เข้าชม : ๒๐๐๒๔ ครั้ง |
ผลของกิจกรรมเชิงพุทธที่เน้นธรรมะเรื่องหลักกรรมและชีวิตหลังความตายต่อความเศร้าโศก ของผู้เคยสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก |
|
ชื่อผู้วิจัย : |
พระปณต คุณวฑฺโฒ (อิสรสกุล) |
ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๙/๒๐๑๓ |
ปริญญา : |
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา) |
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : |
|
พระสุธีธรรมานุวัตร (เทียบ สิริญาโณ) ป.ธ.๙, M.A., Ph.D. |
|
ผศ. ร.ท. ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ป.ธ.๙, พธ.บ., อ.ม., Ph.D. |
|
ผศ. สาระ มุขดี, ศศ.ม. (จิตวิทยาการปรึกษา) |
วันสำเร็จการศึกษา : |
๒๕๕๔ |
|
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์ ๒ ประการคือ (๑) ศึกษาคำสอนพุทธศาสนาเถรวาท เกี่ยวกับหลักกรรม และชีวิตหลังความตาย แล้วนำมาประยุกต์ร่วมกับการให้การปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยาแบบกลุ่มเพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมเชิงพุทธที่เน้นธรรมะเรื่องหลักกรรมและชีวิตหลังความตาย (๒) ศึกษาผลของกิจกรรมดังกล่าวต่อความเศร้าโศกของผู้เคยสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก โดยใช้การวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๑๙ คน มีอายุตั้งแต่ ๒๔ ถึง ๗๗ ปี ผ่านการทำแบบวัดความเศร้าโศก ๕ ด้าน คือ อารมณ์ การรู้คิด กายภาพ สังคม และจิตวิญญาณ รวมทั้งสิ้น ๓๓ ข้อ ซึ่งผู้วิจัยพัฒนามาจากแบบวัดความเศร้าโศกแบบองค์รวมของเดวิด ไฟร์แมน จากนั้นกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมกิจกรรมเชิงพุทธซึ่งมีการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา และนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับหลักกรรม และชีวิตหลังความตาย เป็นระยะเวลา ๔ วัน ๓ คืน รวมระยะเวลาดำเนินกิจกรรม ๓๕ ชั่วโมง หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมแล้ว กลุ่มตัวอย่างทำแบบวัดความเศร้าโศก อีก ๒ ครั้ง คือ เมื่อสิ้นสุดกิจกรรม และในระยะติดตามผล ๒ สัปดาห์ จากนั้นวิเคราะห์คะแนนความเศร้าโศกทางสถิติด้วยการทดสอบระดับความมีนัยสำคัญโดยใช้การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากร ๒ กลุ่ม ที่มีความสัมพันธ์กัน
ผลการวิจัยพบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีคะแนนความเศร้าโศกหลักการเข้าร่วมกิจกรรม และในระยะติดตามผล ๒ สัปดาห์ ต่ำกว่าคะแนนก่อนเข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ ๔๘.๖ และ ๕๔.๓ ตามลำดับ ด้วยความเชื่อมั่นทางสถิติมากกว่าร้อยละ ๙๙.๙ (P<๐.๐๐๑) โดยเฉพาะด้านอารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ แสดงให้เห็นว่าการปรึกษาทางพุทธจิตวิทยาสามารถนำมาประยุกต์ร่วมกับการปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนาเพื่อช่วยเยียวยาความเศร้าโศกเนื่องจากการสูญเสียบุคคลผู้เป็นที่รักได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดาวน์โหลด |
|
|