นั้นจะเป็นโหราจารย์ หรือบุคคล ผู้ที่มีความสนใจในศาสตร์การพยากรณ์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการเลี้ยงชีพ โดยมีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้เป็นเครื่องมือในการพยากรณ์กันอย่างแพร่หลาย การพยากรณ์ มีความเป็นมาก่อนพระพุทธศาสนา ผสมผสานความเชื่อดั้งเดิมกับดาราศาสตร์ เทววิทยา มีอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่ว่าด้วยการทำนาย คาดการณ์ ที่บอกให้รู้ถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นทั้งเรื่องของเหตุการณ์ธรรมชาติ สังคม และวิถีชีวิตของบุคคล การพยากรณ์ในพระพุทธศาสนานั้นไม่ได้ให้ความสำคัญเพียงแต่ให้ศึกษาไว้เพื่อให้ทราบถึงวันข้างขึ้นข้างแรมทางจันทรคติเพื่อประโยชน์ในการนับวันลงอุโบสถสวดปาติโมกข์ ถึงแม้การพยากรณ์มีปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาหลายสถานที่ เวลา และบุคคล เช่น การพยากรณ์ลำดับพุทธวงศ์ พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์พระสุบินของพระองค์เอง พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์พระสุบินของ

พระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นต้น ซึ่งจากเหตุการณ์เหล่านี้ เป็นเหตุให้การพยากรณ์มีอิทธิพลต่อความเชื่อของพุทธบริษัทในทุกด้านของการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ด้านสุขภาพ ด้านครอบครัว ด้านการศึกษา ด้านการเงิน และด้านการงาน มาจนถึงปัจจุบัน    

การให้คำปรึกษาเชิงพุทธเพื่อบำบัดความเครียดนั้น เป็นการบูรณาการกันระหว่างการการพยากรณ์ การให้คำปรึกษาและความเครียด โดยนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเข้ามาใช้ในการให้คำปรึกษาเพื่อบำบัดความเครียดด้วย เช่น ทาน ศีล ภาวนา ไตรลักษณ์ จริต ๖ สังคหวัตถุ ๔ อิทธิบาท ๔ ทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์ และมิจฉาวณิชชา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของบุคคลผู้มีปัญหาความเครียดที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา เช่น พระนางกีสาโคตมีเถรี พระนางเขมาเถรี พระนางปฏาจาราเถรี และพระองคุลิมาล เป็นต้น ซึ่งได้รับการให้คำปรึกษาจากพระพุทธเจ้า และได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในเวลาต่อมา   

การพยากรณ์กับการให้คำปรึกษาเชิงพุทธเพื่อบำบัดความเครียดนั้น เป็นการบูรณการเพื่อวัตถุประสงค์อันยิ่งใหญ่และชัดเจนคือต้องการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้กับผู้ที่ประสบปัญหากับความทุกข์ ความเครียด จากการดำเนินชีวิตประจำวันในด้านต่าง ๆ ให้ได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด ตามหลักการ กระบวนการ และวิธีการที่ชัดเจนที่สุด เพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ ความเครียดให้ประสพความสำเร็จอย่างยั่งยืนและตลอดไป 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕