หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาอาคม อานนฺโท (คมขำ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๖ ครั้ง
หลักพุทธธรรมของผู้บริหารในการบริหารงานโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาอาคม อานนฺโท (คมขำ) ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชวชิรเมธี ดร. ป.ธ.๙., ร.บ., พธ.บ., อ.ม., กศ.ด. (การบริหารการศึกษา)
  ผศ.ดร. วรกฤต เถื่อนช้าง ป.ธ.๙, ศษ.บ., ศศ.ม., ปร.ด. (การบริหารอุดมศึกษา)
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยเรื่อง หลักพุทธธรรมของผู้บริหารในการบริหารงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมและประวัติความเป็นมาของการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมของผู้บริหารในการบริหารงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ๓) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมของผู้บริหารในการบริหารงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา

ในการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพภาคสนาม ผู้วิจัยได้ศึกษาจากเอกสารต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงหลักพุทธธรรมที่มีความสอดคล้องกับการบริหารงานด้านงานวิชาการ ด้านงานบุคคล      ด้านงานงบประมาณ และด้านงานทั่วไป และผู้วิจัยได้วิจัยภาคสนามโดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้จัดการ และผู้อำนวยการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จำนวน ๒๔ รูป/คน เพื่อให้ทราบถึงแนวทางในการนำหลักพุทธธรรมไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานด้านต่างๆ ดังกล่าว

ผลการวิจัย พบว่า หลักพุทธธรรมที่มีความสอดคล้องกับการบริหารงานด้านงานวิชาการ ด้านงานบุคคล ด้านงานงบประมาณ และด้านงานทั่วไป  ๓๓ หลักธรรม ดังนี้

              ด้านงานวิชาการ มีหลักพุทธธรรมที่มีความสอดคล้องด้วยกัน ๑๐ หลักธรรม ได้แก่       กัลยาณมิตตตา โยนิโสมนสิการ อัปปมาทะ ธรรมมีอุปการะ ๒ โกศล ๓ ปัญญา ๓ อิทธิบาท ๔ พละ ๕ มรรคมีองค์ ๘ ทศพิธราชธรรม

              ด้านงานบุคคล มีหลักพุทธธรรมที่มีความสอดคล้องด้วยกัน ๒๑ หลักธรรม ได้แก่       กัลยาณมิตตตา โยนิโสมนสิการ ธรรมมีอุปการะ ๒ กุศลมูล ๓ กุศลวิตก ๓ อธิปไตย ๓ ปัญญา ๓ ฆราวาสธรรม ๔ พรหมวิหารธรรม ๔ พละ ๔ สังคหะวัตถุ ๔ เบญจธรรม เบญจศีล สาราณียธรรม ๖ กัลยาณมิตรธรรม ๗ สัปปุริสธรรม ๗ อปริหานิยธรรม ๗ มรรคมีองค์ ๘ สังฆคุณ ๙ นาถกรณธรรม ๑๐ ทศพิธราชธรรม

              ด้านงานงบประมาณ มีหลักพุทธธรรมที่มีความสอดคล้องด้วยกัน ๑๕ หลักธรรม ได้แก่ โยนิโสมนสิการ  อัปปมาทะ ธรรมคุ้มครองโลก ๒ ธรรมมีอุปการะ ๒ กุศลมูล ๓ ปัญญา ๓ สุจริต ๓ สันโดษ ๓ วิรัติ ๓ พละ ๔ เบญจธรรม เบญจศีล อริยทรัพย์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ทศพิธราชธรรม

              ด้านงานทั่วไป มีหลักพุทธธรรมที่มีความสอดคล้องด้วยกัน ๒๗ หลักธรรม ได้แก่    โยนิโสมนสิการ อัปปมาทะ ธรรมอันทำให้งาม ๒ ธรรมมีอุปการะ ๒ โกศล ๓ ปัญญา ๓ สุจริต ๓ สันโดษ ๓ ฆราวาสธรรม ๔ พรหมวิหารธรรม ๔ พละ ๔ สังคหะวัตถุ ๔ อิทธิบาท ๔ พละ ๕ เบญจธรรม เบญจศีล ทิศ ๖ กัลยาณมิตรธรรม ๗ สาราณียธรรม ๖ สัปปุริสธรรม ๗ อปริหานิยธรรม ๗ อริยทรัพย์ มรรคมีองค์ ๘ สังฆคุณ ๙ กาลามสูตรกังขานิยฐาน ๑๐ นาถกรณธรรม ๑๐ ทศพิธราชธรรม

แนวทางในการนำหลักพุทธธรรมไปใช้บริหารงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ของผู้บริหารนั้น ควรศึกษาหลักพุทธธรรมให้เกิดองค์ความรู้กับตัวเองก่อน แล้วนำหลักพุทธธรรมนั้นมาตีความและนำไปเปรียบเทียบกับการบริหารงานแต่ละด้านว่าควรใช้หลักการอย่างไร และที่สำคัญผู้บริหารต้องมีประสบการณ์ในการบริหารงาน มีความรู้ มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้วยการใช้หลักพุทธธรรมเป็นอย่างดี นอกจากการมีความรู้ความเข้าใจในหลักพุทธธรรมแล้วผู้บริหารต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักของการบริหารงานการศึกษาด้วย เพื่อการบริหารงานที่จะเป็นไปด้วยความสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕