หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอนุศาสตร์ อาภากโร (สิทธิสกุลชัย)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๐ ครั้ง
การมีส่วนร่วมของพระสอนศีลธรรมในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในอ าเภอหนองแค จังหวัดสระบุร
ชื่อผู้วิจัย : พระอนุศาสตร์ อาภากโร (สิทธิสกุลชัย) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม, พธ.บ, M.A., Ph.D. (Pol. Sc.)
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ พธ.บ ป.ขส.ศศ.ม รป.ม(การจัดการ)
  ผศ.ดร.เติมศักดิ์ ทองอินทร์ ปก.ศ.สูง., พธ.บ., M.A., Ph.D.(Pol.Sc)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้  มีวัตถุประสงค์ คือ ๑)  เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของพระสอนศีลธรรมใน
การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา  ในอ าเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี   ๒)  เพื่ อ
เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของพระสอนศีลธรรมในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา 
ในอ าเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี  ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วม
ของพระสอนศีลธรรมในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา  ในอ าเภอหนองแค จังหวัด
สระบุรี  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูและนักเรียน ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในอ าเภอ
หนองแค จังหวัดสระบุรี จ านวน ๒๙๗ คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ ใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้องมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่ นทั้งฉบับ เท่ากับ  . ๙๕๐ วิเคราะห์
ผลการวิจัย โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์สถิติส าเร็จรูป เพื่อการวิจัยทางสั งคมศาสตร์ สถิติที่
ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่และค่าร้อยละ  ( Percentage)  ค่าเฉลี่ย
(Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติเชิงอนุมาน คือ สถิติทอดสอบค่า
ที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว  ( One-Way Analysis of Variance) และท าการ
ทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการผลต่างนัยส าคัญน้อยที่ สุด  ( Least Significant Difference :
LSD)
(ข)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ผู้ตอบแบบสอบกลุ่มครู พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง   คิดเป็นร้อยละ ๗๖   มีอายุ
ระหว่าง ๕๑ – ๖๐ ปี  คิดเป็นร้อยละ ๓๒ ในส่วนสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่
เป็นครู / อาจารย์ คิดเป็นร้อยละ ๙๖  การศึกษาส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป คิดเป็น
ร้อยละ ๙๒ ในส่วนประสบการณ์การสอนของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ ต่ า
กว่า ๕  ปี คิดเป็นร้อยละ ๓๖  ส่วนรายได้ต่อเดือนของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า  ส่วนใหญ่มีรายได้
ตั้งแต่  ๑๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป  คิดเป็นร้อยละ ๘๐
กลุ่มนักเรียน สรุปผลได้ว่า  เพศของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง  
คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๘   มีอายุของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่มีอายุ ๑๓   ปี  คิดเป็ นร้อยละ
๕๘ . ๓    ในส่ วนก าลังศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่ า  ส่ วนใหญ่ ก าลังศึกษาในระดับ ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ ๑  คิดเป็นร้อยละ  ๕๔. ๓  ในส่วนผลการเรียนของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วน
ใหญ่มีผลการเรียน เกรดเฉลี่ย ๓.๕๑ – ๔.๐๐     คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๒
๒. ความคิดเห็นของครูและนั กเรียนที่ มีต่อการมีส่วนร่วม ของพระสอนศีลธรรมในการ
จัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา  ในอ าเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี  โดยภาพรวมอยู่ใน
ระดับมาก มีค่าเฉลี่ย  ๓.๘๙  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การมีส่วนร่วมของพระสอนศีลธรรมใน
การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมัธยมศึ กษาอยู่ในระดับมากทุกด้านตามล าดับคือ  ด้านการ
เตรียมการสอน   ด้านการด าเนินการสอน   ด้านการใช้สื่ อ/อุปกรณ์ในการสอน ด้านการวัดผลและ
ประเมินผล และด้านการสร้างบรรยากาศในห้องเรียน
๓. การเปรียบเทียบคุณภาพความคิดเห็นของครูและนักเรียนที่ มีต่อการมีส่วนร่วม ของ
พระสอนศีลธรร มในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา  ในอ าเภอหนองแค จังหวัด
สระบุรี  ส าหรับครู จ าแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การท างาน และรายได้ต่อ
เดือนแตกต่างกัน ส าหรับนักเรียน จ าแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา และผลการเรียนแตกต่างกัน
๔. ปัญหา อุปสรรคเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของพระสอนศีลธรรมในการจัดการเรียนการ
สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา  ในอ าเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี   มีอยู่   ๕  ด้าน คือ  ๑)  ด้านการ
เตรียมการสอน   ๒) ด้านการด าเนินการสอน  ๓) ด้านการใช้สื่อ/อุปกรณ์ในการสอน  ๔) ด้านการ
สร้างบรรยากาศในห้องเรียน  ๕) ด้านการวัดผลและประ เมินผล  ดังนี้ ๑. พระสอนศีลธรรมเตรียม
เนื้อหาเข้าใจยาก ไม่สอดคล้องกับเนื้ อหาของรายวิชาที่ นักเรียนเรียน  หรือไม่ตรงตามแนวการส อนที่
ทางโรงเรียนมอบให้  ๒. พระสอนศีลธรรมไม่มีระบบในการจัดเตรียมการสอน หรือไม่มีการเตรียมตัว
ในการสอนแต่ ละครั้ง   ๓.  เนื้อหาสาระรายวิชาพร ะพุทธศาสนานั้น เป็นเรื่องที่ มีความเข้าใจยา ก
ส าหรับนักเรียน ๔. พระสอนศีลธรรมติดภารกิจทางวัดไม่สามารถท าการสอนได้โดยตลอด   ๕. พระ
สอนศีลธรรม มีเวลาน้อย มาสอนสัปดาห์ละครั้ง   ๖. พระสอนศีลธรรมไม่มีสื่อการเรียนการสอนที่
ทันสมัยเพื่อสร้างความสนใจให้นักเรียน  ๗. ทางโรงเรียนไม่มีห้องที่จะใช้สื่อ/อุปกรณ์ในการเรียนการ
สอนส าหรับพร้อมใช้งานได้ทุกครั้งที่ครูพระพร้อมจะใช้สื่อ/อุปกรณ์การเรียน  ๘. สื่อ/อุปกรณ์ที่ พระ
สอนศีลธรรม จัดท าขึ้น นักเรียนไม่ มีส่ วนร่ วมในการจัดท า  ท าให้นักเรียนไม่ มีความสนใจ ห รือ
(ค)
กระตือรือร้นที่ จะเรียน ๙. พระสอนศี ลธรรมไม่ค่อยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น ไม่
ค่อยมีส่วนร่วมในเรื่องต่างๆ พระสอนศีลธรรมได้แต่บรรยาย จนหมดชั่วโมง ท าให้นักเรียนไม่มีความ
ตั้งใจเรียน เกิดอาการเบื่อ  ๑๐ ในวิชาที่พระสอนศีลธรรมสอนกับการวัดผลและประเมินผลไม่ตรงกัน 
จึงท าให้นักเรียนสอบไม่ได้    ๑๑.  พระสอนศีลธรรมไม่แจ้งล่วงหน้าให้นักเรียนได้ทราบว่าจะมีการวั ดผล
และประเมินผล  จึงทาให้นักเรียนสอบตกเป็นจ านวนมาก

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕