หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสาวกนกพร เฑียรทอง
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๐ ครั้ง
ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะการจัดทำวิทยานิพนธ์ของหลักสูตรพุทธศาสนามหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา และสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวกนกพร เฑียรทอง ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสุทิตย์ อาภากโร,ดร. ป.ธ. ๗, ร.บ., พช.ม., พธ.ด. (พระพุทธศาสนา)
  พระมหาบุญเลิศ ธมฺมทสฺสี ป.ธ. ๘, พธ.บ., พธ,ม. (ธรรมนิเทศ)
  ผศ.ดร. สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย พธ.บ. (บริหารการศึกษา), M.Ed., Ph.D. (Educational Administration)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่อง “ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะการจัดทำวิทยานิพนธ์ของหลักสูตรพุทธศาสนามหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา และสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ ได้แก่ (๑) เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบ ลักษณะการจัดทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา และสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (๒) เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบ รูปแบบการจัดทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา และ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

จากการวิจัยพบว่า  การเขียนวิทยานิพนธ์ของสาขาวิชาพระพุทธศาสนานั้นมีขั้นตอนและกระบวนการการจัดทำลักษณะเดียวกับสาขาวิชาบริหารการศึกษา แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือลักษณะการวิจัยของสาขาวิชาพระพุทธศาสนาจะเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งเน้นการศึกษาถึงสถานการณ์ที่เป็นไปตามความเป็นจริง มีการออกแบบการวิจัยที่ยืดหยุ่น เน้นการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนสาขาวิชาการบริหารการศึกษาส่วนใหญ่จะเป็นวิทยานิพนธ์เชิงปริมาณที่มุ่งเน้นวิธีการค้นหาความรู้และความจริงโดยเน้นที่ข้อมูลเชิงตัวเลขให้มีการควบคุมตัวแปรที่ศึกษา

สำหรับเนื้อหาการวิจัยในสาขาวิชาพระพุทธศาสนา มีวิทยานิพนธ์ที่สำเร็จการศึกษาในช่วงปีพ.ศ. ๒๕๕๑ ๒๕๕๓ จำนวน ๑๓๒ แบ่งออกเป็น ๓ หมวด คือ (๑) พุทธธรรม จำนวน ๗๒ เล่ม คิดเป็นร้อยละ ๕๔.๕๕ ส่วนใหญ่จะเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ แม้บางเล่มจะมีการผสมระหว่างเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ แต่ก็ถือว่าเป็นส่วนน้อย (๒)  พุทธศิลป์ จำนวน ๕ เล่ม คิดเป็นร้อยละ ๓.๗๙ ซึ่งทั้งหมดเป็นวิทยานิพนธ์เชิงคุณภาพ เกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์สถาปัตยกรรม ประติมากรรม และศิลปกรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งมีวิถีชีวิต ค่านิยม จารีต ประเพณี และศิลปวัฒนธรรมไทยเข้ามาเกี่ยวข้อง (๓) ศาสตร์สมัยใหม่ จำนวน ๕๕ เล่ม คิดเป็นร้อยละ ๔๒.๖๗ ส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์เชิงคุณภาพ โดยจะมีศาสตร์อื่นๆ มาบูรณาการกับพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ เป็นต้น

ส่วนเนื้อหาการวิจัยในสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มีวิทยานิพนธ์ที่สำเร็จการศึกษาในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ๒๕๕๓ จำนวน ๕๔ เล่ม แบ่งออกเป็น ๓ หมวด คือ (๑) การบริหารสถานศึกษา จำนวน ๓๕ เล่ม คิดเป็นร้อยละ ๖๘.๕๒ ส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์เชิงปริมาณที่เป็นการตอบโจทย์ของการบริหารสถานศึกษา เช่น การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป เป็นต้น (๒) การบริหารกิจการคณะสงฆ์ จำนวน ๑๐ เล่ม คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๘๑ ส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์เชิงปริมาณที่มุ่งเน้นการบริหารจัดการของคณะสงฆ์ ให้เกิดความสะดวก ความเรียบร้อย และเป็นไปตามพุทธบัญญัติ (๓) การประยุกต์หลักธรรมเข้ากับการบริหาร จำนวน ๙ เล่ม  คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๖๗ ส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์เชิงปริมาณที่มุ่งเน้นการนำหลักพุทธธรรมมาบูรณาการกับหลักการบริหารการศึกษา

เมื่อเปรียบเทียบทั้ง ๒ สาขาวิชา ในเรื่องลักษณะซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนและกระบวนการจัดทำวิทยานิพนธ์ ลักษณะของการวิจัย เนื้อหาการวิจัย ขอบเขตของเนื้อหา และผลที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย พบว่า มีทั้งส่วนเหมือนกัน และแตกต่างกัน เช่น ผลที่เกิดจากการทำวิทยานิพนธ์ในเรื่องสัมฤทธิผลหรือประสิทธิภาพของการทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งของทั้ง ๒ สาขาวิชา คือมีความเหมือนกันในด้านการเตรียมตัวของผู้สอน การใช้เทคโนโลยีและความสามารถในการจัดกิจกรรมที่หลากหลายจนทำให้เกิดการเรียนรู้และความเข้าใจตามสภาพเป็นจริง มีผลต่อสัมฤทธิผล และประสิทธิ์ภาพที่สูงขึ้น ส่วนความแตกต่างในด้านการวัดและประเมินผล โดยการประเมินจากพฤติกรรมที่ร่วมกันปฏิบัติว่าได้พัฒนาถึงขั้นเกิดปัญญาในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องดีงาม และที่วัดผลออกมาเป็นเพียงความฉลาดทางอารมณ์โดยตีความหมายว่าผู้มีความฉลาดในอารมณ์ที่ดีย่อมหมายถึงลักษณะของผู้ที่มีความสุข ข้อแตกต่างอีกประการหนึ่ง คือการฝึกปฏิบัติจากกลุ่มตัวอย่างของวิทยานิพนธ์ทั้ง สองประเภทพบว่า วิธีการฝึกอบรมของโครงการค่ายพุทธบุตรจะเป็นการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ปัญญาย่อมเกิดทุกขณะ แต่การฝึกสมาธิที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ยังต้องกลับมาฝึกอบรมอีกดังนั้น จะเห็นได้ว่าการฝึกอบรมที่หลากหลายวิธีจะพัฒนาผู้เรียนได้ชัดเจนกว่ามีผลสัมฤทธิ์ที่คงทนกว่า เป็นต้น

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕