หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสมคิด นาถสีโล (ใจเย็น)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๓ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องมนต์คาถาในพุทธปรัชญาเถรวาทของสังคมไทย
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสมคิด นาถสีโล (ใจเย็น) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระหัสดี กิตฺตินนฺโท, ดร.
  ผศ.ดร. สุรพงษ์ คงสัตย์,
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                     การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องมนต์คาถาในพุทธปรัชญาเถรวาทของสังคมไทยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ () เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องมนต์คาถาที่ปรากฏในคัมภีร์พุทธปรัชญา           เถรวาท () เพื่อศึกษาความเชื่อเรื่องมนต์คาถาในพุทธปรัชญาเถรวาทของสังคมไทย () เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อเรื่องมนต์คาถาในพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย ผลการวิจัยพบว่า

                       แนวคิดเรื่องมนต์คาถาที่ปรากฏในคัมภีร์พุทธปรัชญาเถรวาท นั้นเป็นสิ่งที่บุคคลส่วนใหญ่ให้ความสนใจว่ามนต์คาถาที่ปรากฏในพุทธปรัชญาเถรวาทจะส่งผลในด้านใดบ้าง กล่าวคือด้านความหมายมีปรากฏในพระไตรปิฏกและนักวิชาการให้ความหมายไว้ว่าคาถามีไว้ เพื่อสวดมนต์สรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า และเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในการดำเนินชีวิต มูลเหตุที่มาของลัทธิความเชื่อคาถา  กล่าวคือ เกิดจากความกลัวภัยพิบัติสวดเพื่ออ้อนวอนผีสางเทวดา  การไหว้สวดอ้อนวอนเพื่อความอบอุ่นใจและเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตน ด้วยการบูชานับถือตามความเชื่อความรู้ของตน กล่าวคือ แม้ว่าจะมีความเชื่อบางประการที่แตกต่าง แต่หลักการสำคัญที่เป็นหลักคำสอนก็ยังคงยึดตามหลักของพระพุทธศาสนา  ประเภทของคาถา คือ ประเภทที่บัญญัติไว้ในพระไตรปิฏก คัมภีร์อรรถกถา ฏีกา เป็นต้น และคาถาที่มาจากการแต่งขึ้นสำหรับผู้ประพันธ์ขึ้น แต่งโดยอิงจากบทพุทธจวนะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคาถาบางบทนั้นไม่ได้เน้นให้ความสำคัญกับหลักไวยกรณ์บาลี แต่กลับแต่งขึ้นเพื่อเป็นจุดมุ่งหมายของจิตใจ ความเชื่อของคาถาตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท คือ เชื่อว่าสวดคาถาจะช่วยอำนวยผลแก่ตนและครอบครัวให้อยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากอันตรายทั้งปวง และเชื่อในโชคลาภ การเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลและเชื่อในคุณของพระพุทธเจ้า และวิธีการใช้คาถาส่วนใหญ่นิยมใช้ในการประกอบพิธีกรรมและในเวลาที่มี ความจำเป็นบ้าง  ภาษาที่ใช้ของคาถาและคำฉันท์ ในพระพุทธศาสนาจะใช้ภาษาบาลี ส่วนใหญ่เป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง จึงนิยมการสวดสรภัญญะทำให้เสียงไพเราะ น่าฟัง ชวนติดตามยิ่งขึ้น  จุดมุ่งหมายของการแสดงคาถา  กล่าวคือ เพื่อรักษาพระศาสนา การท่องจำพระสูตร พระสาวกทั้งหลายปฏิบัติต่อๆ กันมา ซึ่งวิธีสวดเหล่านี้จะส่งผลให้ผู้ปฎิบัติเกิดสมาธิ ปัญญาในที่สุด

                        แนวคิดเรื่องมนต์คาถาในพุทธปรัชญาเถรวาท เนื่องด้วยสังคมไทยเป็นสังคมที่นับถือพราหมณ์มาก่อนและได้คาถามาจากลัทธิต่างๆ เมื่อพระพุทธศาสนารุ่งเรืองก็หันมานับถือพุทธ ต้องเข้าใจว่าคาถาย่อมส่งผลให้คุณประโยชน์และโทษมหันต์หากเกิดความเข้าใจผิดคลาดเคลื่อน ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาทมีการปรับโทษสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติตามหลักศีลธรรม กล่าวคือ ผู้ที่เชื่อเรื่องคาถาอาคม จะต้องมีธรรมเนียมปฏิบัติตามหลักศีล ๕ เช่น ห้ามพูดคำหยาบคาย ห้ามด่าทำร้ายบุพการี ห้ามผิดประเวณี ห้ามลักทรัพย์ ห้ามรังแก ผู้ที่อ่อนแอกว่าหรือผู้ไม่มีทางสู้ ฯลฯ หากมีการละเมิดจากคำมั่นเดิมที่ได้ให้สัญญาไว้ก็เชื่อว่าทำให้วิทยาคมในคาถาอาคมนั้นเสื่อมถอยลงไปได้

                       วิเคราะห์แนวคิดความเชื่อเรื่องมนต์คาถาในพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย กล่าวคือ แนวคิดความเชื่อเรื่องคาถามีอิทธิพลมากในสังคมไทย สืบเนื่องจากสังคมไทยได้รับอิทธิพลมาจากหลายลัทธิ และความเชื่อต่างๆ เช่น ความเชื่อของมนุษย์เกิดจากอิทธิพล ๒ ปัจจัยใหญ่ คืออิทธิพลอำนาจใน(ตัวเอง) และความเชื่อจากอิทธิพลอำนาจภายนอก ส่วนใหญ่จะอยู่ในลักษณะความเชื่อหวังพึ่งอำนาจเหนือธรรมชาติ การดลบันดาลจากอำนาจภายนอก เกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ สิ่งเร้นลับเหนือธรรมชาติ ซึ่งปัจจัยที่ ๒ จะมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของมนุษย์มากที่สุด  ทำให้เกิดการเรียนรู้คาถาเพื่อป้องกันตัว และใช้คาถาไม่เหมาะสมและถูกต้อง จึงส่งผลกระทบโดยตรงทางด้านจิตใจ และความเชื่อเหล่านี้จึงมีการนำคาถาต่างๆ มาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพราะเชื่อว่าคาถามีอิทธิพล ศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง แต่ในปัจจุบันแตกต่างในอดีตมากเพราะมักจะนำคาถามาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นในทางผิดๆ เช่น การสวดมนต์อ้อนวอนให้โชคลาภ มากกว่าการทำงานที่ยึดอาชีพสุจริตจึงทำให้อิทธิพลความเสื่อมของคาถาแบบดั้งเดิมลดลงไป  แต่บุคคลใดที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ อิทธิพลของคาถาก็จะส่งผลให้เกิดความหลุดพ้นตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาทได้ เช่น การดำเนินชีวิตด้วยความไม่หวาดกลัว เกิดความสุขทั้งทางกายและใจ และสามารถที่จะถ่ายทอดและเผยแผ่ให้ชนรุ่นหลังได้ปฏิบัติตามนำเอาคาถาที่ถูกต้องในหลักพุทธปรัชญาเถรวาทมาใช้ได้และเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕