Mahachulalongkornrajavidyalaya University
MCU Home Search Contacts Study Events Site Map Thai/Eng
 
MCU

First Page » นางสาวพรทิพา กุฎุมพินานนท์
 
Counter : 20041 time
การศึกษาวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ในพระพุทธศาสนา และการพัฒนาคน(๒๕๕๑)
Researcher : นางสาวพรทิพา กุฎุมพินานนท์ date : 24/07/2010
Degree : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
Committee :
  พระสมภาร สมภาโร
  ผศ.ดร.วศิน กาญจนวณิชย์กุล
  ผศ.ดร.สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย
Graduate : ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
 
Abstract

   วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ในพระพุทธศาสนาและเพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาคนตามแนวพระพุทธศาสนา คือ การวิจัยเอกสารด้วยวิธีการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา ตำราข้อเขียน สิ่งพิมพ์ อินเตอร์เน็ต กับการวิจัยเชิงสำรวจอีกส่วนหนึ่ง โดยใช้เครื่องมือวิจัยในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามจากผู้ปฏิบัติธรรมที่เป็นคฤหัสถ์จากสำนักปฏิบัติธรรม ๓ แห่งทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด รวม ๑๐๐ คน และแบบสัมภาษณ์ พระสังฆาธิการผู้บริหารมหาวิทยาลัย พระวิปัสสนาจารย์ พระนิสิตปริญญาโท และอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน ๓๓ คน รวมทั้งได้ทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจำนวน ๓ ท่าน แล้วได้นำข้อมูลมาดำเนินการวิเคราะห์ ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ และข้อมูลเชิงคุณภาพจากบทสัมภาษณ์ได้นำมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์เพื่อก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปจากการศึกษาค้นคว้าหลักธรรมพบว่า กระบวนการเรียนรู้ในพระพุทธศาสนา คือ การพัฒนาคนให้มีการศึกษา ได้แก่ หลักไตรสิกขา เป็นการศึกษาหาความรู้ หรือฝึกฝน อบรม พัฒนาตนให้ครบถ้วนด้วยปัญญา อันเป็นกระบวนการของการเรียนที่ถูกต้อง ซึ่งมี ๓ ประการคือ สีลสิกขาเป็นกระบวนการฝึกฝนความประพฤติให้ดีงามมีระเบียบวินัย จิตตสิกขา เป็นกระบวนการฝึกอบรมจิต ปลูกฝังศีลธรรมด้านจิตใจให้เป็นสมาธิ และปัญญาสิกขา เป็นการฝึกทักษะกระบวนการคิด ความรู้ ความเข้าใจ ตามเหตุปัจจัยในสรรพสิ่งทั้งปวง หลักธรรมต่อมาที่ควรเรียนรู้ก็คือ อริยสัจ ๔ ประการคือ ทุกข์ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์นิโรธ การดับทุกข์ และมรรคข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ที่บุคคลจะดับทุกข์และอาสวะกิเลสทั้งปวงได้ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ และหลักธรรมที่ควรเรียนรู้คือ สติสัมปชัญญะ ซึ่งเป็นธรรมมีอุปการะมากที่ช่วยเหลืออุดหนุน ส่งเสริมซึ่งกันและกันในการกระทำคุณงามความดีเสมือนเรือกับหางเสือ และหลักธรรมที่ควรเรียนรู้อันสุดท้ายคือ โยนิโสมนสิการ เป็นกระบวนการของการเรียนรู้ในเรื่องการคิดพิจารณาอย่างแยบคาย โดยคิดตามความเป็นจริงไม่อิงตัณหาในการนำมาแก้ปัญหาทางสังคมได้เป็นอย่างดีผลการวิจัยจากแบบสอบถามเกี่ยวกับ วิธีการพัฒนาคนตามแนวพระพุทธศาสนาพบว่า พฤติกรรมการปฏิบัติธรรมหลังการเรียนรู้สูงขึ้น หรือดีขึ้น เช่น มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ มีความพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อมีโอกาส มีความเมตตาสัตว์โลก มีความตั้งใจทำงานและตรงต่อเวลามากขึ้น ดูแลทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่น เป็นต้น วิธีพัฒนางานด้วยอิทธิบาท ๔ ประการคือ ต้องประกอบด้วยจิตใจที่ตั้งมั่น จดจ่อ ใจรักในการงานที่ทำเรียกว่าฉันทะ มีวิริยะ อุตสาห พากเพียร พยายามทำงานนั้นให้สำเร็จ เรียกว่า วิริยะ หมั่นพิจารณาทบทวนการปฎิบัติงานนั้นอยู่เสมอ เรียกว่า จิตตะ และประเมินผลงานว่าบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ เรียกว่าวิมังสา ในการพัฒนาสังคมต้องประกอบด้วยสังคหวัตถุทาน ๔ ประการ ซึ่งเป็นหลักธรรมที่พัฒนาคนให้เป็นที่รัก หรือเป็นมนต์เสน่ห์ทางใจ ที่สามารถยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้อื่นไว้ได้อย่างแท้จริงและถาวร ได้แก่ ทาน การรู้จักแบ่งปันความสุขของตนเองและผู้อื่น ปิยวาจา คือการพูดด้วยวาจาที่สุภาพ อ่อนหวาน อัตถจริยา หลังจากนี้เป็นการประพฤติตนให้เป็นประโยชน์มีการช่วยเหลือ อนุเคราะห์บุคลอื่น เช่นเป็นนักเรียนตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เป็นลูกที่ดีของพ่อ-แม่ เป็นต้นส่วนสมานัตตตา การวางตนเสมอต้นเสมอปลาย เพราะมนุษย์เป็นสัตย์สังคมที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันผลจากการสัมภาษณ์ เกี่ยวกับ การปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์พบว่า พฤติกรรมของผู้ปฏิบัติธรรมหลังการเรียนรู้เป็นกระบวนการของการแสวงหาหาความรู้ให้เข้าใจความจริงในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ทั้งหลักการ วิธีการ ส่วนเป้าหมายที่แท้จริงของการปฏิบัติ คือ การเรียนรู้อย่างถูกต้องและครบถ้วนแล้วจึงลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่ได้จากภาคทฤษฎี ย่อมประสบผลสำเร็จและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ผลการวิจัยพบว่า เป้าหมายของการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐานซึ่งเป้าหมายเพื่อคือ เพื่อมรรค ผล นิพพาน รวมทั้งมีการสำรวมอินทรีย์คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจได้เป็นอย่างดีด้วย การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐานเป็นการปฏิบัติธรรมขั้นสูง ที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติมีจิตใจที่มั่นคง และมีความเพียรไปสู่มรรค ผล นิพพาน โดยมีสติสัมปชัญญะ และสมาธิเป็นหลักในการปฏิบัติที่มุ่งเน้นอริยสัจ ๔ เพื่อการหลุดพ้นนั่นเอง และข้อเสนอแนะ พบว่า ควรส่งเสริมให้มีกระบวนการเรียนรู้ในทางพระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐาน และมีการนำหลักธรรมไปพัฒนาพฤติกรรมการนำงานของบุคคลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Download :  255235.pdf

 
Download :
 
 
Copyright © Mahachulalongkornrajavidyalaya University All rights reserved 
Maintained by: webmaster@mcu.ac.th 
Last Update : Thursday February 9, 2012