หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ผศ. ดร. อภิพัธน์ วิศิษฏ์ใจงาม
 
เข้าชม : ๕๑๒ ครั้ง
การศึกษาอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อภาษาถิ่นไทยล้านนา
ชื่อผู้วิจัย : ผศ. ดร. อภิพัธน์ วิศิษฏ์ใจงาม ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๕/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
 
 
 
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

                  งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับ ภาษาและอักษรล้านนาเป็นเครื่องแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนาที่มีมายาวนาน นับตั้งแต่การสร้างเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๙ เป็นต้นมา จนกระทั่งมีพัฒนาการไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองทางด้านวรรณกรรมในยุคต่อมา และทำให้ล้านนากลายเป็นแหล่งองค์ความรู้ ตลอดถึงเป็นภูมิปัญญาที่สำคัญแหล่งหนึ่ง การนำเสนอโครงการวิจัย เกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะว่า มีความประสงค์  เพื่อที่จะศึกษา อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อภาษาถิ่นไทยล้านนาและ   มีวัตถุประสงค์เฉพาะ  เพื่อศึกษาลักษณะอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อภาษาถิ่นไทยล้านนา  ว่า   อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อภาษาถิ่นไทยล้านนานั้น มีลักษณะอย่างไร และ  อิทธิพลของพระพุทธศาสนาดังกล่าว มีความเกี่ยวพันกับวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อของ ประชาชนชาวล้านนาอย่างไร   วิธีวิจัย เป็นรูปแบบงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) นี้ ผู้วิจัย มีการใช้แบบบันทึกคำ เพื่อเก็บข้อมูล และเพิ่มการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-depth Interview) และได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการศึกษา พร้อมกับใช้แนวคิดทฤษฎีมาเป็นกรอบในการอธิบายผลการศึกษาในครั้งนี้ โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และคัดเลือกโดยการกำหนดกฎเกณฑ์คือ โดยคัดเลือกการสัมภาษณ์ ประชากรที่พูดภาษาล้านนาและอยู่อาศัยใน ๘ จังหวัดภาคเหนือ โดยวิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง( Cluster  Sampling ) จากการติดต่อผู้บอกภาษา ( Key informant )โดยตรง ก่อนการออกเดินทาง  ซึ่งมีทั้งผู้ที่สามารถพูดสนทนาและ  อ่านออก เขียนได้  เกี่ยวกับภาษาถิ่นไทยล้านนา อันมีนัยทางการวิจัยด้วย  สรุปผลวิจัย ลักษณะอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อภาษาล้านนาจากการศึกษา  พบว่า  ลักษณะที่หนึ่ง คือการนำเอาคำศัพท์ที่เป็นภาษาบาลี-สันสกฤตหรือคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนามาใช้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆเรียกว่าการทับศัพท์  ลักษณะที่สองได้แก่การนำเอาศัพท์ภาษาบาลี-สันสกฤตมาใช้โดยการปรับเปลี่ยนรูปลักษณะตอนหัวหรือท้ายศัพท์หรือพยัญชนะเพื่อให้สะดวกกับลิ้นชาวไทยล้านนา  และลักษณะที่สาม การบัญญัติคำภาษาถิ่นไทยล้านนาแทนภาษาบาลี-สันสกฤตแต่ยังมีความหมายคงเดิมหรือใช้แทนกันได้  นอกจากนี้ยังพบคำภาษาถิ่นไทยล้านนาที่บัญญัติตามความเชื่อโดยอิงหลักศาสนาปรัชญาของพุทธศาสนาอีกด้วย  ข้อเสนอแนะผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้าคือ  เมื่อต้องการรู้คำและความหมายให้กลับไปศึกษาคำ ล้านนา ความหมาย และรากศัพท์ได้ที่แบบบันทึกคำ ในภาคผนวก ตอนที่ ๑ (ภาคผนวก ก. ) หน้า ๑๒๕  ถึง ๒๑๓  แต่ถ้าต้องการทราบประวัติความเป็นมาของศัพท์โดยละเอียด เป็นหมวดหมู่ โปรดกลับไปดูในบทที่ ๔ ตั้งแต่ หน้าที่ ๖๖ ถึง ๑๑๗ จะได้เข้าใจงานวิจัยได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕