หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาหนู สํวโร (ศรีสมร)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๓ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์คติธรรมที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดดุสิดาราม
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาหนู สํวโร (ศรีสมร) ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหากฤษณะ ตรุโณ, ผศ.ดร., ป.ธ.๓, พธ.บ., พธ.ม. (ปรัชญา), Ph.D. (Philosophy)
  ดร. แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม อภิธรรมบัณฑิต, บศ.๙, ศศ.บ.(ภาษาอังกฤษ), ศน.บ. (ภาษาไทย), พธ.ม., พธ.ด.
  ดร. ศศิวรรณ กำลังสินเสริม คศ.บ., พธ.ม., พธ.ด.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ                                   

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ  (๑) เพื่อศึกษาจิตรกรรมฝาผนังที่ปรากฏในพระอุโบสถวัดดุสิดาราม  (๒) เพื่อศึกษาคติธรรมที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ
วัดดุสิดาราม  (๓)เพื่อวิเคราะห์คติธรรมที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ
วัดดุสิดาราม   ซึ่งผู้วิจัยจะได้ศึกษาคติธรรมในจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดดุสิดาราม โดยศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ภาพจิตรกรรม คำจารึกในแผ่นศิลาที่ผนังพระอุโบสถและเอกสารด้านโบราณคดี กรมศิลปากร เป็นหลัก

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ในพระอุโบสถวัดดุสิดารามมีภาพที่งดงามและสามารถถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมของไทยได้อย่างสมบูรณ์แบบเป็นอย่างดี เฉพาะอย่างยิ่งในภาพจิตรกรรมนั้นกล่าวถึงความเป็นมาของภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดดุสิดาราม จิตรกรรมที่กล่าวถึงนี้เป็นจิตรกรรมแบบประเพณี มีลักษณะโครงสร้างการใช้สีเป็นแบบเฉพาะตัว  ภาพเขียนภายในพระอุโบสถเป็นฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่    เขียนภาพแบบทักษิณาวัตร  ที่ผนังเหนือประตูหน้าต่างมีภาพเขียนเรื่องสมุทรโฆษชาดกในกรอบไม้สลักปิดทอง ซึ่งสูญหายไปบางส่วน ภาพที่เขียนเป็นเรื่องพุทธประวัติ  สันนิษฐานว่าเริ่มจากสันดุสิตเทพบุตร  เพราะภาพผนังที่ ๑ และที่ ๒ ลบเลือนหายไป    ภาพผนังที่  ๒๒  เป็นภาพไตรภูมิตอนพระมาลัยโปรดสัตว์นรก ภาพเหล่านี้ล้วนสะท้อนเนื้อหาสาระ  ยกเอาความดี ความชั่ว  ความงามความเชื่อ ซึ่งเปรียบเทียบให้คนทั้งหลายที่ได้ชม  เกิดการยอมรับแล้วนำไปประพฤติปฏิบัติตามต่อไป

ผู้วิจัยได้จัดหลักธรรมที่ปรากฎในภาพจิตรกรรมฝาผนังนั้นออกเป็น ๑๐ หมวด คือ เทวธรรม ๒  มหากุศล ๘  กุศลกรรมบถ ๑๐ โพชฌงค์    อกุศลกรรมบถ  ๑๐  อบายมุข    บารมี  ๑๐  บุญกิริยาวัตถุ  ๑๐  สังคหวัตถุ    และธรรมของผู้ครองเรือน  ๔ หลักธรรมเหล่านี้เป็นได้ทั้งฝ่ายเจริญและฝ่ายเสื่อม  ฝ่ายเจริญ มี เทวธรรม โพชฌงค์ เป็นต้น ส่วนฝ่ายเสื่อม มีอบายมุข อกุศลกรรมบถ เป็นต้น  ฉะนั้น  บัณฑิตผู้มีปัญญา  หวังความสุข  ความเจริญ  พึงเว้นจากทางแห่งความเสื่อม  และปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕