หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ผศ.สุชน ประวัติดี
 
เข้าชม : ๔๙๗ ครั้ง
ปัจจัยครอบครัวที่มีผลต่อพฤติกรรมเชิงคุณธรรมของเด็กในครอบครัวชาวพุทธ
ชื่อผู้วิจัย : ผศ.สุชน ประวัติดี ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๑๑/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
 
 
 
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

                          บทคัดย่อ

    การวิจัยเรื่องปัจจัยครอบครัวที่มีผลต่อพฤติกรรมเชิงคุณธรรมของเด็กในครอบครัวชาวพุทธ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการเลี้ยงดูเด็กในครอบครัวชาวพุทธ เพื่อศึกษาพฤติกรรมเชิงคุณธรรมของเด็กในครอบครัวชาวพุทธ และเพื่อศึกษารูปแบบการเลี้ยงดูที่มีผลต่อพฤติกรรมเชิงคุณธรรมของเด็กในครอบครัวชาวพุทธ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ทั้งภาครัฐและเอกชนในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ปีการศึกษา ๒๕๕๓ จำนวน ๔๐๐ คน เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม แบบประเมินค่า (Rating Scale) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

    ผลการวิจัยพบว่า     
   
      ๑. ด้านสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า เด็กนักเรียน ระดับมัธยมศึกษา        ปีที่ ๑ ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดนครนครปฐม ส่วนใหญ่เป็นหญิงมากกว่าเพศชาย คิดเป็นร้อยละ ๕๕.๐๐ ส่วนใหญ่มีอายุ (อายุเต็ม) ระหว่าง ๑๑- ๑๕ คิดเป็นร้อยละ ๙๖.๗๕ มีบิดามารดา/ผู้ปกครองของนักเรียนมีอาชีพรับจ้างมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๖๐.๗๕ เด็กนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครนครปฐม ส่วนใหญ่มีผลการเรียนเกรดเฉลี่ยประจำภาคหลังสุด มากที่สุด ๓.๑ - ๓.๕ คิดเป็นร้อยละ ๓๐.๗๕ ครอบครัวมีรายได้ / ต่อเดือน (ครอบครัว) ๐-๕,๐๐๐ คิดเป็นร้อยละ ๔๔.๗๕ และมีผู้นำ ครอบครัว เป็นบิดามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๖๙.๕
   
      ๒. ด้านรูปแบบการเลี้ยงดูเด็กในครอบครัวชาวพุทธ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า รูปแบบการเลี้ยงดูเด็กในครอบครัวชาวพุทธ ของเด็กในระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑  ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๗๐
   
      ๓. ด้านพฤติกรรมเชิงคุณธรรมของเด็กในครอบครัวชาวพุทธ พบว่า พฤติกรรมเชิงคุณธรรมของเด็กในครอบครัวชาวพุทธ ด้านมีความเมตตากรุณา ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๔๐  ในขณะที่ พฤติกรรมเชิงคุณธรรมของเด็กในครอบครัวชาวพุทธ ด้านความมีระเบียบวินัย ด้านความรับผิดชอบ ด้านมีความซื่อสัตย์สุจริต ด้านความเสียสละ และด้านการประหยัด ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๙๐, ๓.๗๙, ๓.๙๖, ๓.๗๘ และ ๓.๗๘ ตามลำดับ
   
      ๔. ด้านปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเชิงคุณธรรมของเด็กในครอบครัวชาวพุทธ พบว่า
           ๑) พ่อแม่รวมใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการอบรมเลี้ยงดูลูก เปิดโอกาสให้ลูกได้ แสดงความคิดเห็น ร่วมตัดสินใจในการวางแผนชีวิตครอบครัวตามสมควร
           ๒) แบ่งปันความรับผิดชอบในความเป็นอยู่ของครอบครัว
           ๓) พ่อแม่สอนให้พูดความจริง สอนให้รู้จักกตัญญูรู้คุณคน
           ๔) ชมเชยให้กำลังใจแก่เด็กเมื่อเด็กทำดีหรือตั้งใจเรียนหรือทำงานตามความรู้ ความสามารถ
           ๕) พ่อแม่จะให้ความรัก ความอบอุ่นและตามใจลูกมาก
      สรุปได้ว่ารูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กในครอบครัว แสดงให้เห็นว่า การให้ความอบอุ่นจากบิดามารดาจะทำให้จะเชื่อฟังคำสั่งสอนมากขึ้น เมื่อบิดามารดาให้ความรักความอบอุ่นแก่เด็ก เด็กจะมีความรู้สึกว่าตนเองได้รับความรักและข้อเรียกร้องของบิดามารดาจะได้รับการปฏิบัติตามในนามของความรัก กล่าวอีกนัยหนึ่ง เด็กจะมีความเข้าใจดีว่า ความผูกพัน คำสั่งสอนและกฎระเบียบของบิดามารดา กระทำไปเพื่อประโยชน์ของตัวเด็กเอง

                 

ดาวน์โหลด 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕