หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายชาตรี เศรษฐวนิชย์
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๘ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์กิจกรรมเสริมการเรียนการสอนตามหลักอิทธิบานักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ ๓ แผนกวิชาช่างไฟฟ้า ท ๔ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักศึกษา : กรณีศึกษา วิทยาลัยเทคนิคแพร่
ชื่อผู้วิจัย : นายชาตรี เศรษฐวนิชย์ ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูโกวิทอรรถวาที, ดร. M.A. Ph.D.
  ดร.วิชาสินี ศุขะพันธุ์ ศศบ.,กศ.ม.,กศ.ด.
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ  (๑)  ศึกษาหลักธรรมคำสอนอิทธิบาท ๔                      ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท  (๒) ศึกษาวิเคราะห์กิจกรรมเสริมการเรียนการสอนมีความสอดคล้อง           กับหลักอิทธิบาท ๔ (๓) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ที่มีต่อพฤติกรรมของนักศึกษาจากการนำหลักอิทธิบาท ๔  มาใช้ในกิจกรรมเสริมการเรียนการสอนที่มีต่อการเรียนของนักศึกษาระดับ ปวช. ๓ สาขางานไฟฟ้า ปีการศึกษา ๒๕๕๔ วิทยาลัยเทคนิคแพร่

             การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative) ด้วยวิธีวิจัยเชิงเอกสาร (Documental Research) ร่วมกับ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรที่ใช้เป็นนักศึกษาจำนวนทั้งหมด ๙๐ คน  ที่เรียนในปีการศึกษา ๒๕๕๔  ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ ๓  แผนกวิชาช่างไฟฟ้า  วิทยาลัยเทคนิคแพร่ และครูผู้รับผิดชอบกิจกรรม จำนวน ๘ กิจกรรม   โดยการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นแบบสอบถาม และ  การสัมภาษณ์ครูผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                 ผลการวิจัยพบว่า   ๑) อิทธิบาท ๔  เป็นหลักธรรมที่มุ่งสู่ความสำเร็จ  ที่มีองค์ประกอบ     ๔ ด้าน คือ ด้านฉันทะ เป็นความพอใจในงานที่ทำนั้น   ด้านวิริยะ เป็นความเพียรความพยายาม          ที่ทำงานนั้นให้สำเร็จลงได้  ด้านจิตตะ ต้องมีใจทุ่มเทฝักใฝ่ในการทำงานนั้นจนงานสำเร็จ            ด้านวิมังสา เมื่องานที่ทำประสบปัญหา ต้องพิจารณาแก้ไขปัญหาด้วยสติปัญญาความรู้                ด้วยเหตุด้วยผลจนงานนั้นสำเร็จสมบูรณ์   ๒) ทุกกิจกรรมมีวัตถุประสงค์ที่มีความสอดคล้อง       กับหลักอิทธิบาท ๔  ทั้งด้านฉันทะ ด้านวิริยะ ด้านจิตตะและด้านวิมังสาทุกข้อ  ๓) ผลสัมฤทธิ์        ที่มีต่อพฤติกรรมของนักศึกษาจากการนำหลักอิทธิบาท ๔ มาใช้ในกิจกรรมเสริมการเรียนการสอน ทำให้นักศึกษาเกิดพฤติกรรมที่สอดคล้องกับหลักอิทธิบาท ๔ ด้วย โดยด้านฉันทะได้แก่ความพอใจรักและศรัทธาในอาชีพช่างไฟฟ้า นอกนั้นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกข้อ ด้านวิริยะได้แก่        มีความมุ่งมั่นฝึกฝนทักษะมีความขยันไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค นอกนั้นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกข้อ  ด้านจิตตะได้แก่มีจิตมุ่งมั่นผูกพันกับงาน ทุ่มเทแรงกายแรงใจในการทำงาน                   อย่างเต็มความสามารถ นอกนั้นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกข้อ ด้านวิมังสาได้แก่                     มีการใช้เหตุผลเพื่อพิจารณาในการตัดสินใจแก้ปัญหา   ผลการวิจัยนี้ที่มีต่อนักศึกษา โดยภาพรวมนักศึกษามีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับหลักอิทธิบาท ๔ อยู่ในระดับมากทุกด้าน มีค่าเฉลี่ย ๔.๒๕ 

ดาวน์โหลด 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕