หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสาวศันสนีย์ ชุมพลบัญชร
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๙ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์หลักปฏิบัติต่อทรัพย์ในอาทิยสูตร
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวศันสนีย์ ชุมพลบัญชร ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๑๐/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.โสวิทย์ บำรุงภักดิ์ ป.ธ.๗, พธ.บ. (ปรัชญา), M.A. (Bud),พธ.ด. (พระพุทธศาสนา)
  .
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

สารนิพนธ์เรื่องการศึกษาวิเคราะห์หลักปฏิบัติต่อทรัพย์ในอาทิยสูตรนี้  มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ  เพื่อศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาทิยสูตร  และ  เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักปฏิบัติต่อทรัพย์ในอาทิยสูตร  เป็นการวิจัยโดยการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  โดยใช้วิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการวิจัย  พบว่า  อาทิยสูตรเป็นพระสูตรที่ว่าด้วยประโยชน์ที่ควรถือเอาจาก                 โภคทรัพย์  ปรากฏอยู่ในพระสุตตันตปิฎก  อังคุตตรนิกาย  ปัญจกนิบาต  เล่มที่  ๒๒  โดย                  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมนี้แก่อนาถบิณฑิกเศรษฐี  ณ พระเชตวันมหาวิหาร  กรุงสาวัตถี  ซึ่งเหตุเกิดแห่งพระสูตรนี้จัดเป็น ปรัชฌาสยะ คือ สอดคล้องกับอัธยาศัยของผู้ฟัง เนื้อหาในพระสูตรมีความตรงประเด็นกับเรื่องการปฏิบัติต่อทรัพย์  รูปแบบของพระสูตรจัดเป็นแบบสากัจฉา  คือ  สนทนาธรรมแบบไม่มีพิธีการ  และอยู่ในรูปของร้อยแก้ว  (คัชชะ)  ส่วนประเด็นสำคัญใน                  อาทิยสูตร ได้แก่  การแสวงหาทรัพย์  การใช้จ่ายทรัพย์  และคุณค่าที่ได้รับ 

ส่วนการปฏิบัติต่อทรัพย์  อาทิยสูตรได้เสนอหลักปฏิบัติต่อทรัพย์ว่า  โภคทรัพย์มีความสำคัญต่อชีวิตให้อยู่ได้ด้วยดีมีความสุข  สะดวกสบาย  เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต  และเป็นฐานเข้าถึงจุดหมายชีวิตที่ดีงามยิ่งขึ้น  แม้ว่าโภคทรัพย์จะมีคุณค่าแต่ก็มีโทษด้วยหากปฏิบัติต่อทรัพย์ผิดวิธี  บุคคลจึงควรมีหลักปฏิบัติต่อทรัพย์ให้ถูกต้อง  กล่าวคือ  แสวงหาทรัพย์ด้วยความขยันหมั่นเพียรและโดยทางสุจริตชอบธรรม  หรือ  การประกอบสัมมาอาชีวะที่ดำเนินตามหลัก            กุศลกรรมบถ ๑๐  ครั้นได้ทรัพย์แล้วก็ใช้จ่ายทรัพย์เพื่อบำรุงตนเองและบุคคลต่าง ๆ ให้เป็นสุข  ซึ่งมีความสอดคล้องกับการบำรุงบุคคลในหลักทิศ ๖  ส่วนคุณค่าที่ได้รับ  คือ  ความสุข ๔ ประการของคฤหัสถ์  และการบรรลุประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและในเบื้องหน้า  ครั้นละโลกแล้วย่อมได้บังเกิดในสุคติโลกสวรรค์  ทั้งนี้ได้ยกกรณีตัวอย่างบุคคลทั้งในสมัยพุทธกาล (อนาถบิณฑิกเศรษฐี) และในสมัยปัจจุบัน (ดร.บุญยง ว่องวานิช)  เพื่อแสดงการปฏิบัติต่อทรัพย์อย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕