หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระยุทธศิลป์ ยุทธฺสิปฺโป (อุปศรี)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๘ ครั้ง
การบริหารงานโดยการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม ๗ ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านค้อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม
ชื่อผู้วิจัย : พระยุทธศิลป์ ยุทธฺสิปฺโป (อุปศรี) ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อาจารย์ ดร.พิเชฐ ทั่งโต, พ.ม.ช., พธ.บ., MA., Ph.D.(Pub-Admin)
  พระสุวรรณวรมุนี (ทองสุข สุขธมฺโม) น.ธ.เอก, ป.ธ.๕.,พธ.บ.,M.A.,Ph.D.
  อาจารย์พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ, ประโยค ๑ - ๒,น.ธ.เอก, พธ.บ. (เกียรตินิยมอันดับ ๑), ศศ.ม. (พัฒนาสังคม)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาการบริหารงานโดยการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม ๗ ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านค้ออำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของประชาชน (๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชน
ต่อการบริหารงานโดยการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม ๗ ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านค้อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล (๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ต่อการบริหารงานโดยการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม ๗ ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านค้อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม ดำเนินการโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (
Survey Research)
กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านค้อ อำเภอโพนสรรค์ จังหวัดนครพนม จำนวน  ๓๖๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๘๖๗ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การทดสอบค่าที
(t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One way ANOVA)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานโดยการประยุกต์ใช้หลัก
สัปปุริสธรรม ๗ ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านค้อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม
โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ๓.๘๕ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ตามลำดับ ค่าเฉลี่ย คือ ด้านมัตตัญญู (ผู้รู้จักประมาณ) ด้านอัตตัญญู (ผู้รู้จักตน)
ด้านปุคคลัญญู (ผู้รู้จักบุคคล) ด้านกาลัญญู (ผู้รู้จักกาลเวลา) ด้านปริสัญญู (ผู้รู้จักชุมชน)ด้านธัมมัญญู (ผู้รู้จักเหตุ) และด้านอัตถัญญู (ผู้รู้จักผล)

๒. ผลเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชน ต่อการประยุกต์ใช้หลัก
สัปปุริสธรรม ๗ องค์การบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านค้อ อำเภอโพนสวรรค์
จังหวัดนครพนม โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ สถานภาพ และอาชีพ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานโดย การประยุกต์ใช้หลัก
สัปปุริสธรรม ๗ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านค้อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนที่มี ระดับการศึกษา และรายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน

 ๓. ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ต่อการบริหารงานโดยการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม ๗ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านค้อ พบว่า ปัญหาอุปสรรค ที่เกิดขึ้นในองค์การบริหารส่วนตำบล คือประชาชนมีความผูกพันกับองค์การน้อย ประชาชนไม่คอยมีส่วนร่วมกับการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ประชาชนไม่คอยได้รับสวัสดิการหรือแบ่งปันผลประโยชน์ต่างๆ แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงเสมอภาคเท่าเทียมกัน ประชาชนไม่มีบทบาทส่วนร่วมในการเข้าร่วมประชุมเพื่อเสนอปัญหา และ แสดงความคิดเห็น วิจารณ์
การทำงาน  และร้องทุกข์เรื่องราวต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขพัฒนาตนเอง ต่อองค์การบริหารส่วนตำบล

ข้อเสนอแนะในการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม ๗ ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านค้อ พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบล ควรทำงานรับใช้ประชาชนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย วางแผนการทำงานให้เหมาะสม เรียงลำดับความสำคัญของปัญหาโดยคำนึงถึงหลักเหตุผล กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล รู้จักหลักการทำให้เกิดผล  รู้ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนรู้จักการบริหารที่จะทำให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์บรรลุถึงประโยชน์ จะต้องมีความรู้จักรับผิดชอบตน รู้จักวางตนให้เหมาะสม รู้จักประพฤติตน รู้ว่าองค์การที่บริหารอยู่เป็นอย่างดีว่ามีจุดด้อย จุดเด่น จัดสรรงบประมาณให้ทั่วถึงประชาชน จัดสวัสดิการหรือแบ่งปันผลประโยชน์ต่างๆ ให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงเสมอภาคเท่าเทียมกัน

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕