หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระบุญเยี่ยม ปญฺญธโน (ผลเจริญ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๑ ครั้ง
การศึกษาความโกรธในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระบุญเยี่ยม ปญฺญธโน (ผลเจริญ) ข้อมูลวันที่ : ๐๓/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหา จิตติภัทร อจลธมฺโม ปธ.๕, พก.ศ., พ.ม.,พธ.บ., พธ.ม., Ph.D.
  ผศ.ดร.สุรพงษ์ คงสัตย์ ปธ. ๔, พธ.บ., M.A., ปร.ด.
  ดร. พรเศรษฐี วุฒิปัญญาอิสกุล พธ.บ.,รป.ม,Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ                                                     

                      วิทยานิพนธ์นี้เป็นวิจัยเอกสารโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) ศึกษาความโกรธที่ปรากฏในพระพุทธศาสนาเถรวาท  (๒)หลักธรรมที่แก้ความโกรธในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ (๓) แนวทางการใช้หลักธรรมแก้ความโกรธในสังคม                      ผลการศึกษาพบว่า

      ความโกรธในพระไตรปิฎก และ นักวิชาการกล่าวถึง ความโกรธ (โทสะ) ว่า กิริยาที่โกรธ  ภาวะที่โกรธ ความอาฆาต  ความพยาบาท  คิดประทุษร้ายความโกรธย่อมก่อให้เกิดความพินาศภัยพิบัติต่อตนเอง และ ผู้อื่นด้วย ลักษณะของความโกรธ คือ ความโกรธร้ายแรงกว่าอัคคีภัย เพราะสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิต  และ ทรัพย์สินอันเนื่องมาจากไฟภายใน  คือ โทสะ  คนโกรธสามารถฆ่าบิดามารดาก็ได้ ฆ่าพระอรหันต์ก็ได้ ฆ่าตนเองก็ได้ ฆ่าใครต่อใครก็ได้ ดังที่พุทธเจ้าตรัสไว้ในอาฆาตวัตถุสูตร ๑๐ ประการที่ว่าเป็นสาเหตุให้เกิดความโกรธทำให้การล่วงละเมิดปาณาติบาตโดยเจตนา  หรือ ไม่เจตนาก็ดี เพราะถูกความโกรธครอบงำ  เป็นสาเหตุการฆ่า  และ ทำร้ายคนอื่น  หรือ  สัตว์อื่น เมื่อเพลิงความโกรธเกิดขึ้น แทนที่จะทำให้สว่าง กลับทำจิตใจให้มืดมิดยิ่งขึ้น คนโกรธย่อมไม่รู้จักประโยชน์ของตน  และ ของผู้อื่นชัดตามความเป็นจริง คนโกรธย่อมก่อกรรมที่ทำได้ยากเหมือนทำได้ง่าย ดังนั้น  พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญการฆ่าความโกรธ (การสละความโกรธทิ้งเสีย) เพราะบุคคลฆ่าความโกรธได้แล้ว  จึงไม่เศร้าโศก บุคคลเหล่านั้นจึงอยู่เป็นสุข

                      หลักธรรมที่ใช้แก้ความโกรธตามหลักของศาสนาไม่ว่าจะอยู่ในระดับเบื้องต้นคือ  การปฏิบัติตามหลักเบญจศีลในเบื้องต้นซึ่งเป็นหลักธรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาชีวิตของมนุษย์เพื่อดับความโกรธ  พยายามไม่ให้ความโกรธเกิดขึ้น  ถ้าปฏิบัติได้อย่างนี้  จิตผู้นั้นย่อมผ่องใสและ มีสมาธิที่ตั้งมั่นได้อย่างรวดเร็วจนทำให้เกิดปัญญาเพื่อละความโกรธออกจากจิตของตน  และรู้จักเสียสละ ปล่อยวางความโกรธทิ้งไป โดยมีสติสัมปชัญญะควบคลุมอยู่เสมอทุกเมื่อเพื่อรู้เท่าทันความโกรธที่จะเข้ามาจิตใจ หรือใช้หลักการเจริญเมตตาเพื่อปรารถนาให้ผู้อื่นโดยเฉพาะ ได้รับสุขทั้งกาย  และ ใจโดยการแผ่เมตตาให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาในโลกให้มีความสุข  โดยตั้งสัจจะให้แน่วแน่ก็จะทุเลาความโกรธให้จางให้ไปได้เช่นเดียวกัน  หรือให้มี  ทมะ คือการข่มจิตไม่ให้ความโกรธเกิดขึ้น หรือ  มีขันติในการอดทนต่อการสละความโกรธออกจากจิตของตน และ มีหิริโอตตัปปะ  คือ  ความรู้สึกละอายที่จะให้ความโกรธเกิดขึ้นเพื่อไม่ให้สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองและผู้อื่น

                      จากการศึกษาแนวทางการใช้หลักธรรมแก้ความโกรธในสังคม เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากความโกรธในสังคมที่เป็นข่าวแสดงให้เห็นอยู่ทุกวัน  ซึ่งอาจจะต้องนำเอาหลักธรรมมาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้กับสังคมให้พ้นจากภัยของความโกรธ   เช่น        สติปัฏฐาน  และ เมตตา เป็นต้น มาใช้ในการดำเนินชีวิตในสังคม  เมื่อสามารถปฏิบัติตามหลักธรรมที่กล่าวมาแล้วข้างต้นก็จะสามารถระงับหรือขจัดความโกรธในสังคมให้สงบระงับลงไปได้  สังคมก็จะอยู่โดยความสงบสุข

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕