Mahachulalongkornrajavidyalaya University
|
 |
พุทธประวัติ |
|
พระพุทธประวัติ
พระพุทธศาสนามีแหล่งกำเนิดอยู่ในดินแดนที่รู้จักกันในครั้งพุทธกาลว่า
“ชมพูทวีป” อันได้แก่ทวีปที่มีลักษณะสัณ
ฐาณคล้ายใบชมพูหรือใบหว้า ในปัจจุบัน ชมพูทวีปมีฐานะเป็นเพียงอนุทวีป
(Subcontinent) แห่งเอเชียใต้ ประกอบด้วยดิน
แดนของประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาล และบังคลาเทศ แต่ในครั้งพุทธกาลภาคพื้นชมพูทวีปถูกแบ่งเป็นประเทศใหญ่น้อยซึ่ง
เรียกกันว่ารัฐหรือแคว้นจำนวนไม่น้อยกว่า 21 แคว้น เฉพาะแคว้นมหาอำนาจในสมัยนั้นมี
4 แคว้นคือ มคธ โกศล วังสะ และอวัน
ตี
ในภูมิภาคด้านเหนือของชมพูทวีปอันเป็นดินแดนรอยต่อระหว่างอินเดียและเนปาลในปัจจุบันมีแคว้นเล็กแคว้นหนึ่ง
ชื่อว่า สักกชนบทเป็นดินแดนของชนชาติผู้เรียกตนเองว่า ศากยะ
พระราชาผู้ปกครองแคว้นนี้ในครั้งนั้นมีพระนามว่า พระเจ้า
สุทโธทนะ พระองค์มีชื่อโคตรหรือสกุลว่า โคตมะ บางครั้งมีผู้เรียกพระองค์ด้วยพระนามเต็มว่า
พระเจ้าสุทโธนะ โคตมะ ราช
สำนักของพระองค์ตั้งอยู่ในเมืองหลวงชื่อว่า กรุงกบิลพัสดุ์
ประสูติ
พระเจ้าสุทโธทนะมีพระอัครมเหสีทรงพระนามว่า
มหามายาเทวี ทั้งสองพระองค์ทรงอยู่ร่วมกันมาด้วยความผาสุก
จนกระทั่งพระเทวีทรงมีพระครรภ์ เมื่อพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ
พระนางได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระสวามีให้แปร
พระราชฐานไปประทับที่กรุงเทวทหะเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ก็เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมสมัยนั้น
พระ
เทวีเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์พร้อมด้วยข้าราชบริพารในเวลาเช้าของวันเพ็ญเดือน
6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี เมื่อขบวนเสด็จ
ผ่านมาถึงสวนลุมพินี อันตั้งอยู่กึ่งกลางทางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะต่อกัน
พระนางทรงมีพระประสงค์จะประ
พาสอุทยาน ข้าราชบริพารจึงเชิญเสด็จแวะไปประทับพักผ่อนอิริยาบถใต้สาละ
ขณะประทับอยู่ที่สวนลุมพินีนั้น พระนางได้
ประสูติ3พระโอรสภายใต้ต้นสาละ เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทราบข่าวประสูติจึงตรัสสั่งให้เชิญเสด็จพระนางพร้อมด้วยพระราช
กุมารกลับคืนกรุงกบิลพัสดุ์โดยด่วน
ข่าวประสูติแพร่ไปถึงอสิตดาบส
ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิมาลัย ดาบสท่านนี้มีความคุ้นเคยกับราชสำนักของ
พระเจ้าสุทโธทนะ พอทราบข่าวประสูติของพระราชกุมาร ดาบสจึงลงจากเขาเข้าไปเยี่ยมเยียนราชสำนัก
ท่านมีความรู้เกี่ยวกับ
การทำนายมหาปุริสลักษณะ พอเป็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า
นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์
์ว่า “พระราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธ์อย่างยิ่ง
ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย
แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะ
ทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอัศจรรย์และเปี่ยมล้นด้วยปีติ
ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่าง
ดาบส
เมื่อพระกุมารประสูติได้
5 วัน พระเจ้าสุทโธทนะโปรดให้ประกอบพิธีเฉลิมฉลองรับขวัญและขนานพระนาม
โดย
เชิญพราหมณ์ 108 คนผู้เชี่ยวชาญไตรเพทมาบริโภคโภชนาหาร ที่ประชุมของพราหมณ์ได้ถวายพระนามว่า
“สิทธัตถะ” แปล
ว่า “สมประสงค์” กล่าวคือพระราชกุมารจะทรงปรารถนาสิ่งใด ก็จะได้สิ่งนั้นตามความปรารถนา
คนส่วนมากมักเรียกพระองค์
์ตามชื่อโคตรว่า “โคตมะ” ต่อจากนั้นพราหมณ์ 8 คนผู้รู้การทำนายลักษณะได้ตรวจสอบลักษณะของพระกุมารแล้วพบว่าพระ
กุมารมีลักษณ์มหาบุรุษ 32 ประการ จงให้คำทำนายชีวิตในอนาคตของพระกุมาร
พราหมณ์ 7 คน ทำนายว่าพระสิทธัตถราช
กุมารนี้ ถ้าอยู่ครองเพศฆราวาสจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แต่ถ้าออกผนวช
จะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศาสดาเอกของโลก แต่พราหมณ์คนที่
8 ชื่อว่าโกณฑัญญะให้คำทำนายยืนยันหนักแน่นเป็นคติเดียวว่า พระกุมารจะต้องออกผนวชและตรัสรู้เป็นพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันที่
7 นับแต่วันประสูติ พระนางมหามายาเทวีผู้เป็นพระชนนีของพระกุมารได้ทิวงคต
ทั้งนี้เพราะ“มารดาของ
พระโพธิสัตว์มีอายุน้อยนัก เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติได้ 7 วัน
มารดาของพระโพธิสัตว์ย่อมทิวงคตไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต”
นับแต่นั้นมาพระสิทธัตถราชกุมารจึงอยู่ในความดูแลของพระนางมหาปชสบดีโคตมี
พระน้านางของพระองค์ซึ่งเป็นพระมเหสี
ีของพระเจ้าสุทโธทนะสืบต่อมา
ดรุณวัย
คำพยากรณ์ของพราหมณ์ที่ว่า
ถ้าพระราชกุมารอยู่ครองเพศฆราวาสจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้นสร้างความปีติ
ยินดีแก่พระเจ้าสุทโธทนะผู้ปรารถนาจะเห็นสักกชนบทซึ่งเป็นอาณาจักรเล็กที่ต้องสยบยอมต่ออำนาจของมหาอาณาจักรเพื่อน
บ้านชื่อแคว้นโกศล พระองค์ปรารถนาจะเห็นพระโอรสสร้างสักกชนบทให้มีอำนาจเกรียงไกรเหนือแคว้นมหาอำนาจในสมัยนั้น
แต่พระองค์ยังทรงหวั่นพระทัยว่า พระราชโอรสอาจเลือกการออกบรรพชาเป็นจุดหมายสำคัญกว่าการครองราชย์ตามคำพยา
กรณ์ในมติที่สอง เพราะพระองค์เป็นกษัตริย์จึงต้องพยายามดำเนินการให้พระกุมารได้ขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์
และทรง
กระทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันพระราชโอรสมิให้มีพระทัยน้อมไปในการบรรพชา
ทรงรับสั่งให้ข้าราชบริพารบำรุงบำเรอโลกียสุข
แก่พระสิทธัตถราชกุมารอย่างเต็มที่ ไม่มีอะไรที่พระกุมารปรารถนาแล้วจะไม่ได้
พระกุมารจึงเป็นพระยุพราชผู้สุขุมาลชาติอย่าง
ยิ่ง ดังมีบันทึกกล่าวถึงไว้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย!
เราเป็นผู้ละเอียดอ่อน ละเอียดอ่อนมาก ละเอียดอ่อนที่สุด พระชนกรับสั่งให้ขุดสระโบกขรณี
3 สระ
สำหรับเราไว้ในพระราชวัง ให้ปลูกอุบลบัวขาบสระหนึ่ง ปลูกปทุมบัวหลวงสระหนึ่ง
ปลูกปุณฑริกบัวขาวสระหนึ่ง ไม่เพียงแต่
เราจะใช้ไม้จันทน์แคว้นกาสีเท่านั้น ทั้งผ้าโพก เสื้อ ผ้านุ่ง
ผ้าห่มของเราล้วนทำในแคว้นกาสี มีคนคอยกั้นเศวตฉัตรให้เราตลอด
คืนตลอดวัน ด้วยหวังว่า หนาวร้อน ธุลี หญ้า หรือน้ำค้างอย่าได้กล้ำกรายเรา”
แม้พระราชบิดาจะได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อชักจูงพระกุมารให้คิดอยู่ในเสน่ห์ยั่วยวนใจของเพศคฤหัสถ์
ก็ดูเหมือนว่า
ความพยายามนั้นจะไม่สามารถทำลายพระอุปนิสัยใฝ่ธรรมของพระกุมาร
ดังมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น กล่าวคือ ครั้งหนึ่งมีการจัด
งานพืชมงคลแรกนาขวัญ พระเจ้าสุทโธทนะเสด็จแรกนาด้วยพระองค์เอง
โปรดให้เชิญเสด็จพระกุมารไปด้วย และให้แต่งที่
ประทับอยู่ภายใต้ต้นหว้า ครั้นถึงเวลาแรกนาขวัญ พวกนางสนมพี่พี่เลี้ยงนางนมพากันไปดูพิธีแรกนาขวัญ
ปล่อยพระกุมารเพียง
ลำพัง พระกุมารประทับนั่งขัดสมาธิเจริญอานาปานสติกรรมฐานจนได้ปฐมฌาน
ขณะนั้นเป็นเวลาบ่าย เงาของต้นไม้อื่นได้ชายไป
ตามดวงตะวัน ยกเว้นเงาของต้นหว้าซึ่งหยุดอยู่กับที่เสมือนหนึ่งเป็นเงาขณะเที่ยงวัน
ปรากฏเป็นอัศจรรย์ประจักษ์แก่พี่เลี้ยงนาง
ที่กลับมาเห็น จึงรีบนำความไปกราบบังคมทูลพระราชบิดา พระเจ้าสุทโธทนะเสด็จไปทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์
ทรงเลื่อมใส
พระโอรสเป็นอย่างมาก ถึงกับยกพระหัตถ์ขึ้นถวายอภิวาทพระราชกุมารอันเป็นการอภิวาทครั้งที่
2 นับแต่การอภิวาทครั้งแรก
เมื่อวันที่อสิตดาบสเข้าเยี่ยมพระกุมาร
เมื่อพระราชกุมารทรงเจริญวัยพอที่จะเข้ารับการศึกษาได้
พระราชบิดาทรงพาไปมอบไว้ในสำนักครูวิศวามิตรเพื่อให้
ทรงศึกษาศิลปวิทยาต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับรัชทายาททั้งหลาย พระราชกุมารทรงศึกษาอย่างรวดเร็วมาก
ไม่นานนักก็จบหลัก
สูตร ครั้นถึงคราวต้องแสดงความสามารถต่อหน้าพระที่นั่ง พระองค์ก็แสดงได้ดีเลิศล้ำหน้าพระราชกุมารอื่นๆ
อันนำความชื่น
ชมโสมนัสมาสู่พระราชบิดาและพระประยูรญาติ
เมื่อพระสิทธัตถราชกุมารมีพระชนมายุครบ
16 พรรษา เป็นเวลาสมควรแก่การอภิเษกสมรส พระราชบิดาตรัสสั่งให้
สร้างปราสาท 3 หลังชื่อว่า สุจันทะ โกกนุทะ และโกญจะ เพื่อเป็นที่ประทับของพระราชโอรสใน
3 ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน
ฤดูฝน แล้วทรงขอเจ้าหญิงยโสธรา (พิมพา) พระราชบุตรีของพระเจ้าสุปปพุทธะในเทวทหนครมาอภิเษกเป็นพระชายาของพระ
กุมาร ชีวิตของพระสิทธัตถราชกุมารในช่วงนี้เพียบพร้อมด้วยโลกียสุข
ดังพระพุทธดำรัสตรัสเล่าภายหลังว่า “เมื่อก่อนสมัยเรา
เป็นคฤหัสถ์ครองเรือน เป็นผู้อิ่มหนำเพียบพร้อมด้วยกามคุณห้า
บำเรอตนด้วยรูป เสียง กลิ่น รสสัมผัสที่น่าปรารถนารักใคร่ชอบ
ใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ปราสาทของเรานั้นมีถึงสามหลัง
คือ ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน ปรา
สาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน
เรานั้นถูกบำเรอด้วยดนตรี มีแต่สตรี ไม่มีบุรุษเจือปนอยู่บนปรา
สาทสำหรับฤดูฝนตลอดสี่เดือน ไม่เคยลงจากปราสาทเลย”
ออกบรรพชา
แม้พระสิทธัตถราชกุมารจะทรงดำเนินชีวิตอันสมบูรณ์พูนสุขอย่างนั้น
ความเบื่อหน่ายในเพศฆราวาสก็เกิดขึ้นได้ จน
ทำให้พระองค์ตัดสินพระทัยออกบรรพชาเมื่อมีพระชนมายุได้ 29 พรรษา
อะไรคือสาเหตุที่แท้จริงของการออกบรรพชายังเป็น
ปัญหาที่ยังไม่มีข้อยุติ นักปราชญ์ส่วนใหญ่เชื่อตามแนวทางมหาปทานสูตร13
ที่ว่าพระสิทธัตถราชกุมารเสด็จประพาสพระ
อุทยาน 4 ครั้ง ทรงพบเทวทูต 4 คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะตามลำดับในการประพาสแต่ละครั้ง
การพบเทวทูตหรือ
ความทุกข์ 4 มิติของชีวิตทำให้พระเนตรสว่างพอที่จะหยั่งรู้ถึงความไม่เที่ยงแท้และไร้แก่นสารของชีวิต
พระองค์ทรงเก็บเอา
ภาพของคนแก่ คนเจ็บและคนตายมาเป็นเรื่องที่จะต้องครุ่นคิดจริงจัง
ทำให้ลดความมัวเมาในความเป็นหนุ่ม ความมีสุขภาพดี
และความมัวเมาในชีวิต ทรงเตือนพระองค์เองว่า พระองค์หนีความแก่
ความเจ็บและความตายไม่พ้น14 แต่ยังมีทางหลุดพ้น
เหลืออยู่สายหนึ่งนั่นคือการเลือกใช้ชีวิตแบบสมณะนักบวชอันปลอดจากภารกิจที่เป็นเครื่องถ่วงไม่ให้ค้นพบโมกษธรรม
พระองค์
ทรงดำริว่า “ชีวิตฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งฝุ่นละออง การบวชเป็นทางสะดวกปลอดโปร่ง
การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะ
ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์เต็มที่เหมือนสังข์ขัดไม่ใช่ทำได้ง่าย
อย่างไรก็ดีเราควรจะปลงผมโกนหนวด นุ่งห่มผ้า
กาสาวพัสตร์ สละบ้านเรือนออกบวชเป็นบรรพชิต”
เมื่อได้ทรงตัดสินพระทัยออกผนวชแล้ว
พระสิทธัตถราชกุมารทรงรอเวลาอยู่จนกระทั่งทราบข่าวพระนางพิมพา
ประสูติพระโอรสผู้ต่อมาได้พระนามว่า ‘ราหุล’ เพราะในวันประสูติ
พระสิทธัตถราชกุมารทรงเปลงอุทานว่า “ราหุลํ ชาตํ พนฺธนํ
ชาตํ” (บ่วงเกิดแล้วเครื่องพันธนาการเกิดแล้ว) ตกเวลากลางคืนของวันประสูตินั้นพระสิทธัตถราชกุมารทรงนัดแนะกับนายฉันนะ
ให้นำม้ากัณฐกะเตรียมรอนำเสด็จออกบรรพชา
พระองค์เสด็จไปทอดพระเนตรพระราหุลกุมารและพระนางพิมพาผู้กำลังบรร
ทมหลับ แล้วทรงม้ากัณฐกะพร้อมนายฉันนะเสด็จออกจากพระราชวัง ในคืนที่เสด็จออกบรรพชานั้น
พระสิทธัตถราชกุมารทรงมี
พระชนมายุ 29 พรรษา
เมื่อเสด็จออกพ้นพระราชวังแล้ว
พระสิทธัตถราชกุมารทรงเข้าเขตแดนแคว้นโกศลและแคว้นวัชชี เวลาใกล้รุ่งเสด็จถึง
ฝั่งแม่น้ำอโนมานที แม่น้ำสายนี้อยู่ระหว่างเขตแดนของสามแคว้นคือ
แคว้นสักกะ แคว้นโกศลและแคว้นวัชชี พระองค์ทรงม้า
ข้ามฝั่งแม่น้ำ แล้วเสด็จลงจากหลังม้าไปประทับนั่งบนกองทราย
ทรงเปลื้องเครื่องทรงมอบให้นายฉันนะนำกลับพระนคร ทรง
ตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์ ครองผ้ากาสาวพัสตร์แล้วอธิษฐานใจบวชเป็นบรรชิต
ทรงส่งนายฉันนะกลับ เสด็จลำพังองค์เดียวมุ่ง
พระพักตร์ไปยังแคว้นมคธ
ในที่นี้มีข้อควรสงสัยบางประการเกี่ยวกับอาการกิริยาที่พระสิทธัตถราชกุมารเสด็จออกผนวช
นั่นก็คือ ตามเรื่องราวท
ี่บรรยายมานั้น พระกุมารเสด็จหนีออกผนวชในเวลากลางคืน โดยที่พระราชบิดา
และพระประยูรญาติไม่ทรงทราบ แต่พระ
ไตรปิฎกได้บันทึกไว้ว่า พระราชบิดาและพระประยูรญาติทรงทราบแต่ไม่อาจทักท้วงห้ามปราม
ดังที่พระพุทธเจ้าทรงเล่าไว้ว่า “สมัยเมื่อเรายังเป็นหนุ่ม มีผมดำสนิท
อยู่ในวัยที่กำลังเจริญเติบโต เป็นปฐมวัย เมื่อมารดาบิดาไม่ปรารถนา(จะให้บวช)
ร้องไห้
น้ำตานองหน้าอยู่ เราได้ปลงผมโกนหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
สละเรือนออกบวชเป็นบรรพชิต”17 พระราชดำรัสนี้แสดงว่า พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบดีว่าพระสิทธัตถราชกุมารจะออกผนวช
แต่ไม่อาจทักท้วงห้ามปรามได้ ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่า ทำไมจึง
ทักท้วงห้ามปรามไม่ได้? คงจะมีเหตุจำเป็นบางประการเกิดขึ้นแต่ไม่ได้รับการบันทึกเป็นหลักฐาน
ถ้าเชื่อตามมติว่าพระกุมาร
เสด็จหนีออกไปผนวช พระราชบิดาทรงทราบก็น่าจะส่งคนไปติดตามอ้อนวอนให้กลับพระนคร
แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีการกระทำ
เช่นนั้นเลย
อย่างไรก็ตาม
ประเด็นสำหรับประนีประนอมในที่นี้น่าจะเป็นว่า พระสิทธัตถราชกุมารเสด็จหนีไปในเวลากลางคืน
พระราชบิดามาทราบเรื่องราวในเวลาเช้า เมื่อนายฉันนะกลับมากราบทูลว่าพระกุมารได้ปลงผมโกนหนวดอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิต
แล้ว พระราชบิดาจึงกรรแสงด้วยความโทมนัส แต่ไม่อาจส่งคนไปตามเสด็จกลับวังได้เพราะพระกุมารตัดพระเมาลีเสียแล้ว
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงประทานการวินิจฉัยไว้ว่า
“บางทีการตัดพระเมาลีนั้นเองเป็นเหตุให้
พระราชบิดาและพระญาติวงศ์สิ้นหวังในพระองค์ เพราะได้ยินว่า คนในครั้งนั้นถือการตัดผมว่าเป็นจัญไร
คนผู้ตัดหรือโกนผม
แล้วเป็นที่ดูหมิ่นของคนทั้งหลาย”
บำเพ็ญเพียร
ภายหลังการบรรพชา
พระสิทธัตถะได้เสด็จดำเนินถึงแคว้นมคธ แล้วไปสมัครเป็นศิษย์ของคณาจารย์ใหญ่
2 ท่าน คือ อาฬารดาบส และอุทกดาบส ฝึกปฏิบัติกรรมฐานหรือโยคะในสำนักของอาจารย์ท่านแรกจนได้รูปฌาน
4 และอรูปฌาน 3 คือได้
้ขั้นอากิญจัญญายตนะ และได้รูปฌานที่ 4 คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ซึ่งเป็นชั้นที่จบหลักสูตรหมดภูมิรู้ของอาจารย์ แม้อา
จารย์ทั้งสองจะเชิญให้อยู่ในสำนักต่อไปด้วยตำแหน่งฐานะเท่าเทียมอาจารย์
พระสิทธัตถะก็ไม่ทรงปรารถนา ทรงอำลาจากสำนัก
ไปเพราะพิจารณาเห็นว่าลำพังฌานสมาบัติที่ได้มายังไม่ใช่สัมมาสัมโพธิญาณ
หนังสือพุทธประวัติภาษาไทยส่วนมากนิยมกล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ว่า
พระโพธิสัตว์ได้ทรงทดลองปฏิบัติในลัทธิทั้ง
สองนั้นแล้ว ทรงดำริว่าทางปฏิบัตินี้มิใช่หนทางพระโพธิญาณ20
การบันทึกเช่นนี้เท่ากับแสดงว่า การบำเพ็ญสมาธิถึงขั้นอรูป
ฌาน 4 ไม่ได้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่การบรรลุพระนิพพาน มีแต่จะออกนอกทางทำให้เสียเวลาไม่ต่างจากการบำเพ้ญทุกกรกิริยา
ในอันดับถัดไป
เมื่อพิเคราะห์ดูแล้วจะพบว่า
การปฏิบัติสมาธิจนได้อรูปฌาน 4 ไม่ถือว่าออกนอกทางนิพพานแต่อย่างใด
แม้ที่จริงนั้นการ
ได้ฌานสมาบัติเป็นการอยู่ครึ่งนิพพาน เพราะได้เพียงสิกขา 2 ข้อ
คือ ศีลกับสมาธิ แต่ยังขาดปัญญา สิ่งที่อาฬารดาบสและอุทก
ดาบสสอนสาวกคือสิ่งที่เรียกว่า โยคะ ซึ่งเป็นวิธีเจริญสมาธิภาวนานั่นเอง
ผลของโยคะ เท่ากับหรือเป็นอันเดียวกันกับผลของ
สมถกรรมฐานในพระพุทธศาสนา อันนี้เป็นการยืนยันว่า สมถกรรมฐานมีอยู่แล้วในศาสนาอื่นสมัยพระพุทธเจ้า
แต่สมถกรรมฐาน
อย่างเดียวไม่ทำให้ถึงนิพพาน พระพุทธองค์ทรงใช้สมาธิที่ได้จากการปฏิบัติสมถกรรมฐานมาเป็นบาทแห่งการเจริญวิปัสสนา
กรรมฐาน จึงได้ปัญญาการตรัสรู้ ดังนั้นวิปัสสนากรรมฐานจึงเป็นคำสอนพิเศษที่มีเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น
แต่เนื่องจากพระองค์ไม่ได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานต่อจากการได้อรูปฌานในสำนักของอุทกดาบส
พระองค์จึงไม่ได
้ตรัสรู้ ทรงพิจารณาเห็นว่าอรูปฌานนี้ “ไม่เป็นไปเพื่อเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อ
ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (แต่)เป็นไปเพียงเพื่อให้อุบัติในแนวสัญญานาสัญญายตนพรหมเท่านั้น”
พระองค์ทรงหยุดการบำเพ็ญเพียร
ทางใจซึ่งพาพระองค์มาครึ่งทางนิพพาน ทรงหันไปบำเพ็ญเพียรทางกายซึ่งพาเฉออกนอกทางนิพพาน
การบำเพ็ญเพียรทางกาย
นั้นมีชื่อเรียกว่าทุกกรกิริยา
เมื่อเสด็จออกจากสำนักของดาบสทั้งสองแล้ว
พระสิทธัตถะได้เสด็จไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม บำเพ็ญทุกกรกิริยาหรือ
การทรมานตนในที่นั้น การบำเพ็ญทุกกรกิริยานี้แบ่งเป็น 3 ระยะ
คือ
ระยะที่
1 ทรงกดพระทนต์ด้วยพระทนต์ กดพระตาลุ(เพดาน) ด้วยพระชิวหาไว้ให้แน่นจนพระเสโท(เหงื่อ)
ไหลออก
จากพระกัจฉะ(รักแร้) เสร็จแล้วทรงทดลองทำวิธีที่สอง
ระยะที่
2 ทรงผ่อนกลั้นลมหายใจเข้า-ออก เมื่อลมเดินไม่สะดวกทางช่องพระนาสิกและช่องพระโอษฐ์
ก็เกิดเสียงดังอู้
ทางช่องพระกรรณทั้งสอง ทำให้ปวดพระเศียรอย่างแรง มีอาการเสียดพระอุทรและร้อนพระวรกายเป็นที่สุด
แม้ทรงทรมาน
กายเพียงนี้ก็ยังไม่บรรลุโพธิญาณ จึงเปลี่ยนเป็นวิธีที่ 3
ระยะที่
3 ทรงอดพระกระยาหาร โดยลดอาหารลงทีละน้อย ๆ จนไม่เสวยพระกระยาหารเลย
พระวรกายเหี่ยวแห้ง พระฉวีเศร้าหมอง พระอัฐิปรากฏทั่วพระวรกาย
เมื่อทรงลูบพระวรกาย เส้นพระโลมาก็หลุดติดพระหัตถ์ พระกำลังลดน้อยถอย
ลง เมื่อเสด็จดำเนินไปทางไหนก็ถึงกับซวนเซล้มลงสลบ พอฟื้นคืนสติขึ้นมาทรงดำริว่า
การทรมานตนอย่างมากที่สุดก็ทำได้แค่นี้ เราทำหมดแล้วแต่ยังไม่ตรัสรู้
การบำเพ็ญทุกกรกิริยาจึงไร้ผล ได้ตัดสินพระทัยเลิกบำเพ็ญทุกกรกิริยา
เสวยพระกระยาหารตาม
ปกติ และทรงหันกลับมาบำเพ็ญเพียรทางใจอีก
เมื่อพระสิทธัตถราชกุมารออกผนวช
พราหมณ์โกณฑัญญะผู้เคยทำนายลักษณะพระกุมารในวันขนานพระนามว่า
พระ
กุมารจะต้องออกบวชและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้ชักชวนบุตรของเพื่อน
4 คนออกบวชตามเสด็จเพราะเชื่อมั่นว่า พระสิทธัตถะ
จะต้องได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นักบวชทั้งห้าที่มีโกณฑัญญะ
เป็นหัวหน้ามีชื่อเรียกว่า ปัญจวัคคีย์ พวกปัญจ
วัคคีย์นี้ได้ปรนนิบัติรับใช้พระโพธิสัตว์ขณะที่ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา
จึงสามารถเป็นพยานได้ว่า พระสิทธัตถะทรมานพระองค์
มากน้อยเพียงไร ครั้นเห็นว่า พระสิทธัตถะเลิกบำเพ็ญทุกกรกิริยา
หันกลับมาเสวยพระกระยาหารอีก พระปัญจวัคคีย์ได้ตำหนิ
พระสิทธัตถะว่าล้มเหลวและกลายเป็นคนมักมาก ต่างรู้สึกผิดหวังจึงพากันละทิ้งพระสิทธัตถะหนีไปอยู่
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี
การจากไปของพระปัญจวัคคีย์นับเป็นสิ่งที่ดี
เพราะจะได้ไม่มีใครรบกวนสมาธิของพระสิทธัตถะ พระองค์จึงสามารถ
บำเพ็ญเพียรทางใจได้เต็มที่ และการบำเพ็ญเพียรครั้งนี้ทำให้พระองค์ตรัสรู้
ตรัสรู้
ในเวลาเช้าของวันเพ็ญเดือน
6 พระสิทธัตถะประทับนั่งใต้โคนต้นไทร นางสุชาดานำถาดอาหารมาเพื่อแก้บนรุกขเทวดา
ประจำต้นไทร พบพระสิทธัตถะก็เข้าใจว่าเป็นเทวดานั่งรอเครื่องพลีกรรม
จึงนำข้าวมธุปายาสไปถวายทั้งถาด พระสิทธัตถะรับ
ของถวายแล้วถือถาดไปยังริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา สรงสนานพระวรกายแล้วขึ้นมาประทับนั่งเสวยข้าวมธุปายาสจำนวน
49 ปั้นจน
หมด จากนั้นเสด็จไปประทับในดงไม้สาละ จนเวลาเย็นจึงเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์
ทรงปูลาดหญ้าคา 8 กำที่โสตถิยพราหมณ์ถวาย
ในระหว่างทางลงใต้ต้นมหาโพธิ์ ประทับนั่งขัดสมาธิ ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก
หันประปฤษฎางค์เข้าหาต้นมหาโพธิ์ ทรงอธิษฐานว่า “แม้เนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไป
เรายังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณตราบใด จะไม่ลุกขึ้นจากที่นี่ตราบนั้น”
จากนั้น
ทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน
3 คือ ในยามที่หนึ่งของ
คืนนั้นทรงได้ปุพเพนิวาสนุสติญาณ คือ ระลึกชาติปางก่อนของพระองค์เองได้
ในยามที่ 2 ทรงได้จุตูปปาตญาณ คือมีตาทิพย์ สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย
และในยามสุดท้าย ทรงได้อาสวักขยญาณ คือตรัสรู้อริยสัจ 4 ว่าอะไรคือ
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ความรู้นี้ทำให้กิเลสาสวะหมดสิ้นไปจากจิตใจ พระองค์ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลาที่แสงเงิน
แสงทองเริ่มจับขอบฟ้า รวบระยะเวลาที่บำเพ็ญเพียรตั้งแต่ออกผนวชจนตรัสรู้ได้
6 ปี ขณะที่ตรัสรู้พระองค์มีพระชนมายุ 35 พรรษา
เสวยวิมุตติสุข
เมื่อตรัสรู้แล้ว
พระพุทธเจ้าเสด็จประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นมหาโพธิ์และบริเวณข้างเคียงเป็นเวลา
7 สัปดาห์ คือ
สัปดาห์ที่
1 ประทับนั่งใต้ต้นมหาโพธิ์ต่อไปอีก 7 วัน ทรงใช้เวลาทบทวนปฏิจจสมุปบาทที่พระองค์เพิ่งตรัสรู้
สัปดาห์ที่
2 เสด็จออกจากต้นมหาโพธิ์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ประทับยืนเพ่งต้นมหาโพธิ์โดยมิได้กระพริบ
พระเนตรตลอด 7 วัน สถานที่นั้นมีชื่อในสมัยต่อมาว่าอนิมิสเจดีย์
สัปดาห์ที่
3 เสด็จกลับมาประทับอยู่ในที่กึ่งกลางระหว่างอนิมิสเจดีย์และต้นมหาโพธิ์
ทรงจงกรมอยู่ที่นั่นตลอด 7 วัน ที่จงกรมนั้นมีชื่อเรียกว่า ‘รัตนจงกรมเจดีย์’
สัปดาห์ที่
4 เสด็จไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของต้นมหาโพธิ์ประทับนั่งขัดสมาธิพิจารณาอภิธรรมปิฎกตลอด
7 วัน สถานที่นั้นมีชื่อเรียกต่อมาว่า ‘รัตนฆรเจดีย์’
สัปดาห์ที่
5 เสด็จไปทางทิศตะวันออกของต้นมหาโพธิ์ ประทับอยู่ใต้ต้นไทรซึ่งเป็นที่พักของคนเลี้ยงแพะอันได้ชื่อว่า
อชปาลนิโครธ ทรงเสวยวิมุตติสุขตลอด 7 วัน
สัปดาห์ที่
6 เสด็จไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นมหาโพธิ์ประทับนั่งที่ควงไม้จิกหรือมุจลินท์
เสวยวิมุตติสุขที่
นั่นอีก 7 วัน
สัปดาห์ที่
7 เสด็จไปยังต้นเกดหรือราชายตนะ ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของต้นมหาโพธิ์
ทรงเสวยวิมุตติสุขอยู่ที่นั่นเป็น
สัปดาห์สุดท้ายในสัปดาห์นี้มีพ่อค้า 2 พี่น้องชื่อตปุสสะและภัลลิกะเดินทางผ่านมาพบจึงนำเสบียงกรังเข้าไปถวายแล้วประกาศ
ตนเป็นอุบาสกคนแรกที่เข้าถึงพระรัตนะสองคือพระพุทธและพระธรรมเป็นสรณะ
ครั้นเสวยวิมุตติสุขครบ
7 สัปดาห์แล้ว พระองค์เสด็จกลับมาประทับที่ควงไม้ไทรชื่ออชปาลนิโครธอีก
ทรงดำริว่าธรรม
ที่พระองค์ตรัสรู้เป็นของลึกซึ่งยากที่ผู้อื่นจะรู้ตาม ท้อพระทัยในอันที่จะประกาศธรรม
แต่อาศัยที่ทรงมีพระกรุณาในหมู่สัตว์
์ประกอบกับพิจารณาทราบชัดถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 4 ประเภท
อันเปรียบได้กับบัว 4 เหล่า คือ
1.
อุคฆฏิตัญญู ผู้มีปัญญาดีและมีกิเลสน้อย สามารถเข้าใจฉับพลันเพียงเพราะได้ยินหัวข้อธรรมที่ยกขึ้นแสดง
เหมือน
ดอกบัวที่พ้นน้ำพอต้องแสงอาทิตย์ก็บานทันที
2.
วิปจิตัญญู ผู้มีปัญญาปานกลางและมีกิเลสปานกลาง สามารถเข้าใจธรรมได้ถ้ามีการอธิบายความให้พิสดารออกไป
บุคคลประเภทนี้เปรียบได้กับดอกบัวที่อยู่เสมอน้ำพร้อมจะบานในวันรุ่งขึ้น
3.
เนยยะ ผู้มีปัญญาน้อยแต่มีกิเลสหนา สามารถเข้าใจธรรมได้ก็ต่อเมื่อมีการพร่ำสอนย้ำแล้วย้ำอีก
เหมือนดอกบัวที่อย
ู่ใต้น้ำรอโอกาสบานในวันต่อๆ ไป
4.
ปทปรมะ บุคคลไร้ปัญญา เรียนหัวข้อธรรมได้บ้างแต่ไม่อาจเข้าใจความหมายของคำ
เปรียบได้กับดอกบัวที่เพิ่งงอก
ขึ้นใหม่ ยังอยู่ในโคลนตม มักจะตกเป็นอาหารของปลาและเต่า
ในจำนวนบุคคล
4 ประเภทนี้ สามประเภทข้างต้นยังเป็นผู้ที่พระองค์พอจะสอนให้ตรัสรู้ตามได้
ทรงพิจารณาเห็นดังน
ี้แล้วจึงตัดสินพระทัยแสดงธรรม
ปฐมเทศนา
เมื่อได้ตกลงพระทัยว่าจะประกาศศาสนาแล้ว
ทรงนึกถึงบุคคลที่สมควรจะแสดงธรรมโปรดก่อนซึ่งจะต้องเป็นประเภท
ดอกบัวพ้นน้ำ ทรงนึกถึงอาฬารดาบสและอุทกดาบส แต่ทราบว่าท่านทั้งสองสิ้นชีพแล้ว
จึงตัดสินพระทัยโปรดปัญจวัคคีย์ แล้ว
เสด็จไปป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ถึงที่นั่นในเวลาเย็นของวันขึ้น
14 ค่ำ เดือน 8 เมื่อแรกพบพระพุทธองค์ พวกปัญจวัคคีย์แสดง
อาการไม่เคารพเชื่อฟังพระศาสดา ต่อเมื่อพระองค์ตรัสเตือนแล้วจึงตั้งใจฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง
ในวันรุ่งขึ้นมีชื่อว่าธรรมจักกัปปวัตตนสูตร พระสูตรนี้เป็นพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกจึงมีความหมายมาก
เพราะถ้าหากไม่มีใคร
สามารถเข้าใจได้ก็จะทำให้พระองค์ท้อพระทัยไปว่า พระธรรมนั้นลึกซึ้งเกินกว่าคนทั่วไปจะหยั่งถึง
ฉะนั้น เมื่อท่านโกณฑัญญะ
ได้ดวงตาเห็นธรรมสำเร็จเป็นพระโสดาบันในเวลาจบเทศนา พระพุทธองค์จึงเปล่งอุทานว่า
“อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ” (ท่าน
ผู้เจริญ! โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ) เพราะอุทานนี้ท่านโกณฑัญญะจึงมีชื่อเพิ่มขึ้นว่า
“อัญญาโกณฑัญญะ” ท่านได้ทูลขอบรรพชา
อุปสมบทในวันนั้นเอง พระองค์ทรงบวชให้ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
โดยเปล่งพระวาจาว่า “ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด (เอหิ ภิกฺขุ) ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว
ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด” ท่านอัญญาโกณฑัญญะสำเร็จเป็นพระภิกษุ
ด้วยพระวาจานี้ ท่านเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา
อีก
4 วันถัดมาปัญจวัคคีย์ที่เหลือได้บรรพชาอุปสมบททั้งหมดในวันแรม
5 ค่ำ เดือน 9 พระพุทธองค์ทรงแสดงอนัต
ตลักขณสูตรโปรดพระปัญจวัคคีย์จนทั้ง 5 ท่านได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
นับว่ามีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก 6 องค์รวมทั้งพระ
พุทธเจ้า
พุทธกิจ
45 พรรษา
ต่อจากนั้นพระพุทธเจ้าทรงประกาศศาสนาโดยไม่มีการหยุดพักเป็นเวลา
45 พรรษา พุทธกิจที่พระองค์บำเพ็ญตลอด
เวลานี้มีมากมาย พอจะสรุปได้ตามลำดับพรรษาดังนี้
พรรษาที่
1 พระพุทธองค์ทรงเสด็จจำพรรษาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันพร้อมพระปัญจวัคคีย์
ขณะประทับอยู่ที่นั้นได้
แสดงธรรมโปรดยสกุลบุตรและให้อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาแก่ยสะและสหายอีก
4 คน ทุกคนได้ฟังธรรมสำเร็จเป็นพระ
อรหันต์ส่วนบิดามารดาและอดีตภรรยาของพระยสะได้ประกาสตนเป็นอุบาสกอุบาสิกาผู้ถึงรัตนตรัยเป็นสรณะ
นับเป็นอุบาสก
อุบาสิกาคนแรกที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ในขณะนั้นมีพระอรหันต์ในโลก
11 องค์ มีพุทธบริษัท 3 คือ ภิกษุ อุบาสก อุบาสิกา
ในพรรษานั้นเองสหายอื่นๆ
ของพระยสะ 50 คนเป็นชาวชนบท ได้ทราบข่าวว่าพระยสะบวชจึงมาขอบรรพชา
อุปสมบทได้ฟังธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์ทุกท่าน ทำให้จำนวนพระอรหันต์ในพรรษาที่
1 มีทั้งสิ้นรวม 61 องค์
พอพ้นฤดูฝนปีนั้น
พระศาสดาทรงส่งพระอรหันตสาวก 60 องค์ไปประกาศพระศาสนาด้วยพระดำรัสว่า
“ภิกษุทั้ง
หลาย! เธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก
เพื่อความเอ็นดูแก่โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าไปทางเดียวกันถึงสองรูป
ภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอจงแสดงธรรมให้งดงามในเบื้อง
ต้น ท่ามกลางที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์(ศาสนา) พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะให้บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
สัตว์ทั้งหลายที่มีธุลี
ในดวงตาแต่เล็กน้อยก็มีอยู่ สัตว์พวกนี้ย่อมเสื่อมจากคุณที่ควรได้เพราะไม่ได้ฟังธรรม
ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมีเป็นแน่ แม้เราเองก็จะ
ไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคมเพื่อแสดงธรรม”
ครั้นพระสาวกแยกย้ายกันไปประกาศพระศาสนาแล้ว
พระศาสดาเสด็จเพียงลำพังไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ใน
ระหว่างทางทรงแสดงธรรมโปรดชายหนุ่ม 30 คนชื่อว่าพวกภัททวัคคีย์
จนชายหนุ่มทั้งหมดบรรลุอรหัต ประทานอุปสมบท
แล้วส่งไปประกาศพระศาสนา
จากนั้นเสด็จต่อไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
ใช้เวลา 2 เดือน จึงปราบทิฐิของหัวหน้าชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสปะ
พร้อมทั้ง
บริวาร 500 คน แล้วได้แสดงธรรมสั่งสอนชฎิลน้องชายอีก 2 ท่าน
คือ นทีกัสสปะผู้มีบริวาร 300 คน และ คยากัสสปะ ผู้มี
บริวาร 200 คน ทรงประทานอุปสมบทแก่ชฎิลทั้งหมด ทรงพาภิกษุชฎิล
1,003 รูปไปที่ตำบลคยาสีสะ แสดงอาทิตตปริยาย
สูตรโปรดจนทุกรูปสำเร็จเป็นพระอรหันต์
จากตำบลคยาสีสะ
พระพุทธองค์ทรงพาพระอรหันต์ 1,003 องค์ไปกรุงราชคฤห์นครหลวงแห่งแคว้นมคธ
ประทับอยู่
ในดงตาลหรือลัฏฐิวัน พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบข่าวจึงเสด็จพร้อมด้วยข้าราชบริพารจำนวนมากไปเฝ้าพระศาสดา
เนื่องจาก
ประชาชนที่ไปเฝ้าส่วนมากเคยนับถือลัทธิชฎิลมาก่อน พระพุทธองค์จึงรับสั่งให้พระอุรุเวลกัสสปะแสดงความไม่มีแก่นสารของ
ลัทธิชฎิลให้ที่ประชุมทราบแล้วพระองค์จึงทรงแสดงอนุปุพพิกถา
พระเจ้าพิมพิสารและข้าราชบริพารส่วนมากได้ดวงตาเห็น
ธรรม ส่วนข้าราชบริพารที่ไม่บรรลุธรรมวิเศษก็ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ
วันรุ่งขึ้น
พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ได้ไปฉันในพระราชวังตามคำอาราธนาของพระเจ้าพิมพิสาร
ในวันนั้น
พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายพระราชอุทยานเวฬุวัน (สวนไผ่) เป็นที่อยู่ของพระสงฆ์
วัดเวฬุวันจึงเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธ
ศาสนา
จากเรื่องราวที่บรรยายมา
พอจะจับเป็นประเด็นสำคัญอันเนื่องด้วยวิธีประกาศศาสนาของพระพุทธเจ้า
ในขั้นต้น
พระองค์มุ่งเอาชนะเจ้าลัทธิอย่างชฎิลสามพี่น้องให้ได้ก่อน จากนั้นจึงแสดงธรรมโปรดพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นกษัตริย์ครองแคว้น
มคธซึ่งมีอำนาจยิ่งใหญ่ไม่แพ้แคว้นโกศล ศรัทธาที่พระองค์ได้รับจากประมุขของอาณาจักรเป็นหลักประกันว่า
พระศาสนาจะ
แพร่หลายไปสู่ประชาชนชาวมคธได้โดยง่าย นี่คือเหตุผลว่าทำไมพระพุทธศาสนาจึงแพร่หลายรวดเร็วจนเอาชนะศาสนา
พราหมณ์ในสมัยนั้นได้ เมื่อผู้นำยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา ประชาชนย่อมดำเนินรอยตาม
ขณะประทับอยู่
ณ พระเวฬุวันวิหารนั้นกลุ่มปริพาชกมีหัวหน้าชื่ออุปติสสะ และโกลิตะได้มาเฝ้าพระพุทธเจ้า
อุปติสสะ
และโกลิตะเคยฟังธรรมจากพระอัสสชิมาก่อนจนได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน
พระพุทธเจ้าประทานอุปสมบทแด่ปริพาชกทั้งหมด
และแสดงธรรมโปรดพระบวชใหม่ทั้งหมดยกเว้นพระอุปติสสะกับพระโกลิตะสำเร็จเป็นพระอรหันต์
พระโกลิตะเป็นพระอร
หันต์เมื่อบวชได้ 7 วัน ส่วนพระอุปติสสะใช้เวลา 15 วันจึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์
ต่อมาพระอุปติสสะได้รับยกย่องเป็นพระอัคร
สาวกเบื้องขวา ได้นามใหม่ว่าพระสาริบุตร ส่วนพระโกลิตะได้นามใหม่ว่าพระโมคคัลลานะ
ได้รับยกย่องเป็นพระอัครสาวกเบื้อง
ซ้าย
เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเวฬุวันได้มีมหาสันนิบาต
คือการประชุมใหญ่ของพระสาวกเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต
แปลว่า การประชุมประกอบด้วยองค์ 4 อรรถกถาทีฆนขสูตร ได้แสดงไว้ว่า
องค์ 4 นั้น คือ
1.
พระสาวกได้มาประชุมกันในวันมาฆปุณณมี คือวันเพ็ญเดือนมาฆะหรือเดือนสาม
2.
พระสงฆ์ 1,250 องค์มาประชุมในวันนั้นโดยมิได้นัดหมาย
3.
พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา 6
4.
พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุ คือ ได้รับอุปสมบทที่พระศาสดาประทานเอง
ในโอกาสที่มีการประชุมใหญ่นี้
พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์
ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นพุทธกิจในพรรษาที่
1
พรรษาที่
2, 3 และ 4 พระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่วัดเวฬุวัน
พุทธกิจสำคัญในช่วงนี้คือการเสด็จเยือนกรุงกบิล
พัสดุ์ในพรรษาที่ 2 แสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระเจ้าสุทโธทนะจนได้บรรลุอนาคามิผล
พระมหาปชาบดีโคตมีและพระนาง
พิมพาได้บรรลุโสดาปัตติผล โปรดให้พระสารีบุตรบรรพชาราหุลกุมารเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา
ในระยะนี้กษัตริย์
6 พระองค์ คือ พระภัททิยะ พระอนุรุทธะ พระอานนท์ พระภัคคุ พระกิมพิละ
และพระเทวทัต ได้ออกผนวชพร้อมกับช่างกัลบก
ชื่ออุบาลี
ในระยะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่
ณ วัดเวฬุวันนั้น เศรษฐีชาวกรุงสาวัตถี แคว้นโกศล มีชื่อว่า
อนาถปิณฑิกะ ได้เดินทาง
มากรุงราชคฤห์ และได้สดับพระธรรมเทศนาของพระศาสดาจนได้ดวงตาเห็นธรรม
กราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้เสด็จไป
ประทับที่กรุงสาวัตถี ตนเองกลับไปก่อนเพื่อเตรียมสร้างวัดรอรับเสด็จ
บริจาคทรัพย์ 54 โกฏิ ซื้อที่ดินของพระเจ้าเชตกุมารสร้าง
พระเชตวันมหาวิหารถวายเป็นที่ประทับของพระพุทธองค์และพระภิกษุสงฆ์
พระพุทธองค์มักประทับจำพรรษาอยู่ที่พระเชตวัน
มหาวิหารนี้นานที่สุดรวมได้ 19 พรรษา
พรรษาที่
5 พระพุทธเจ้าเสด็จประทับจำพรรษานี้ที่กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน
กรุงเวลาลีอันเป็นเมืองหลวงของแคว้นวัช
ชี ในขณะประทับอยู่ในที่นั้น ทรงทราบข่าวประชวรหนักของพระพุทธบิดาคือพระเจ้าสุทโธทนะ
จึงรีบเสด็จพร้อมพระภิกษุ
สงฆ์ไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระพุทธบิดาอยู่
7 วัน ในวันสุดท้ายพระเจ้าสุทโธทนะบรรลุพระอร
หัตและนิพพาน ภายหลังการถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระนางมหาปชาบดีทูลขออุปสมบทเป็นภิกษุณีถึงสามครั้งก็ได้รับการ
ปฏิเสธจากพระพุทธเจ้าถึงสามครั้ง เมื่อพระศาสดาเสด็จกลับกรุงเวสาลี
พระนางมหาปชาบดีได้พาเจ้าหญิงสากิยานีเป็นอันมาก
ตามเสด็จไปขออุปสมบทอีก พระอานนท์ได้ช่วยทูลขอให้พระศาสดาอนุญาตการอุปสมบทพระภิกษุณี
ในที่สุดพระพุทธเจ้าทรง
อนุญาตโดยมีเงื่อนไขว่า พระนางมหาปชาบดีต้องยอมรับครุธรรม 8
ประการ ซึ่งพระนางก็ยินดีรับครุธรรมนั้นและได้อุปสมบท
ด้วยการยอมรับครุธรรมนั่นเองนับว่าพระนางมหาปชาบดีเป็นพระภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา
ในพรรษานี้จึงมีพุทธบริษัท
ครบสี่ในพระพุทธศาสนา คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เมื่อพระมหาปชาบดีผนวชแล้ว
ประชาชนและเสนาอำมาตย์ได้พร้อม ใจกันอัญเชิญพระเจ้ามหานาม โอรสของพระเจ้าอมิโตทนะเป็นกษัตริย์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์สืบต่อจากพระเจ้าสุทโธทนะ
ฝ่ายพระ
นางพิมพาได้เสด็จออกผนวชเป็นพระภิกษุณีในระยะนี้
พรรษาที่
6 พระพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษาที่มกุฏบรรพต “ทรงทรมานหมู่อสูร
เทพยดา และมนุษย์ให้เสียพยศอันร้าย
แล้ว และให้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา”
พรรษาที่
7 พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่กรุงสาวัตถีในวันเพ็ญเดือน
8 จากนั้นเสด็จขึ้นไปประทับจำพรรษา
บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตรัสแสดงอภิธรรมปิฎกทั้ง 7 คัมภีร์แก่เทวดาและพระพุทธมารดาผู้เสด็จมาจากสวรรค์ชั้นดุสิตเพื่อสดับ
ธรรมเมื่อออกพรรษาแล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มายังโลกมนุษย์ที่เมืองสังกัสสะ
วันที่เสด็จลงมานั้นเรียกว่า วันเทโวโรหณะ
พรรษาที่
8 พระพุทธเจ้าเสด็จประทับจำพรรษาที่ เภสกฬามิคทายวัน
ป่าไม้สีเสียด เขตนครสุงสุมารคิระ ในแคว้นภัค
คะ ซึ่งในสมัยนั้นโพธิราชกุมารผู้เป็นพระโอรสของพระเจ้าอุเทนเป็นเจ้าครองนคร
พระพุทธเจ้าแสดงโพธิราชกุมารสูตร ในพระ
สูตรนี้พระพุทธเจ้าตรัสประวัติของพระองค์เองตั้งแต่ออกผนวชจนแสดงปฐมเทศนา
พรรษาที่
9 พระพุทธเจ้าทรงรับอาราธนาของโฆสกเศรษฐีไปประทับจำพรรษา
ณ วัดซึ่งเศรษฐีเป็นผู้สร้างชื่อว่า โฆสิ
ตารามที่กรุงโกสัมพี นครหลวงของแคว้นวังสะอันมีพระเจ้าอุเทนเป็นกษัตริย์ปกครอง
ขณะประทับอยู่ที่นั่น พระพุทธเจ้าแสดง
ธรรมโปรดพระนางมาคันทิยา แต่พระองค์ต้องเผชิญการกลั่นแกล้งจากพระนางมาคันทิยา
ผู้จ้างคนตามด่าพระองค์ นอกจากนั้น พระนางมาคันทิยายังจ้างคนวางเพลิงตำหนักของพระนางสามาวดีจนพระนางสามาวดีถูไฟครอกสิ้นพระชนม์
เพราะกรรมอัน
นั้นพระนางคันทิยาถูกลงโทษประหารชีวิต
พรรษาที่
10 พระภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะกันจนแตกเป็น 2 กลุ่มใหญ่
คือฝ่ายพระวินัยธร และพระธรรมธร พระ
พุทธเจ้าตรัสเตือนให้สามัคคีปรองดองกันก็ไม่มีใครเชื่อฟัง ทรงเบื่อหน่ายระอาพระทัยจึงเสด็จไปอาศัยบ้านปาริไลยกะ
เสด็จจำ
พรรษาที่ควงไม้สาละ ในราวป่ารักขิตวัน ช้างปาริไลยกะมาอุปัฏฐาก
พรรษาที่
11 เสด็จไปจำพรรษาที่ใกล้บ้านนาลายพราหมณ์
พรรษาที่
12 ทรงจำพรรษาที่ปุจิมัณฑพฤกษ์ คือร่มไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงอยู่
ใกล้เมืองเวรัญชา ในพรรษานี้ทรง
บัญญัติพระวินัย ตั้งสิกขาบทเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระภิกษุเป็นครั้งแรก
พรรษาที่
13 ทรงจำพรรษาที่ปาลิไลยบรรพต
พรรษาที่
14 เสด็จไปจำพรรษา ณ พระเชตวันมหาวิหาร พระนครสาวัตถี
พรรษาที่
15 เสด็จไปประทับจำพรรษา ที่นิโครธารามริมฝั่งแม่น้ำโรหิณี
ในพรรษานี้พวกเจ้าศากยะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์
ยกทัพไปประชิดกองทัพของเจ้าโกลิยะแห่งกรุงเทวทหะเพื่อรบแย่งชิงกรรมสิทธิ์เหนือแม่น้ำโรหิณี
พระพุทธเจ้าเสด็จไปห้ามทัพ
ได้สำเร็จ
พรรษาที่
16 เสด็จประทับจำพรรษาที่เมืองอาฬวี ณ อัคคาเสวเจดีย์
เพื่อโปรดอาฬวกะยักษ์ ขณะประทับอยู่ที่นั่น ได้
แสดงเทศนาหลายเรื่องเช่น อาฬวกสูตร นิกขันตสูตร หัตถสูตร วังคีสสูตร
พรรษาที่
17, 18 และ 19 เสด็จประทับจำพรรษาที่วัดเวฬุวันกรุงราชคฤห์
ขณะประทับอยู่ที่นั่นได้แสดงเทศนา
เรื่องหัตถิกสูตรโปรดหัตถกราชกุมารชาวเมืองอาฬวี และได้แสดงธรรมโปรดธิดาของช่างหูกคนหนึ่งในเมืองอาฬว
ี พรรษาที่
20 ถึง พรรษาที่ 44 พระพุทธเจ้าเสด็จประทับจำพรรษาที่เชตวันมหาวิหารและบุพพารามสลับกัน
กล่าว
คือทรงจำพรรษาที่เชตวันมหาวิหารที่อนาถปิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย
19 พรรษา และที่บุพพารามซึ่งนางวิสาขาสร้างถวาย 6 พรรษา รวมได้
25 พรรษา
ในพรรษาที่
20 มีเหตุการณ์สำคัญคือพระพุทธเจ้าได้แต่งตั้งพระอานนท์ไว้ในตำแหน่งพระอุปัฏฐากประจำพระองค์
และได้ปราบโจรองคุลิมาลจนหมดพยศขออุปสมบทในพระพุทธศาสนาและต่อมาบรรลุอรหัตผล
ในพรรษาที่
35-36 อชาตศัตรูกุมารเชื่อคำยุยงของพระเทวทัตได้แย่งราชสมบัติจากพระเจ้าพิมพิสารและปลงพระชนม์
พระราชบิดาในเวลาต่อมา ขึ้นครองราชย์ในแคว้นมคธ ได้สดับสามัญญผลสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในราวพรรษาที่
37
ในพรรษาที่
44 พระอัครสาวกทั้งสองคือพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะนิพพาน
ในระยะนี้ พระเจ้าวิฑูฑภะอุปราช
แห่งแคว้นโกศลคบคิดกับทีฆการายนะอำมาตย์แย่งชิงราชสมบัติจากพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นผลสำเร็จครั้นได้ขึ้นเสวยราชย์แล้ว
พระเจ้าวิฑูฑภะยกกองทัพไปทำลายล้างพวกเจ้าศากยะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์จนเกือบจะสิ้นราชวงศ์
แล้วยกกองทัพกลับมาพักพลที่
ชายหาดริมฝั่งแม่น้ำอจิรวดี ในเวลากลางคืนถูกน้ำท่วมสิ้นพระชนม์
แคว้นโกศลจึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของแคว้นมคธอันมี
พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นกษัตริย์
ปรินิพพาน
ในพรรษาที่
45 เป็นพรรษาสุดท้ายของพระพุทธเจ้าผู้มีพระชนมายุในขณะนั้นได้
80 พรรษา ในพรรษานี้พระองค์ได
้เสด็จประทับจำพรรษา ณ เวฬุวคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี
ในระหว่างพรรษานี้ พระองค์ทรงประชวรอย่างหนัก มีความ
เจ็บปวดอย่างรุนแรงถึงกับจะปรินิพพาน แต่พระองค์ทรงระงับความเจ็บปวดทรมานด้วยการเข้าเจโตสมาธิอันไร้นิมิต
ในวันเพ็ญ
เดือนสามภายหลังพรรษานั้น พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับ ณ ปาวาลเจดีย์
ตรัสบอกพระอานนท์ว่า พระองค์ได้ตัดสินพระทัยว่า
จะปรินิพพานในเวลา 3 เดือนนับแต่วันนั้น การตัดสินพระทัยเช่นนี้เรียกว่า
ปลงพระชนมายุสังขาร
ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา
พระพุทธองค์เสด็จออกจากเมืองเวสาลีแสดงธรรมในที่ต่างๆ จนถึงวันขึ้น
14 ค่ำเดือน 6 เหลืออีก
เพียง 1 วันจะครบ 3 เดือน พระองค์เสด็จถึงเมืองปาวา ประทับอยู่ในสวนมะม่วงของนายจุนทะ
ทรงแสดงธรรมโปรดนายจุนทะ
ให้ได้บรรลุโสดาปัตติผล และนายจุนทะได้อาราธนาพระพุทธองค์พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ไปฉันภัตตาหารที่บ้านของตนในวัน
รุ่งขึ้น พระพุทธองค์ทรงรับอาราธนา
วันรุ่งขึ้นตรงกับวันเพ็ญเดือน
6 เสด็จไปฉันภัตตาหารที่บ้านนายจุนทะ ซึ่งเป็นการรับบิณฑบาตครั้งสุดท้าย
พระองค์ฉัน
สูกรมัททวะ ที่นายจุนทะทำถวาย ทรงห้ามมิให้ภิกษุอื่นฉันสูกรมัททวะนั้น
หลังจากอนุโมทนาแล้ว เสด็จออกจากบ้านนายจุนทะ
ในระหว่างทางทรงประชวรหนักขึ้นถึงลงพระโลหิต แต่ทรงบรรเทาทุกขเวทนานั้นด้วยกำลังอธิวาสนขันติและฌานสมาบัติ
เสด็จเดินทางต่อไป ทรงพักเหนื่อยเป็นระยะๆ จนลุถึงเมืองกุสินารา
เสด็จเข้าไปยังดงไม้สาละ รับสั่งให้ปูลาดเสนาสนะระหว่าง
ไม้สาละคู่หนึ่งแล้วเสด็จบรรทมสีหไสยาโดยมิได้คิดจะลุกขึ้นอีก
เวลานั้นต้นสาละทั้งคู่ผลิดอกบานเต็มต้นโปรยดอกหล่นต้องพระ
พุทธสรีระ ประดุจเป็นการบูชาพระพุทธองค์
์ ขณะประทับในอิริยาบถนั้นทรงแสดงธรรมตลอดเวลาทรงแนะนำพระอานนท์ให้ปฏิบัติต่อพุทธสรีระเช่นเดียวกับการ
ปฏิบัติพระบรมศพของพระเจ้าจักรพรรดิ ในคืนนั้นสุภัททปริพาชกได้ขอเข้าเฝ้าทูลถามปัญหาต่างๆ
พระองค์ทรงตอบปัญหา
ให้เป็นที่พอใจ สุภัททปริพาชกเลื่อมใสทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระองค์ทรงอนุญาตการอุปสมบทให้เป็นพิเศษ
สุภัททะจึงได้
บวชเป็นพระภิกษุ นับเป็นสาวกองค์สุดท้าย อันนี้เป็นหลักฐานยืนยันว่าพระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญพุทธกิจจนนาทีสุดท้ายแห่งพระ
ชนม์ชีพ
จากนั้น
พระพุทธองค์ทรงเปล่งวาจาเป็นปัจฉิมโอวาทว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้
เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมี
ความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังประโยชน์ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด”
สิ้นพระสุรเสียงนี้ก็มีแต่ความเงียบสงบ พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานในยามสุดท้ายแห่งคืนพระจันทร์เต็มดวงของเดือนวิสาขะ
พระพุทธเจ้าประสูติกลางดินภายใต้ต้นสาละในวันเพ็ญเดือนหก
ตรัสรู้กลางดินภายใต้ต้นมหาโพธิ์ในวันเพ็ญเดือนหก และปรินิพพานกลางดินภายใต้ต้นสาละในวันเพ็ญเดือนหก! |
|
|