หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระฐิติรัฐ ฐิตเปโม ( รินสาร )
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๑ ครั้ง
ประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อผู้วิจัย : พระฐิติรัฐ ฐิตเปโม ( รินสาร ) ข้อมูลวันที่ : ๐๕/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม พธ.บ, M.A..,Ph.D.(Pol.Sc.)
  พระมหาบุญเลิศ อินทปญฺโ,ผศ.,พธ.บ.,ศศม.,รป.ม.(การบริหารความขัดแย้ง)
  ผศ.ดร.เติมศักดิ์ ทองอินทร์, พธ.บ.,M.A.,Ph.D.(Pol.Sc.)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “ประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการ ในอำเภอปากช่อง  จังหวัดนครราชสีมา” มีวัตถุประสงค์  (๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็น ของพระสังฆาธิการและพระสงฆ์ ต่อประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการ ในอำเภอปากช่อง  จังหวัดนครราชสีมา (๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสังฆาธิการและพระสงฆ์ต่อประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการ  ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และ (๓) เพื่อศึกษา ปัญหา อุปสรรคและ ข้อเสนอแนะ ต่อประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ ของพระสังฆาธิการ ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey  Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นพระสังฆาธิการและพระภิกษุสงฆ์ ในอำเภอปากช่อง จำนวน ๕ ตำบล ทั้งหมดจำนวน  ๒๒๒ รูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่และค่าร้อยละ  (Percentage)  ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard  Deviation)และสถิติเชิงอนุมานคือสถิติทดสอบค่าที  (t – test) และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way  Analysis  of  Variance : ANOVA ) โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์สถิติสำเร็จรูป

ผลการวิจัยพบว่า

๑) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการ ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา : กรณีศึกษาพระสังฆาธิการในเขตปกครองอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๕  ตำบล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านแล้ว พบว่า อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ (๑) ด้านสาธารณะสงเคราะห์, (๒) ด้านสาธารณูปการ, (๓) ด้านการปกครอง, (๔) ด้านการศาสนศึกษา,                  (๕) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ และ  (๖) ด้านการเผยแผ่ ตามลำดับ

๒) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ประสิทธิผล การบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการ : กรณีศึกษาพระสังฆาธิการในเขตปกครอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาจำนวน ๕ ตำบล เมื่อจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า พระภิกษุที่มี  อายุ พรรษา ตำแหน่ง วุฒิการศึกษาสามัญ  วุฒิการศึกษาทางธรรม และ วุฒิการศึกทางบาลี มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการ :กรณีศึกษาพระสังฆาธิการในเขตปกครอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๕  ตำบล โดยภาพรวมและรายด้านไม่ได้แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

๓) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการ :กรณีศึกษา พระสังฆาธิการในเขตปกครองอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๕ ตำบล พบว่า    

(๑) ด้านการปกครองควรส่งเสริมผู้มีความสามารถเหมาะสมเข้ามาบริหารปกครองด้วยหลักธรรมและดูแลพระภิกษุสงฆ์ให้ทั่วถึง มีบทลงโทษที่จริงจังและควรจัดให้มีการประชุมหมู่คณะกันบ่อย ๆ เพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไขในสิ่งที่มีดี           

(๒) ด้านการศาสนศึกษา ควรส่งเสริมให้พระสงฆ์ทุกรูปในวัดได้เรียนพระธรรมวินัยอย่างเป็นประจำ ปรับปรุงให้มีการคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาภาษาบาลี และให้พระภิกษุศึกษาหลักพระธรรมวินัยให้มากขึ้น  

          (๓) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ควรมีการจัดตั้งทุนให้พระภิกษุสามเณรศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นและควรจัดการศึกษาที่เน้นปลูกฝังเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ทางด้านจริยธรรมและให้เข้าใจพระพุทธศาสนา

(๔) ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ควรนำสื่อรูปแบบต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่และให้โอกาสพระภิกษุที่มีความรู้ความสามารถด้าน การเผยแผ่ได้ทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมแก่ประชาชนเป็นประจำ

(๕) ด้านการสาธารณูปการ ควรจัดตั้งกองทุนและมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลด้านนี้โดยเฉพาะควรทำงานให้รวดเร็วขึ้นและควรจัดการศาสนสมบัติอย่างมีระเบียบและ

(๖) ด้านการสาธารณสงเคราะห์ควรกำหนดแผนงานในด้านงานสาธารณะสงเคราะห์เป็นประจำให้สถานที่แก่การบำเพ็ญกุศลแก่ประชาชนทุกคนและควรสร้างสถานสงเคราะห์ให้กับคนยากไร้เช่นโรงทาน ถนน สถานพยาบาล หรือบ้านพักคนชราเป็นต้น.

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕